people-first content

People-First Content คอนเทนต์แบบไหนที่เข้าถึงใจคนอ่านผ่านการทำ On-Page SEO

ร้อยทั้งร้อยของเว็บไซต์ล้วนมีคอนเทนต์เป็นตัวช่วยดึงดูดผู้ชมให้เข้ามายังหน้าเว็บ ซึ่งสอดคล้องกับอัปเดตล่าสุดจาก Google หรือ Helpful Content Update ที่ประกาศว่า Google กำลังปรับให้คอนเทนต์ที่มีเนื้อหาออริจินัลและเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ขึ้นมาแสดงผลบนหน้าค้นหามากขึ้นโดยให้น้ำหนักกับเนื้อหาที่ “เขียนอย่างเป็นมนุษย์” มากเป็นพิเศษ ซึ่งสำหรับคนทำSEO แล้ว นี่ไม่เพียงแปลว่าเราควรให้ความสำคัญกับคุณภาพของคอนเทนต์อย่างเดียวเท่านั้น แต่ควรใส่ใจกับวัตถุประสงค์ของเนื้อหาข้างในที่สามารถเข้าถึงใจผู้คนอย่างแท้จริง และเพื่อให้สามารถแข่งขันกับอีกมากมายเว็บไซต์ที่มีคุณภาพคอนเทนต์ดีไม่แพ้กัน ลองมาดูกันดีกว่าว่าบนเว็บไซต์ของเราควรมีคอนเทนต์แบบไหนถึงจะได้ใจจากคนอ่าน

ธรรมชาติของคอนเทนต์บนเว็บไซต์

ก่อนจะเจาะจงไปที่ลักษณะของเนื้อหาคอนเทนต์ที่มีคุณภาพ เราควรทำความเข้าใจกับธรรมชาติการมีอยู่ของคอนเทนต์บนเว็บไซต์ให้ดีเสียก่อน ซึ่งแน่นอนว่าย่อมแตกต่างจากคอนเทนต์บนสื่อโซเชียลอื่นๆ ตรงที่ว่า คอนเทนต์บนเว็บไซต์นั้นควรมีเป้าหมายในตัวของมันเอง (Purpose of the Page) ไม่ว่าจะเพื่อให้ข้อมูลหรือเพื่อขายสินค้าก็ตาม ซึ่งคอนเทนต์จะปรากฏสู่สายตาผู้คนได้ก็ต่อเมื่อเนื้อหาของเรามีความเกี่ยวข้องกับสิ่งที่ผู้คนค้นหา โดยมี Google เป็นสื่อกลางระหว่างเจ้าของคำถามกับผู้ผลิตคอนเทนต์ การทำ SEO จึงเปรียบเสมือนการสื่อสารกับ Google ให้เลือกเว็บไซต์ของเราไปแสดงในหน้าค้นหานั่นเอง

People-First Content คืออะไร

People-First Content เป็นการทำ On-Page SEO โดยโฟกัสที่การผลิตตัวเนื้อหาให้ตอบโจทย์ผู้ใช้โดยเฉพาะ โฟกัสที่คนอ่านเป็นหลักมากกว่าบอทของ Google และเมื่อผู้คนที่เข้ามาได้รับประสบการณ์ที่ดีกลับไปก็ยิ่งส่งผลให้ประสิทธิภาพของเว็บไซต์เราอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพึงพอใจและมียอด Traffic เขียวๆ ให้ชื่นใจได้เรื่อยๆ นั่นเอง ซึ่งหากเราหวังผลตามนี้ สิ่งแรกที่ควรทำคือพินิจพิเคราะห์เนื้อหาบนเว็บให้มีความเป็นมนุษย์หรือมากขึ้น เช่น

  • เว็บไซต์ของเรามีจุดมุ่งหมายหลักชัดเจนหรือไม่ เช่น หากเว็บไซต์เรามีไว้เพื่อขายของ เราได้สื่อสารเกี่ยวกับสินค้าออกมาอย่างชัดเจนดีพอ มีเนื้อหาเกี่ยวกับรายละเอียดสินค้าพร้อมข้อมูลติดต่ออย่างครบถ้วนหรือไม่
  • เนื้อหาบนเว็บไซต์ของเราตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายหลักดีพอหรือยัง เช่น หากเราทำเว็บเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ กลุ่มคนที่กำลังมองหาหรือสนใจเกี่ยวกับอสังหาจะได้ประโยชน์กลับไปหรือไม่หากคลิกเข้ามาแล้ว
  • เนื้อหาบนเว็บไซต์ของเราให้ข้อมูลตามความเป็นจริงหรือจากประสบการณ์จริงหรือไม่ เช่น หากเว็บไซต์เราเกี่ยวกับการอัปเดตข่าวสาร เนื้อหาบนเว็บมีความตรงต่อเหตุการณ์และเป็นปัจจุบัน มีข้อมูลเกี่ยวกับผู้นำเสนอรวมถึงหลักฐานที่เชื่อถือได้หรือไม่

ลักษณะคอนเทนต์แบบไหนที่เลี่ยงได้ก็ควรเลี่ยง

แม้คอนเซ็ปต์ของคอนเทนต์ที่มีความเป็นมนุษย์นั้นจะตีความได้ค่อนข้างกว้างตามแต่กลุ่มเป้าหมายของเรา การใส่ใจกับรายละเอียดยิบย่อยจะช่วยให้เราสังเกตพฤติกรรมผู้ใช้ได้ไวกว่า รวมทั้งอาจต้องอาศัยการลองวิธีการใหม่ๆ เพื่อให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าเดิม และเพื่อประหยัดเวลาหากเราหวังผลให้ผู้ใช้ได้รับเนื้อหาคอนเทนต์ที่มีคุณภาพ สิ่งเหล่านี้ก็เป็นสิ่งที่คนทำ SEO ควรเลี่ยงแต่เนิ่นๆ 

  • เลี่ยงการทำ SEO Content ที่สนใจแต่อัลกอริทึม Google อย่างเดียว (Technical เกินไปจนขาดความเป็นธรรมชาติ)
  • ไม่วางแผน Topics Content มีคอนเทนต์ที่สะเปะสะปะ
  • สร้างคอนเทนต์ด้วยระบบอัตโนมัติ
  • สรุปเนื้อหาจากแหล่งอื่นโดยไม่ใส่ข้อมูลเป็นประโยชน์เพิ่มเติม
  • เนื้อหาคอนเทนต์ไม่จบในตัวเอง คนอ่านต้องไป Google จากแห่งอื่นเพิ่ม
  • ผลิตแต่คอนเทนต์ตามกระแส โดยไม่สนใจผู้ใช้ขาประจำ
  • ใส่เนื้อหาให้เยอะเข้าไว้เพราะคิดว่าบทความยิ่งยาวยิ่งดี

รู้ได้อย่างไรว่าคอนเทนต์ตอบโจทย์ผู้ใช้

การจะวิเคราะห์ว่าคอนเทนต์บนเว็บไซต์เรานั้นตอบโจทย์ผู้ใช้ดีแล้วหรือยัง เราอาจจะต้องจำลองตัวเองเป็นผู้อ่านและมองในมุมคนที่ต้องการหาคำตอบให้กับคำถามจริงๆ ซึ่งหากเราคิดผ่านมุมนี้โดยอาศัยดาต้าที่มีบน Google Search Console เราจะเห็นรูปแบบของ User’s Journey ว่าผู้คนมักเริ่มต้นจากการตั้งคำถาม (Queries) อะไรสักอย่างบนหน้าค้นหา Google หากเว็บไซต์ของเรามีเนื้อหาที่ตอบข้อสงสัยเหล่านั้นก็จะทำให้หน้าเพจนั้นถูกมองเห็นมากขึ้นผ่านตัวชี้วัดการมองเห็น (Impression) ยิ่งไปกว่านั้นหากเราตอบคำถามเหล่านั้นได้ดี ซึ่งดูได้จากยอดผู้คนที่คลิกเข้ามาเทียบกับยอดการมองเห็นแล้วมีเปอร์เซ็นต์ที่ดี (Clicks through Rate) อัลกอริทึมของ Google ก็จะยิ่งเลือกเว็บไซต์ของเราให้ขึ้นไปอยู่ในลำดับที่สูงขึ้น (Page Ranking) และมีโอกาสติดหน้าแรก หรือหากต้องการผลลัพธ์ที่เป็นตัวเลขอย่างชัดเจนการถึงเวลาต้องพึ่งพาตัวชี้วัดการมีส่วนร่วม (Engagement) บน GA4 เข้ามามีส่วนช่วยวิเคราะห์ความพึงพอใจของผู้ใช้บนเว็บ

แม้ว่าการติดหน้าแรกของ Google จะหอมหวานแต่ตำแหน่งนี้อาจไม่คงอยู่ตลอดไปหากเราไม่มีการมอนิเตอร์เพื่อติดตามประสิทธิภาพของเว็บไซต์อย่างต่อเนื่อง ยิ่งจำนวนคู่แข่งเพิ่มสูงขึ้นทุกวันก็ยิ่งเป็นความท้าทายในการผลิตคอนเทนต์ที่ตอบโจทย์ผู้ใช้ให้ดีกว่าเมื่อเทียบกับเว็บอื่นๆ การอัปเดตคอนเทนต์เป็นประจำ หมั่นปรับปรุงเนื้อหาเดิม และทำความเข้าใจกับความสนใจของผู้คนอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้เรา Keep up กับความเปลี่ยนแปลงของโลกแห่ง SEO ได้อย่างทันท่วงที

ที่มาข้อมูล Google Search Central Blog

How we can help

Fill out the form below to discuss your needs or learn more about our services

"*" indicates required fields

Name*
Please let us know what's on your mind. Have a question for us? Ask away.