การวิเคราะห์ข้อมูลแบบ In-depth Unsampled Analysis จะช่วยให้ธุรกิจค้าปลีกสามารถปรับปรุงการมีส่วนร่วมของลูกค้าและเพิ่มยอดขายได้อย่างไรบ้าง?

การวิเคราะห์ข้อมูลแบบ In-depth Unsampled Analysis จะช่วยให้ธุรกิจค้าปลีกสามารถปรับปรุงการมีส่วนร่วมของลูกค้าและเพิ่มยอดขายได้อย่างไรบ้าง?

เลือกอ่านหัวข้อที่คุณสนใจ

In-depth Unsampled Analysis คืออะไร?

In-depth Unsampled Analysis คือการวิเคราะห์ข้อมูลที่ไม่ใช้การสุ่มตัวอย่างเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำและละเอียดมากขึ้น โดยทั่วไปแล้วในงานวิเคราะห์ข้อมูล, การสุ่มตัวอย่างมักจะถูกใช้เพื่อลดขนาดข้อมูลและเพิ่มประสิทธิภาพในการประมวลผล แต่การทำ In-depth Unsampled Analysis จะใช้ข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่เพื่อให้การวิเคราะห์มีความครบถ้วนและแม่นยำสูงสุด

ปัญหาที่ธุรกิจค้าปลีกมักเผชิญ และวิธีแก้ไขด้วย In-depth Unsampled Analysis

1. การคาดการณ์พฤติกรรมลูกค้าที่ไม่แม่นยำ (Inaccurate Customer Behavior Predictions)

  • ปัญหา: การคาดการณ์พฤติกรรมลูกค้าจากข้อมูลที่สุ่มตัวอย่างอาจไม่แม่นยำ เพราะข้อมูลที่ใช้ไม่ครอบคลุมทุกกรณี ประมาณ 63% ของลูกค้า คาดหวังให้ร้านค้า รู้ได้ว่าผู้บริโภคต้องการอะไร เช่น สินค้า หรือ ราคาของสินค้าที่ควรขายเมื่อเปรียบเทียบกับเจ้าอื่น เมื่อไหร่ก็ตามที่ธุรกิจไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ ผู้บริโภคจะรู้สึกผิดหวัง และ อาจจะเปลี่ยนใจไปเลือกสินค้าของคู่แข่งได้
  • วิธีแก้ไข: การทำ In-depth Unsampled Analysis ช่วยให้คุณสามารถสร้างโมเดลการคาดการณ์ที่มีความแม่นยำสูงขึ้น เพราะใช้ข้อมูลทั้งหมดในการวิเคราะห์ ทำให้เข้าใจพฤติกรรมลูกค้าได้ดีขึ้น

2. การเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลที่ไม่มีประสทิธิภาพ (inefficient data collection and analysis)

  • ปัญหา: ในยุคดิจิตอล พฤติกรรมของผู้บริโภคได้เปลี่ยนไปจากเดิมอย่างมาก ทำให้เราจำเป็นต้องมีข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจที่แม่นยำมากยิ่งขึ้น เช่น ข้อมูลผู้บริโภค, ข้อมูลความต้องการของสินค้าแต่ละชนิด หรือ ข้อมูลโปรโมชั่นการขาย เป็นต้น โดย 58% ของธุรกิจที่ตอบแบบสอบถาม มักตัดสินใจโดยไม่ใช้ข้อมูลมาเกี่ยวข้อง ทำให้ตัดสินใจผิดพลาดได้ ในกรณีธุรกิจค้าปลีก การไม่มีข้อมูลครบถ้วน สามารถทำได้ขาดทุน เนื่องจาก ธุรกิจเลือกลงทุนผลิตสินค้าที่ไม่ได้รับความต้องการในตลาดจริงๆ เพียงเพราะผู้บริโภคเลือกดูสินค้าชนิดนี้เป็นจำนวนมาก เป็นต้น
  • วิธีแก้ไข: ใช้ In-depth Unsampled Analysis เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วนและละเอียดจากทุกแหล่งข้อมูล ซึ่งช่วยให้คุณเห็นภาพรวมที่ชัดเจนและหลีกเลี่ยงการตัดสินใจที่ผิดพลาดจากข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์

3. การรักษาลูกค้าในระยะยาว (Long-Term Customer Retention)

  • ปัญหา: ลูกค้าที่เคยซื้อสินค้าของคุณ กลับมาซื้อสินค้าอีกครั้งจนกลายเป็นลูกค้าประจำ สิ่งนี้เป็นส่วนนึงที่แสดงถึงการประสบความสำเร็จในการบริการและเข้าใจลูกค้า ใน Dimension Data บอกว่าบริษัทเกือบ 84% ที่ให้ความสำคัญเรื่องการพัฒนาเรื่องประสบการณ์ลูกค้า จะทำให้มีกำไรจากสิ่งๆนี้ และ รายงานจาก BIA Advisory Services บอกว่าเกือบ 61% ของธุรกิจขนาดเล็ก เกือบครึ่งนึงของกำไรมาจากลูกค้ากลุ่มที่ซื้อสินค้าซ้ำ ดังนั้น การตัดสินใจในการกำหนดกลยุทธ์การตลาด หรือ นำเสนอวิเคราะห์ลูกค้าผิดพลาด เนื่องจาก ข้อมูลที่ต้องใช้วิเคราะห์ไม่ครบถ้วน อาจเกิดความเสียหายมากกว่าที่คิด
  • วิธีแก้ไข: การทำ In-depth Unsampled Analysis ช่วยให้การวิเคราะห์กลุ่มลูกค้า, การตอบสนองต่อแคมเปญการตลาด, และการทำความเข้าใจความต้องการของตลาดมีความแม่นยำมากขึ้น โดยการใช้ข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่

In-depth Unsampled Analysis ใน Google Analytics 360: เจาะลึกฟีเจอร์เด่น

ตัวอย่าง Data Sampling ใน Google Analytics
ตัวอย่าง Data Sampling ใน Google Analytics
ขอบคุณรูปภาพจาก Supermetrics

Data Sampling หมายถึงกระบวนการที่ใช้ในการเลือกชุดข้อมูลย่อยจากข้อมูลทั้งหมด เพื่อให้สามารถวิเคราะห์และสร้างรายงานได้เร็วขึ้น โดยไม่ต้องประมวลผลข้อมูลทั้งหมด ซึ่งช่วยลดเวลาและทรัพยากรในการประมวลผล อย่างไรก็ตาม ข้อมูลที่ได้ก็มีความแม่นยำที่ลดลงและอาจเกิดข้อผิดพลาดในผลลัพธ์ที่ได้ ดังนั้น หากธุรกิจของคุณมีข้อมูลจำนวนมากในเว็บไซต์ คุณจึงควรใช้ In-depth Unsampled Analysis ในการวิเคราะห์ข้อมูล เนื่องจาก ฟีเจอร์ Unsampled จะช่วยให้คุณวิเคราะห์ข้อมูลได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนี้

1. การใช้ข้อมูลทั้งหมด (Complete Data Usage)

ฟีเจอร์นี้ช่วยให้คุณสามารถวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่ได้โดยไม่ต้องพึ่งพาการสุ่มตัวอย่าง ข้อมูลที่ได้จึงมีความแม่นยำและครอบคลุมทุกมิติของธุรกิจ

2.การสร้างรายงานที่แม่นยำ (Accurate Reporting)

ด้วยการไม่ใช้การสุ่มตัวอย่าง ฟีเจอร์นี้ช่วยให้รายงานที่คุณสร้างขึ้นมีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น ลดความเสี่ยงจากการขาดข้อมูลหรือการวิเคราะห์ที่คลาดเคลื่อน

3.การเจาะลึกข้อมูลเชิงลึก (In-depth Insights)

คุณสามารถเจาะลึกและตรวจสอบแนวโน้ม รูปแบบ และพฤติกรรมของลูกค้าได้อย่างละเอียดมากขึ้น ซึ่งช่วยให้การตัดสินใจทางธุรกิจมีความมั่นใจและน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น

4. การเพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจ (Enhanced Decision-Making)

ด้วยข้อมูลที่ครบถ้วนและแม่นยำ คุณสามารถใช้ข้อมูลเหล่านี้ในการตัดสินใจที่สำคัญต่อธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ลดความเสี่ยงจากการตัดสินใจที่อิงจากข้อมูลที่ไม่ครบถ้วน

5. การตอบสนองต่อความต้องการที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว (Responsive to Dynamic Needs)

การวิเคราะห์แบบไม่สุ่มตัวอย่างช่วยให้คุณสามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงในตลาดหรือพฤติกรรมของลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำกว่าเดิม

การใช้งาน In-depth Unsampled Analysis ใน Google Analytics 360

หลังจากที่เข้ามาใน Google Analytics ให้เข้าที่แถบเมนูด้านซ้าย ให้เลือก "Explore"
หลังจากที่เข้ามาใน Google Analytics ให้เข้าที่แถบเมนูด้านซ้าย ให้เลือก “Explore”
  • ให้กดสร้าง exploration ใหม่หรือใช้จากรายงานที่มีอยู่
Unsampled exploration

  • ขวามือ ด้านบนสุด ไอคอนคุณภาพข้อมูล (Data Quality) จะเป็นสีแดงหรือสีเหลืองหากผลลัพธ์กำลังถูกสุ่มตัวอย่าง และจะเป็นสีเขียวหากไม่มีการสุ่มตัวอย่าง
  • กด Request unsampled result
Request unsampled result
Request unsampled result
  • คลิก Proceed
Unsampled Result Ready
Unsampled Result Ready
  • หลังจากนั้น จะมีได้รับอีเมล เพื่อให้กด link และดูข้อมูล Unsampled ได้เลย

ตัวอย่างการนำ In-depth Unsampled Analysis ไปใช้ในธุรกิจค้าปลีก

การใช้ In-depth Unsampled Analysis ในธุรกิจค้าปลีกสามารถช่วยให้คุณได้รับข้อมูลที่ครบถ้วนและแม่นยำ ซึ่งสำคัญสำหรับการวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้าและการตัดสินใจที่ดีขึ้น นี่คือตัวอย่างวิธีการนำไปใช้ในธุรกิจค้าปลีก:

1. วิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้า

  • การติดตามเส้นทางการซื้อ: การใช้ In-depth Unsampled Analysis ช่วยให้คุณสามารถติดตามเส้นทางการซื้อของลูกค้าได้อย่างละเอียด ตั้งแต่การเข้าชมเว็บไซต์จนถึงการทำธุรกรรม ซึ่งช่วยให้คุณเข้าใจพฤติกรรมและความชอบของลูกค้า
  • การวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้า: ตรวจสอบพฤติกรรมการซื้อ เช่น ความถี่ในการซื้อ, ช่วงเวลาที่มักซื้อ, และผลิตภัณฑ์ที่นิยม เพื่อวางกลยุทธ์การตลาดที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้า

2. การจัดการสินค้าคงคลัง

  • การวิเคราะห์ยอดขาย: ตรวจสอบยอดขายและการหมุนเวียนของสินค้า เพื่อวางแผนการจัดการสินค้าคงคลังให้เหมาะสม เช่น การจัดซื้อและการวางแผนโปรโมชั่น
  • การคาดการณ์ความต้องการ: ใช้ข้อมูลที่ไม่ถูกสุ่มตัวอย่างในการคาดการณ์ความต้องการของสินค้า เพื่อป้องกันการขาดแคลนสินค้าหรือสินค้าล้นตลาด

3. การปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้า

  • การวิเคราะห์ประสบการณ์ลูกค้า: ตรวจสอบความคิดเห็นและการให้คะแนนของลูกค้าเพื่อเข้าใจประสบการณ์ที่พวกเขาได้รับ และปรับปรุงบริการหรือผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้น
  • การออกแบบประสบการณ์ที่ดีขึ้น: ใช้ข้อมูลเชิงลึกเพื่อออกแบบประสบการณ์ที่ตอบสนองความคาดหวังของลูกค้า เช่น การปรับเปลี่ยนเว็บไซต์หรือการจัดกิจกรรมพิเศษ

การใช้ In-depth Unsampled Analysis ใน Google Analytics 360 จึงเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังสำหรับธุรกิจที่ต้องการเข้าใจและวิเคราะห์ข้อมูลอย่างละเอียด ฟีเจอร์นี้ไม่เพียงแค่เพิ่มความแม่นยำในการวิเคราะห์ แต่ยังช่วยให้คุณสามารถตัดสินใจทางธุรกิจได้อย่างมั่นใจมากยิ่งขึ้น

หากธุรกิจค้าปลีกของคุณต้องการใช้ข้อมูลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจ กรุณากรอกฟอร์มด้านล่าง เพื่อให้ทีมงานจาก Predictive ติดต่อคุณและให้คำปรึกษาเบื้องต้นได้เลยค่ะ

อ่านเพิ่มเติม ความแตกต่างระหว่าง Google analytics 4 vs Google analytics 360และการนำ features ไปใช้ในแต่ละธุรกิจ

ข้อมูลอ้างอิง

10 major retail problems and solutions [with real-world examples] , Retail Challenges in 2024: The 10 Biggest Hurdles to Overcome, 65 Customer Retention Statistics You Need to Know in 2024

How we can help

Fill out the form below to discuss your needs or learn more about our services

"*" indicates required fields

Name*
Please let us know what's on your mind. Have a question for us? Ask away.