เลือกอ่านหัวข้อที่คุณสนใจ
ทำ SEO ยังไงให้ติดหน้าแรก? ทำ SEO ยังไง Google ถึงจะเลือกเราไปอยู่หน้าแรกๆ?
หลายคนอาจสงสัยเมื่อเวลาเราพิมพ์ Search อะไรก็ตามใน Google, อะไรเป็นตัวชี้วัดว่าจะให้เว็บไหนขึ้นมาอันดับแรก หรือ อันดับสอง. ถ้าจะให้ตอบแบบง่าย ๆ ก็คงไม่พ้น ‘Google’
Google นี่แหละคือตัวที่จะตัดสินทุกอย่างเมื่อ users ทำการ search บน Google
แต่จริง ๆ แล้ว Search Engine ชั้นนำอย่าง Google จะมีระบบประมวลผล หรือ AI ที่เป็นตัวคอยคัดกรองหน้าต่าง ๆ เป็นหมื่นๆ แสนๆ หน้าและเลือกที่จะนำมาแสดงผลเพื่อให้สอดคล้องกับ คำค้นหา(หรือ keyword) ที่ users ใช้พิมพ์ search นั่นเอง ซึ่งผมขอเรียกชื่อเล่นของ AI ตัวนี้ว่า Google Bots แล้วกันต่อจากนี้
Google Bots นั้นจะมี Algorithm ที่ซับซ้อน(และไม่เคยเปิดเผยอย่างชัดเจน) ในการเลือกหรือจัดอันดับเว็บไซต์ที่จะนำมาแสดงผลบน SERP แต่ถ้าอ้างอิงจาก Algorithm ล่าสุดที่ชื่อว่า Broad Core Algorithm(หรือ ชื่อเล่นว่า May 2020 Core Update) นั้น จะเห็นว่าปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่ส่งผลต่อการจัดอันดับโดยรวม คือ Page Experience กล่าวคือ
- หน้านั้นจะต้องทำให้ตอบโจทย์ users มากที่สุด(user friendly)
- ไม่มีอะไรมากวนใจ users เช่น โฆษณา popup ต่าง ๆ
- ความเร็วในการโหลดหน้า (Page Speed)
ซึ่งวันนี้ผมจะมาพูดถึง องค์ประกอบสำคัญพื้นฐานที่จะทำให้หน้าของเรามีโอกาสที่จะไปอยู่บน Google Search Result หน้า
1. ตั้งเป้าหมายของหน้า (Page Objective)
เป้าหมาย(Objective) เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดและเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างหน้าหน้าหนึ่งบนเว็บไซต์ เราต้องสามารถบอกได้ว่าเราต้องการให้ User เข้ามาเพื่อทำอะไร โดยเป้าหมายในที่นี้ถ้าแยกแบบเข้าใจง่ายๆจะมีดังนี้
- ให้ Users เข้ามาเพื่ออ่าน(Informative)
ส่วนใหญ่ก็จะเป็น Content ที่เกี่ยวข้องกับบทความซึ่งจุดประสงค์หลักของมันก็คือเพื่อให้ User เข้ามาเพื่อและหาความรู้เพิ่มเติม โดยสิ่งที่ Users จะได้นั้นคือความรู้และความเข้าใจที่เพิ่มขึ้นจากบทความของเรา
- ให้ Users เข้ามาเพื่อ Engage
ยกตัวอย่างง่ายๆอย่างเช่นเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับประกัน ซึ่งจุดประสงค์หลักคือต้องการให้ users เข้ามากรอกรายละเอียดข้อมูลส่วนตัวเพื่อส่งไปให้ทาง Sales Lead ต่อไป โดยหน้า Page เหล่านี้หากสังเกตุง่าย ๆ จะมีฟอร์มให้กรอกเสมอ
นอกจากนี้ยังมีหน้าเพจอีกหลายประเภทที่สามารถใช้เพื่อต้องการให้ User เข้ามา Engage ยกตัวอย่างเช่น YouTube พี่จุดประสงค์หลักคือต้องการให้ User เข้ามารับชมวีดีโอซึ่งการรับชมนั้นก็ถือเป็น Engagement อย่างหนึ่งเช่นกัน
2. กำหนด Keyword ในหน้านั้น (Keyword Targeting)
การกำหนด Keyword จะช่วยให้เราสามารถดึง Users ที่ใช้ Keyword คำที่เกี่ยวข้องกับหน้าของเรา และสามารถดึง Users เข้ามาในหน้าของเราได้ สิ่งที่สำคัญที่สุดในการเลือก Keyword นั้น คงไม่ใช่ Search Volume อีกต่อไปแล้วหากอ้างอิงจาก Algorithm ล่าสุดจาก Google แต่เป็น ความเกี่ยวข้องระหว่าง Keyword กับเนื้อหาหลักของหน้าของเรานั่นเอง
ยกตัวอย่างเช่น
หน้า Homepage www.predictive.co.th ควรคู่กับ Keyword ‘Digital Analytics Consultants’
หน้า Contact Us https://predictive.co.th/contact-us/ ก็ควรคู่กับ Keyword ‘ติดต่อ Predictive’ เป็นต้น
โดยสรุปแล้ว ปัจจัยหลักในการเลือก Keyword ในหน้าหนึ่ง คือ ความเกี่ยวข้องของ Keyword, Search Volume และ Data ด้านอื่น ๆ จาก Google Search Console(Click, Impression และ Click Through Rate) นั่นเอง นอกจากนี้แล้วในหน้าๆหนึ่ง อาจมีการกำหนด Keyword หลายคำก็เป็นได้ ไม่มีการกำหนดตายตัว
3. การใส่ Keyword ลงในองค์ประกอบต่างๆ ของ SEO อย่างเหมาะสม
หลังจากกำหนด Keyword ของหน้าหน้าหนึ่งแล้ว เรายังต้องพิจารณาใส่ Keyword ลงใน ‘องค์กระกอบของ SEO’ (SEO Elements) อย่างเหมาะสมด้วย ซึ่ง SEO Elements พื้นฐานนั้นมีอะไรบ้าง เรามาดูกัน
Title Tags
Meta Description
Heading Tags
Contents
Alt Tags
โดยรวมเราคงยังไม่เจาะเข้าไปในแต่ละ Element ในบทความนี้ แต่อย่างไรก็ตาม เราจะขอยกตัวอย่างแบบเข้าใจง่าย ๆ ให้ก็แล้วกัน
Page Title ที่ปรากฏใน Search Result
จากรูปข้างบน จะเห็นว่า ถ้าหากเรา Focus กลุ่มลูกค้าไปที่คนต่างชาติ เว็บนี้จะมี Page Title ที่ค่อนข้างเคลียร์ ซึ่งจะทำให้ชาวต่างชาติเข้าใจได้เนื่องจากเป็นภาษาอังกฤษ และมี Keyword อยู่ถึงสองคำ ได้แก่ Digital Analytics และ Strategy Consulting ซึ่งถ้าหากเราเข้าไปดู Search Volume จะพบว่า Keyword สองคำนี้มี Search Volume อยู่จำนวนหนึ่ง(เนื่องจาก Keyword อยู่ในหมวดที่ออกไปด้านเฉพาะทาง จึงทำให้ Search Volume ไม่เยอะมากเป็นปกติ)
แต่หากเราต้องการให้คนไทยเข้ามาดูเว็บไซต์นี้เป็นหลัก Page Title นี้จะแพ้คู่แข่งโดยทันที เนื่องจากว่า Page Title นี้ไม่ได้มีการใช้ภาษาไทย รวมถึงหน้า Content ต่าง ๆ ที่ส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษหมด ซึ่งจะส่งผลให้เว็บ Predictive.co.th ไม่อยู่ใน Search Result ในกรณีที่ Users ใช้ Keyword ภาษาไทยในการค้นหาทันที
4. ความเร็วในการโหลดหน้า(Page Speed)
Page Speed คืออะไร มีผลต่อ SEO อย่างไร?
Pagespeed คือ ความเร็วในการโหลดหน้า ยิ่งโหลดไวยิ่งดีต่อ User Experience ของ users ยิ่ง User Experience ดียิ่งส่งผลกระทบที่ดีต่อ SEO ซึ่งปัจจัยที่มีผลต่อความเร็วในการโหลดหน้าเว็บมีอยู่หลายอย่างด้วยกัน เช่น ขนาดรูปภาพ, JavaScript, HTML และความเร็วของ Hosting เป็นต้น
Tool สำคัญที่ใช้ในการวัด Page Speed ของหน้าเว็บที่ขาดไม่ได้คือ Google Page Speed Insight.
Page Speed Insight คือ Tool ที่ถูกสร้างขึ้นโดย Google ใช้สำหรับกับวัด Page Speed และแสดงผลลัพท์ออกมาในรูปแบบของคะแนนเต็ม 100 โดย 0 คือแย่สุด 100 คือดีสุด ทีนี้เรามาดูกันว่าเว็บของเรานั้น มี Page Speed Performance เป็นอย่างไรบ้าง
Predictive ได้คะแนน 17/100 สำหรับ Page Speed บนมือถือ
ในกรณีนี้ Predictive.co.th ยังไม่ได้มีการ Optimize ตัว Pagespeed สำหรับมือถือ ซึ่งสามารถทำได้โดยเริ่มจากการปรับความใหญ่ของรูป การปรับ JavaScript และอื่น ๆ อีกมากมาย
5. เนื้อหาของหน้า (Optimized Content)
นอกจากการเลือกคำค้นหาที่มีความเกี่ยวข้องกับบทความของหน้าแล้ว คุณภาพของหน้าก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้ Google จัดอันดับให้ขึ้นไปอยู่หน้าแรก. ถึงแม้การใส่ Keyword ลงใน Content นั้นเป็นเรื่องที่ดี แต่ก็ไม่ควรใส่ Keyword มากเกินไป เพราะหน้าที่มี Keyword น้อย แต่บทความมีเนื้อหาที่แน่นและมีคุณภาพ ก็สามารถชนะหน้าที่มี Targeted Keywords หลาย ๆ คำแต่บทความสั้นนิดเดียวได้
ปัจจัยที่บ่งบอกคุณภาพของ Content มีดังนี้
- เนื้อหาสอดคล้องกับหัวข้อ
- มีทั้ง Keywords และ Long-tail keywords (เพื่อให้ support ไปกับ Google Voice Search )
- กระชับ ไม่สั้น(Thin Content) หรือ ยาวจนเกินไป
- มีการทำ Canonical URL ไว้ชัดเจนเพื่อป้องกัน Duplicate Content
- อ่านง่าย มีการเว้นวรรค การใช้ Bullet และการใช้ย่อหน้าอย่างเหมาะสม เพื่อให้ Users อยากที่จะอ่าน Content ของเราจนจบ
หาก Content มีคุณภาพ จะทำให้ Dwell Time สูงขึ้น ซึ่ง Dwell Time คือ ระยะเวลาตั้งแต่เมื่อ users คลิกที่หน้าเว็บบน Search Result ไปจนถึงตอนที่ users กดคลิกย้อนกลับไปยังหน้า Search Result
6. Backlinks (Off-Page)
Backlinks คืออะไร? สำคัญกับ SEO อย่างไร
Backlink คือ ลิงค์ที่เชื่อมจากเว็บอื่นที่ไม่ใช่ Domain เดียวกับกับเรา ซึ่งจุดประสงค์ในการสร้าง Backlink นั้น คือเพื่อเป็นการสร้าง Reference จากเว็บไซต์พันธมิตรต่าง ๆ เพื่อให้ Google รู้จักเรา และให้คะแนนเรามากขึ้นนั่นเอง
โดยทั่วไปคำว่า “คะแนน” นั้น Google ไม่ได้ระบุมาว่าแต่ละเว็บมี Backlinks เท่าไร และมีคะแนนเท่าไร เพื่อป้องกันไม่ให้ webmaster สนใจแต่จะเพิ่มปริมาณ backlinks โดยไม่คำนึงถึงคุณภาพของมัน. จึงทำให้ Third party tool ชั้นนำต่างๆ ได้ผลิต Off-Page Performance tool ขึ้นมาโดยอิงจาก Algorithm ของ Google เป็นหลักเพื่อกำหนดออกมาเป็นคะแนนให้ SEO Specialist เข้าใจง่าย ๆ. ยกตัวอย่างจาก Dashboard ของ Ahrefs ดังนี้
จากตัวอย่างจะเห็นว่าเว็บ Predictive นั้น ยังไม่มีการทำ SEO Off-Page อย่างจริงจัง เนื่องจากว่าปัจจุบันเว็บ Predictive มี Backlinks เพียงแค่ 29 URLs เท่านั้น
ปัจจัยในการทำ Backlinks ที่มีคุณภาพ
การสร้าง Backlinks สำหรับ SEO นั้น ไม่สามารถที่จะเน้นจำนวนได้เหมือนสมัยหลายปีก่อน เนื่องจากว่า Google จะไม่ได้ตรวจสอบแค่จำนวนของ Backlinks อีกต่อไป การสร้าง Backlinks อย่างมีคุณภาพจึงจำเป็นต้องทำควบคู่ไปกับการเพิ่มจำนวน Backlinks ปัจจัยในการสร้าง Backlink อย่างมีคุณภาพ มีดังนี้
- ความเกี่ยวข้องของ Referring Domain
การจะใส Backlinks บนเว็บไซต์อื่นนั้น ต้องคำนึงถึงความเกี่ยวข้องของ Content และ URL ปลายทางของเราเป็นหลักด้วย
- คุณภาพของ Referring Domains
Backlinks ที่ดี ควรอยู่บนเว็บไซต์ที่มี DR Score ที่ดีด้วยเช่นกัน เพื่อเป็นการบอกถึงคุณภาพของ Reference Site ซึ่งจะทำให้เราสามารถได้รับความเชื่อถือเพิ่มขึ้นไปอีก
- การจัดประเภทของ Backlinks ที่เหมาะสม
ตัว Backlinks นั้นมีหลายประเภท เช่น Anchor Text, Image Link และ Full URL. เราควรที่จะมีการจัดสรรประเภทของ Backlinks ด้วยความเหมาะสม เช่น 60% ควรจะเป้น Anchor Text (แนะนำให้ใช้ Keyword หลักมาย้อมเป็น Clickable Text) 20% ควรจะเป็น Image Link และ อีก 20% ควรจะเป็น Full URL Backlinks เป็นต้น
7. ติดตาม Google Algorithm Update อย่างสม่ำเสมอ
หนึ่งในสิ่งที่สำคัญที่สุดที่มีผลต่อการจัดอันดับผลการค้นหาบน Google นั้นก็คือ Google Algorithm. Google Algorithm คือกระบวนการสำคัญที่ใช้ในการประมวลผล หรือ พูดง่าย ๆ ว่าคือ AI ของ Google นั้นเอง ยกตัวอย่างเช่น การนำ Page Speed มาใช้เป็นปัจจัยสำคัญในการจัดอันดับ หรือ การดู User Experience ของหน้านั้น ๆ เป็นต้น
โดยปกติ Google จะมีการอัพเดท Algorithm อยู่เรื่อย ๆ ฉะนั้นจึงขอแนะนำให้ติดตาม Google ผ่าน platform ต่าง ๆ ตลอดเวลา เพื่อที่เราจะสามารถปรับหน้าเว็บให้ align ไปกับ Update ของ Google ได้ก่อนใคร โดยช่องทางหลัก ๆ มีดังนี้
Algoroo
Algoroo Dashboard ใช้ดูการอัพเดท Algorithm อย่างง่าย จุดเด่นคือ Visialization ที่ดูเรียบง่าย
Google SearchLiaison Twitter account – รวดเร็วทันใจ เหมาะสำหรับ SEO Specialist ที่ต้องการรับข่าวทันที
Google Blog Website
Google Blog Website – เหมาะสำหรับรายละเอียดเชิงลึก อธิบายการทำงานของ Search Algorithm เชิงลึก
8. Mobile Friendly หรือ Mobile Usability
Mobile Friendly คือการปรับหน้าเว็บไซต์ของเราให้รองรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ต่าง ๆ ทั้งสมาร์ทโฟน และแทปเล็ต เพื่อให้ users ได้รับ user experience ที่ดีเวลาที่มีการเข้าเว็บไซต์ผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่.
เนื่องจากสัดส่วนจำนวนผู้ใช้อินเตอร์เน็ตบนสมาร์ทโฟนและแท็ปเลตเพิ่มขึ้นทุกปี Google จึงได้มีการเปลี่ยน Algorithm ให้ไปสนับสนุน Mobile Friendly มากขึ้น นั้นหมายความว่า ยิ่งเว็บไซต์โหลดไวบนมือถือมากเท่าใด โอกาสที่ Google จะให้คะแนนก็มากขึ้นตามนั่นเอง
หลายคนอาจสงสัยว่า เราจะรู้ได้อย่างไร ว่าเว็บไซต์ของเรามี Mobile Friendly ดีแค่ไหน นอกจากใช้ความรู้สึกแล้ว Google ได้ทำการสร้าง Tool ที่ใช้สำหรับการเช็ค Google Mobile Friendly Tester ขึ้นมา ตามรูปด้านล่าง
จาก Google Mobile Friendly Tester, เว็บ Predictive เป็นเว็บที่ถูกจัดว่า Mobile Friendly
9. การเข้าถึงเว็บไซต์ (Website Accessibility)
เว็บไซต์ที่ดีนอกจากมีการ optimize ที่ดีทั้ง on-page และ off-page แล้ว ควรจะมีการปรับเว็บเพื่อรองรับให้ Google Bots เข้ามาดูอีกด้วย การเตรียม Website Accessiblity ที่ดี ควรมีดังนี้
มีการทำ Sitemaps ทั้งบนเว็บไซต์ และ Sitemap.xml
Sitemap หรือ แผนผังเว็บไซต์ คือ โครงสร้างของเว็บไซต์ เป็นเหมือนกับสารบัญของเว็บที่มีการรวม link ต่าง ๆ ของเว็บไว้ในหน้าเดียว โดยจะเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ Search Engine เข้ามา Crawl ดูเพื่อรู้ว่าเว็บของเราประกอบด้วย content อะไรบ้างนั้นเอง
หลักๆ แล้ว Sitemap จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
- Sitemap ในรูปแบบเว็บไซต์ – เน้นสำหรับ users
- Sitemap ในรูปแบบของไฟล์ XML – เน้นสำหรับ Google Bots
ตัวอย่าง HTML Sitemap(แผนผัง HTMLบนเว็บ)
ไฟล์ XML ที่มีการ Upload ลงในเว็บไซต์
10. SSL Certificate (การทำให้เว็บไซต์เป็น HTTPS)
SSL Certificate คือ มาตรฐานหรือใบรับรองความปลอดภัยทางอินเตอร์เน็ต มีเพื่อยืนยันความปลอดภัยระหว่างการส่งข้อมูลบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต สำหรับ Users ทั่วไปจะสามารถสังเกตุง่าย ๆ คือ URL ของเว็บไซต์จะขึ้นต้นด้วย https
ประโยชน์ของ https
- เพิ่มความปลอดภัยของข้อมูล – โดยข้อมูลจะผ่านการเข้ารหัสไว้จึงทำให้เหล่า Hacker ไม่สามารถอ่านข้อมูลได้
- ทำให้เว็บไซต์มีความน่าเชื่อถือ – ในเชิง Users ที่คุ้นเคยกับการทำธุรกรรมออนไลน์จะคุ้นเคยและมีแนวโน้มที่จะคลิกเข้าเว็บที่มีสัญลักษณ์ SSL certificated มากกว่าเว็บที่ไม่มี
- เพิ่มอันดับใน SEO Ranking – ปัจจุบัน Algorithm ของ Google เริ่มหันมาโฟกัส SSL Certificate บน Chrome มากขึ้น จึงทำให้ Google เลือกที่จะให้ Authority เว็บไซต์ที่มี SSL Certificate มากกว่า
และนี่คือ 10 องค์ประกอบหลัก ๆ ที่ทำให้เว็บไซต์ มีโอกาสที่จะทำให้มีโอกาสติดหน้าแรก ทั้งนี้ทั้งนั้นองค์ประกอบเหล่านี้อาจไม่สามารถการันตีได้ 100% ว่าจะทำให้ติดทันทีเมื่อ implement เสร็จ เนื่องจากว่าเราต้องดูความเข้มข้นของการแข่งขันบน Search Result ด้วย
หากท่านใดอยากรู้เพิ่มเกี่ยวกับ SEO ปรึกษา Predicitve SEO Team ได้เลยครับ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจสำหรับคุณ
How we can help
Fill out the form below to discuss your needs or learn more about our services
"*" indicates required fields