ถ้าจะพูดถึงหนึ่งในวิธีที่ Google ใช้คัดกรองเนื้อหามหาศาลบนโลกออนไลน์ อาจจะต้องย้อนความไปถึงปี 2018 ที่ Spambrain ถูกปล่อยออกมาเป็นครั้งแรกเพื่อจัดการกับสแปมหลายรูปแบบที่คอยก่อกวนผู้ใช้งานหน้าค้นหา Search result ของ Google ไม่ว่าจะปุ่มกดหลอกๆ โฆษณาที่ท่วมจอ การredirectไปยังหน้าเว็บอื่นที่ไม่ปลอดภัย รวมถึง malwareร้าย ๆอีกสารพัด พูดง่ายๆ ก็คือกิจกรรมใดๆที่เจตนายัดเยียดสิ่งที่ผู้ใช้ไม่ต้องการจะถูก Spambrain คัดออกทั้งหมด ซึ่งนอกจากจะคอยคัดกรองสแปมทั้งหลายแล้ว เจ้า Spambrain นี้ยังคอยปัดตกคอนเทนต์ที่ไม่ได้คุณภาพออกจากสายตาผู้ใช้อีกด้วย แม้ว่าอัลกอริทึมนี้จะทำให้ผู้ใช้เป็นปลื้มกับการใช้งาน Google Search ต่อไป แต่ก็อาจส่งผลให้คนทำ SEO บนเว็บไซต์หวั่นใจเช่นกันว่าเว็บของเราจะโดน Spambrain ไม่ให้ไปต่อด้วยหรือเปล่า ดังนั้นแล้วเรามาทำความเข้าใจการทำงานของSpambrainกันดีกว่าและทำอย่างไรให้เนื้อหาของเราไม่โดนคัดออก
เลือกอ่านหัวข้อที่คุณสนใจ
Spambrain คืออะไร ต่างจากอัลกอริทึมอื่นๆอย่างไร
Spambrain คือ AIตัวเก่งของ Google ที่ทำงานตรวจจับสแปมบนพื้นที่กว้างของจักรวาลเว็บไซต์โดยเฉพาะ ซึ่งที่ผ่านมา Google ต้องใช้อัลกอริทึมหลายรูปแบบมาจัดอันดับเนื้อหาจำนวนมหาศาลบนเว็บไซต์ต่างๆ เช่น Google Penguin ที่คอยตรวจตาการใส่ลิงก์เฉพาะภายในเว็บไซต์ และ Google Panda ที่ทำหน้าที่ฟิลเตอร์คอนเทนต์คุณภาพดีขึ้นมาหน้าแรกและดันคอนเทนต์คุณภาพแย่ไว้ไกลๆ ตา โดยเจ้า Spambrain เป็นอัลกอริทึมที่ออกแบบมาเพื่อระบุสิ่งที่นับว่าเป็นสแปมบนเว็บไซต์ใดๆรวมถึงเนื้อหาที่ไม่ได้คุณภาพตาม Google’s Webmaster Guidelines ถ้าอยากอ่านเพิ่มเติมสิ่งที่ Google ไกด์ไว้แบบเต็มๆ เข้าไปดาวน์โหลดกันได้ที่ Search Quality Evaluator Guidelines
Spambrain รู้ได้อย่างไรว่าเว็บไหนเป็นสแปม
วิธีการของ Spambrain คือการใช้ Machine Learning ที่อัลกอริทึมตัวเก่งของเราจะเข้าไปเรียนรู้โดยการเปรียบเทียบเว็บไซต์นั้นๆกับเว็บไซต์ที่เป็นสแปม ซึ่งการเรียนรู้นี้ก็มีส่วนให้อัลกอริทึมเก่งขึ้นเรื่อยๆแน่นอนว่าย่อมเป็นเรื่องดีกับคนทำ SEO เพราะเราสามารถปรับปรุงเว็บของเราให้ตอบรับกับ Google Guidelines อยู่เสมอเพียงเท่านี้เราก็จะรอดพ้นจากการโดน Spambrain คัดออกได้แล้ว เพราะในการอัปเดตแต่ละครั้งยิ่งSpambrain ตรวจจับคอนเทนต์คุณภาพได้มากเท่าไหร่เว็บไซต์ของเราก็จะโดนมองว่าเป็นสแปมน้อยลงเท่านั้น ในทางกลับกัน หากเว็บไซต์ของเราใช้วิธีการเทาๆ เพื่อเพิ่มยอดtrafficเข้ามายังเว็บไซต์ เช่น การให้Botsเก็บข้อมูลอีกอย่างแต่ผู้ใช้ได้รับข้อมูลอีกอย่าง (Cloaking Techniques) ก็ยิ่งทำให้ Spambrain มองว่าเว็บไซต์ของเราเป็นสแปม
ไม่ใช่แค่สแปมแต่คอนเทนต์คุณภาพไม่ดีก็โดนด้วย
แม้ว่าเจตนาของคนทำ SEO ไม่ได้ตั้งใจผลิตคอนเทนต์หรือเนื้อหาอื่นๆบนเว็บไซต์ให้เป็นสแปม แต่บางการกระทำที่จงใจสร้างประสบการณ์ใช้งานที่ไม่ดีให้กับผู้ใช้หรือเนื้อหามีเจตนาหลอกหลวง ก็อาจเข้าข่ายโดนมองว่าเป็นสแปมได้เช่นกัน เช่น การสร้าง auto-generated content หรือคอนเทนต์ที่เขียนโดยโปรแกรม การผลิตคอนเทนต์ที่ตัดบางท่อนบางตอนมาจากหลายๆเว็บ การเลือกใช้คีย์เวิร์ดที่ขาดความเกี่ยวข้อง เป็นต้น
ดูแลเว็บไซต์อย่างไรไม่ให้โดนจัดว่าเป็นสแปม
การดูแลเว็บไซต์ให้ไม่มีเนื้อหาสแปมเป็นการทำ SEO เพื่อรักษาคุณภาพเว็บไซต์โดยเฉพาะการใส่ลิงก์ (Link) ที่ Google ให้ความสำคัญกับลิงก์ต่างๆ ที่ปรากฏบนหน้าเว็บไซต์อย่างมากเพราะมีส่วนทำให้ Google ค้นพบและจัดอันดับเว็บไซต์เพื่อแสดงผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบกับการอัปเดตเจ้าSpambrain อย่างสม่ำเสมอเพื่อจับลิงก์แปลกปลอมที่เพิ่มเข้ามาใหม่และรักษาคุณภาพของการหน้าค้นหาให้ได้มาตรฐานอยู่ตลอด คนทำ SEO จึงต้องใส่ใจกับการใส่ลิงก์อย่างเหมาะสมโดยไม่มีเจตนาแอบแฝง โดยปกติแล้ว Google จะมองว่าเว็บไซต์หนึ่งมีความสำคัญเมื่อมีเว็บไซต์อื่นๆลิงก์กลับมายังเว็บไซต์นั้น เราจึงควรเช็คอยู่เสมอว่าเว็บไซต์ของเราไม่มี Link Scheme หรือการใส่ลิงก์เพื่อปั่นอันดับเว็บไซต์ ไม่ว่าจะจากเว็บเราลิงก์ไปเว็บอื่น หรือจากเว็บอื่นลิงก์มาเว็บเรา เช่น
- การซื้อขายลิงก์เพื่อให้เว็บไซต์ขึ้นอันดับสูงขึ้น (PageRank) รวมถึง การจ้างให้ใส่ลิงก์หรือสร้างโพสต์ที่แปะลิงก์แลกกับเงิน การใส่ลิงก์เพื่อแลกกับสินค้าและบริการ การส่งสินค้าให้ฟรีเพื่อแลกกับการเขียนโพสต์และใส่ลิงก์
- การแลกลิงก์กันระหว่างเว็บไซต์ที่มากเกินปกติและผิดธรรมชาติ (Cross – Linking)
- คอนเทนต์การตลาดที่แปะลิงก์ไว้ในคีย์เวิร์ดจำนวนมากเกินไป
- ใช้โปรแกรมหรือบริการอัตโนมัติให้สร้างลิงก์กลับมายังเว็บไซต์เรา
อ่านเพิ่มเติม 4 เรื่องที่คนทำเว็บไซต์ต้องโฟกัส หลัง Google ปล่อย Core Updates
ที่มาข้อมูล
Get in touch
Let's work together!
"*" indicates required fields