แน่นอนว่าในการทำReportแต่ละครั้ง คนทำSEOบนเว็บไซต์หลายคนย่อมต้องเคยรู้สึกหัวหมุนตาลายไปกับข้อมูลหลังบ้านมากมายที่ต้องวิเคราะห์อย่างKeyword ซึ่งหากเราใช้ Google Search Console อยู่แล้ว การทำ Report ให้เห็นความเชื่อมโยงของข้อมูลเหล่านี้จะกลายเป็นเรื่องง่ายดายขึ้นทันทีโดยการใช้ Search Console สร้าง Bubble Chart ใน Data Studio ทั้งช่วยเบาแรงและพร้อมให้เรานำข้อมูลไปต่อยอดเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ทันที
เลือกอ่านหัวข้อที่คุณสนใจ
Bubble Chart คืออะไร
Bubble Chart (แผนภูมิฟองสบู่) เป็นแผนภูมิรูปแบบหนึ่งที่ช่วยให้เราเห็นภาพรวมของข้อมูลที่มีอยู่เพื่อนำไปวิเคราะห์ต่อยอดได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะเมื่อเรามีกลุ่มตัวเลข (Metrics) และ หมวดหมู่ (Dimensions) ที่มากมายหลากหลาย การทำ Bubble Chart จะช่วยให้เราเข้าใจถึงความเชื่อมโยงและรูปแบบของข้อมูลได้อย่างเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น เช่นในกรณีนี้ที่เราต้องการวิเคราะห์ว่ามี คำค้นหา (Search Query) อะไรบ้างที่ดึงดูดผู้ใช้เข้ามาเว็บไซต์ของเรา หรือคีย์เวิร์ดอะไรที่เราควรปรับปรุง
ไม่ต้องเสียเวลาสร้างแผนภูมิเอง ลองใช้ Template จาก Google ได้เลยที่นี่ Search Console Bubble Chart Data Studio
ทำไมต้องใช้ Bubble Chart ช่วยวิเคราะห์ Keyword
รูปแบบที่กระชับของ Bubble Chart จะช่วยให้เราเข้าใจและเห็นภาพข้อมูลที่เป็นตัวหนังสือยาวๆอย่างคีย์เวิร์ดหรือคำค้นหาต่างๆได้ง่ายขึ้น แผนภูมิฟองสบู่นี้เหมาะสำหรับคนทำSEOบนเว็บไซต์ที่ตั้งใจวิเคราะห์คีย์เวิร์ดอย่างจริงจังเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพเว็บไซต์ให้ดึงดูดผู้ใช้ให้มากกว่าเดิม
โดยในแผนภูมินี้เราจะเห็นว่า หนึ่งฟองสบู่ จะแจกแจงที่มาของ Traffic ซึ่งประกอบไปด้วยข้อมูลต่างๆดังนี้
- Query : คำค้นหาหรือคีย์เวิร์ดที่พาผู้ใช้มายังหน้าเว็บไซต์ของเรา
- Device Category : ชนิดของอุปกรณ์ที่ผู้คนใช้
- CTR : Click through rate หรือ อัตราที่ผู้คนคลิกเข้ามายังเว็บไซต์หลังจากมองเห็น (Impression) ในหน้าค้นหา
- Average Position : อันดับเว็บไซต์บนหน้าค้นหาของ Google
- Clicks : จำนวนครั้งในการคลิกเข้าชมเว็บไซต์
ข้อมูลใน Bubble Chart บอกอะไรในการวิเคราะห์ Keyword
ด้วยรูปแบบการแสดงผลที่เข้าใจง่ายของ Bubble Chart ที่กำหนดให้สีของวงกลมหมายถึงอุปกรณ์ที่ผู้คนใช้ค้นหา และ ขนาดของวงกลม ที่หมายถึง จำนวนครั้งในการคลิก นอกจากจะมองเห็นภาพรวมกว้างๆที่ทำให้เราเข้าใจความเชื่อมโยงของข้อมูลได้ดีขึ้นแล้ว ยังช่วยให้เราบริหารเวลาเพื่อนำไปปรับปรุงประสิทธิภาพคีย์เวิร์ดได้อย่างถูกจุดและรวดเร็วขึ้น ซึ่ง ตำแหน่งของทุกฟองสบู่บน Bubble Chart มีความหมายแตกต่างกันไปดังนี้
1.ตำแหน่งอยู่สูง และCTRอยู่สูง คือคีย์เวิร์ดอยู่ในอันดับดีและทำยอดTrafficได้ดี
แสดงว่าประสิทธิภาพของคีย์เวิร์ดเราอยู่ในเกณฑ์ดี ไม่จำเป็นต้องปรับปรุงอะไรเพิ่ม (ตบมือ!)
2.ตำแหน่งอยู่ต่ำ แต่CTR อยู่สูง คือคีย์เวิร์ดยังอยู่ในอันดับที่ไม่ดีพอแต่ทำยอดTrafficได้ดีแสดงว่า คีย์เวิร์ดที่เราใช้มีความสอดคล้องกับคำที่ผู้ใช้ค้นหา ทำให้มียอดCTRที่เยอะแม้จะอยู่ในอันดับที่น้อยกว่าคีย์เวิร์ดอื่นๆบนเว็บไซต์ของเรา ซึ่งหากเราปรับให้อยู่ในตำแหน่งที่สูงขึ้นได้ก็ย่อมทำให้ประสิทธิภาพเว็บไซต์ดีตามได้ด้วย
3.ตำแหน่งอยู่ต่ำ และCTR อยู่ต่ำ คือคีย์เวิร์ดอยู่ในอันดับไม่ดีพอและทำยอด Traffic ได้ไม่ดี สำหรับฟองสบู่ที่อยู่ในตำแหน่งนี้ ให้เราพิจารณาขนาดของวงกลมร่วมด้วย เพราะขนาดยิ่งใหญ่แปลว่ายิ่งมีคนคลิกเยอะ แม้จะมี CTR ที่น้อยแต่ก็เพิ่มยอดคลิกเข้ามายังเว็บไซต์อยู่ดี
เราจึงแบ่งคีย์เวิร์ดที่อยู่ในตำแหน่งวงกลมนี้ได้เป็น 2 แบบ
- ชุดคำค้นหาที่เกี่ยวข้อง หากคำค้นหาเหล่านี้มีคีย์เวิร์ดที่เรามองว่าสำคัญ แปลว่าคีย์เวิร์ดที่เราใช้เริ่มปรากฏในหน้าค้นหา การปรับปรุงคีย์เวิร์ดเหล่านี้จะทำได้ง่ายกว่าคำอื่นๆที่ไม่ปรากฏเลย
- ชุดคำค้นหาที่ไม่เกี่ยวข้อง หากคำค้นหาเหล่านี้ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับเว็บไซต์เราเลยแต่ก็ยังมีคนคลิกเข้ามา แปลว่านี่อาจเป็นโอกาสอันดีที่เราจะปรับแต่งคอนเทนต์บนเว็บไซต์ให้มีความเชื่อมโยงและสอดคล้องมากขึ้น
4.ตำแหน่งอยู่สูง แต่CTR อยู่ต่ำ คือคีย์เวิร์ดอยู่ในอันดับดีแต่ทำยอด Traffic ได้ไม่ดี
มีหลายเหตุผลที่อธิบายว่าทำไม CTR ของเราถึงอยู่ต่ำ เราจึงควรเช็คที่ขนาดของวงกลมเพิ่มด้วยว่ามีแนวโน้มเหล่านี้หรือไม่
- เว็บไซต์คู่แข่งมีโครงสร้างข้อมูล (Structured Data) ที่ดีกว่า และให้ผลลัพธ์ที่ครบถ้วนมากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับของเรา จึงทำให้ผู้ใช้เลือกคลิกไปหน้าเว็บไซต์ของคู่แข่งมากกว่า จุดนี้ลองเช็คเว็บไซต์ของเราอีกทีว่าได้มีการเปิดใช้ฟีเจอร์ผลการค้นหา(Search result features) ดีแล้วหรือยัง
- เราอาจจะมีการเพิ่มประสิทธิภาพคีย์เวิร์ดเหล่านี้ไปแล้ว หรือ คีย์เวิร์ดของเราอาจจะติดอันดับโดยบังเอิญ แต่ผู้ใช้ไม่ได้สนใจหรือมองว่าเว็บไซต์เราไม่มีความเกี่ยวข้องจึงไม่ได้คลิกเข้ามา
- ผู้ใช้อาจจะได้รับคำตอบหรือข้อมูลสำคัญที่ต้องการไปแล้ว เช่น เวลาเปิดปิด ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ โดยไม่จำเป็นต้องคลิกเข้ามา
คนทำSEOเว็บไซต์ควรเพิ่มประสิทธิภาพKeywordอย่างไรดี
เมื่อมองเห็นข้อมูลเป็นรูปเป็นร่างดีอย่างนี้และได้เลือกคีย์เวิร์ดที่ควรค่าแก่การเพิ่มประสิทธิภาพได้แล้ว ขั้นตอนต่อไปคือเราควรทำอะไรบ้าง
- ตรวจสอบให้แน่ใจว่าองค์ประกอบของ Title, Description, Meta Tag และ คำอธิบายรูปภาพบนเว็บไซต์ของเรานั้นมีความครบถ้วนชัดเจน เฉพาะเจาะจง และแม่นยำ
- ใช้หัวข้อเรื่องเพื่อย้ำถึงความสำคัญของข้อความและเรียงลำดับความสำคัญของเนื้อหาคอนเทนต์เพื่อให้ผู้ใช้และ Search Engines อย่าง Google จับสาระของเว็บไซต์เราได้ง่ายขึ้น
- เพิ่มโครงสร้างของข้อมูลเว็บไซต์ (Structured Data Markup) เพื่อให้ Google เข้าใจว่าเว็บไซต์ของเรามีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไรเป็นหลัก และอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมแก่การแสดงผลในช่องค้นหา
- ใช้ Keyword Planner หรือ เครื่องมืออื่นๆในการทำ Keyword Research เพื่อให้ได้คีย์เวิร์ดที่มียอดค้นหาที่ดีและมีตัวเลือกหลากหลายมากขึ้นในการดึงดูดผู้ใช้เข้ามาเพิ่มขึ้น ร่วมกับการใช้ Google Trends เพื่อหาไอเดียผลิตคอนเทนต์ที่กำลังเป็นกระแสและสอดคล้องกับคำค้นหาที่พาผู้ใช้มายังเว็บไซต์มากกว่าเดิม
อ่านเพิ่มเติม 5 เหตุผลง่ายๆที่ทำ SEO เท่าไหร่ก็ไม่ได้ผลตามที่ตั้งเป้าไว้
ที่มาข้อมูลจาก : Developers l Google
How we can help
Fill out the form below to discuss your needs or learn more about our services
"*" indicates required fields