การกำหนดกลยุทธ์การทำ Keyword นั้นมีความสำคัญมากต่อการทำ Search Engine Optimization (SEO) และ Search Engine Marketing (SEM) เพราะช่วยให้เราเข้าใจพฤติกรรมการค้นหาของลูกค้า user’s intent เพื่อวางแผนให้เว็บไซต์ของเราเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น และดึง Quality Traffic เข้าสู่เว็บไซต์ในระยะยาวค่ะ
วันนี้ทาง Predictive จะพาคุณไปรู้จักกับ Keyword Strategy แบบครบจบในโพสต์เดียว ตั้งแต่การทำพื้นฐานว่า Keyword คืออะไร , ขั้นตอน สำหรับการเลือกคำ Keyword ให้เหมาะกับแบรนด์ของคุณ และ Guideline ว่าธุรกิจควรจะเลือกใช้ Keyword กี่คำ เพื่อให้ได้อันดับการแสดงผลติด Rank ดีๆ บนหน้า Search Engine Result Pages (SEPRs) ค่ะ ไปติดตามอ่านรายละเอียดกันได้เลยค่ะ
เลือกอ่านหัวข้อที่คุณสนใจ
Keyword คืออะไร
Keyword เป็นคำหรือวลี ที่คนใช้ในการค้นหาสิ่งที่ต้องการบน Search Engine (ในที่นี่คือ Google) ไม่ว่าจะเป็นการหาสิ่งที่อยากรู้ , รีวิว, วิธีการทำอะไรบางอย่าง
เมื่อมีคำค้นหาคำ Keyword ใดๆ แล้ว หากหน้าเว็บไซต์ของเรามีคำ Keyword เหล่านั้น เว็บไซต์หน้านั้นๆ ของเราก็จะไปประกฎอยู่ที่ผลการค้นหาของการเสิร์ชนั้นๆ (Search Engine Result Pages)
ดังนั้นการวางแผน และเลือกใช้ Keyword จึงมีความสำคัญมากๆ ธุรกิจต้องมีการเข้าใจพฤติกรรมการค้นหาของลูกค้า และมีการวางแผนคำ Keyword หรือ SEO Keyword Strategy เพื่อให้เว็บไซต์ของเราเป็นที่รู้จัก เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของธุรกิจ เเละเพิ่มจำนวนคนคลิกเข้าเว็บไซต์มากยิ่งขึ้น
อ่านเพิ่มเติม 10 องค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้เว็บไซต์ของคุณมีโอกาสติดหน้าแรกใน Google ได้ที่นี่
4 ขั้นตอน สำหรับการเลือกคำ Keyword ให้เหมาะกับธุรกิจ
ในการเลือก Keyword ในการทำ SEO ให้เหมาะกับธุรกิจประกอบด้วย 4 ขั้นตอนได้แก่
ขั้นตอนแรก : ทำความเข้าใจ 3 ปัจจัยหลักที่ช่วยเลือกคำ Keyword ที่ดี
ในการเลือกคำ Keyword สำหรับการทำ SEO ที่ดีนั้นประกอบด้วย 3 ปัจจัยได้แก่
Keyword มีความเชื่อมโยง (Relevance)
Keyword ที่ดีจะต้องมีความเกี่ยวข้องกับ Content และ ตัว Content มีความเกี่ยวข้องกับ user’s intent
โดยปกติแล้ว เราเข้าไปค้นหาบน Google ด้วยหลากหลายเหตุผล เช่น ต้องหาหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสิ่งนั้นๆ , หารีวิว , ซื้อสินค้านั้นๆ ซึ่งนั่นคือนิยามของคำว่า User’s Intent ค่ะ ซึ่งทาง Google ก็จะมี Algorithm ที่ทำงานอยู่เบื้องหลัง เพื่อแสดงผลลัพธ์การค้นหาที่ตรงตาม User’s Intent และเป็นประโยชน์กับผู้ใช้งานมากที่สุด
เช่น Keyword : วิธีเลือกซื้อเครื่องสำอางค์ สำหรับผิวแพ้ง่าย > ผลลัพธ์การค้นหาจะอยู่ในประเภทของบทความ / วิดิโอให้ความรู้เพื่อเลือกซื้อเครื่องสำอางค์
ในขณะที่ Keyword : ซื้อเครื่องสำอางค์ แบรนด์ XYZ รุ่น 123 > ผลลัพธ์การค้นหา เป็นช่องทางการซื้อเครื่องสำอางค์ แบรนด์ XYZ รุ่น 123 ทั้งเว็บไซต์ของแบรนด์ และตาม E-commerce Platform ต่างๆ
ดังนั้น วิธีที่ง่ายที่สุดคือหากธุรกิจต้องเข้าใจจุดประสงค์ของแต่ละหน้าเว็บไซต์ (Page Objective) ของตัวเอง และหาคำ Keyword ที่สอดคล้องกับหน้าดังกล่าว
Keyword เชื่อมโยงกับคอนเทนท์ที่เราเป็นผู้เขียนเอง (Authority)
สิ่งที่ Google ให้ความสำคัญเป็นลำดับต้นๆ คือ คอนเทนท์ที่จะแสดงในผลลัพธ์การค้นหาต้องเป็นคอนเทนท์ที่ดี มอบคุณค่าบางอย่างให้กับผู้เข้าชมได้ ดังนั้นคอนเทนท์ต่างๆ ที่อยู่ในเว็บไซต์นั้น ทางแบรนด์ต้องมั่นใจว่าไม่ได้ก๊อปปี้ใครมา และคอนเทนท์นั้นจะต้องช่วยแก้ปัญหา / ให้ความรู้มุมมองใหม่ๆ บางอย่างให้กับผู้อ่านได้
Keyword มีปริมาณการค้นหาสูง (Search Volume)
ก่อนจะเลือกใช้คำ Keyword ใดๆ ควรที่จะเช็คก่อนว่าในแต่ละเดือน มีการใช้คำ Keyword นั้นๆ ในการค้นหาบน Google ในปริมาณมากน้อยแค่ไหน โดยสามารถตรวจสอบปริมาณของ Search Volume ได้จากเครื่องมือการค้นหา Keyword เช่น Google Keyword Planner และเครื่องมืออื่นๆ ค่ะ
ขั้นตอนที่สอง : เลือกใช้ประเภทของคำ Keyword ให้เหมาะสม
Keyword ในการทำ SEO นั้นมีทั้งหมด 6 ประเภท ได้แก่
Short-Tailed Keyword
เป็นคำกว้างๆ ไม่เจาะจง มักมีปริมาณการค้นหา (Search Volume) สูง มีคู่แข่งเยอะ มักจะติดอันดับ Rank ดีๆยาก มักประกอบด้วย 1-2 คำ เช่น รองเท้า รถยนต์ โทรศัพท์ โดย Short-Tailed Keywords สามารถใช้เป็นคำ Keyword ตั้งต้น เพื่อใช้ในการวางแผน Keyword อื่นๆ
Long-Tailed Keywords
เป็นคำที่มีความเจาะจงมากขึ้น มีปริมาณการค้นหา (Search Volume) น้อยกว่า คู่แข่งน้อยกว่า ทำให้คิด Rank ง่ายขึ้น โดยคนที่ค้นหาด้วยคำนี้ มักมี user’s intent ที่ตรงกัน ทำให้มี conversion rate ที่สูง มักประกอบคำมากกว่า 3 คำขึ้นไป เช่น รถเบนซ์ , สถานที่ขายโทรศัพท์
Branded Keywords
เป็นคำที่ประกอบด้วยชื่อแบรนด์ หรือ ธุรกิจของคุณ เช่น Predictive , บริษัทให้คำปรึกษา Predictive เป็นต้น
Non-Branded Keywords
เป็นคำที่ไม่มีชื่อแบรนด์อยู่ในนั้น เช่น เพิ่มประสิทธิภาพ SEO
Geographical Keywords
เป็นคำที่ประกอบด้วยตำแหน่งที่อยู่ ซึ่งมีประโยชน์มากสำหรับธุรกิจที่เน้นขายของในชุมชน หรือ คนในพื้นที่ (Local Business) เช่น บริษัทให้คำปรึกษา กรุงเทพ ซึ่งผลการค้นหาจะปรากฏในรูปแบบ Google my business
Seasonal Keywords
เป็นคำที่มีคนค้นหามากๆ ในช่วงเวลาใดช่วงเวลาหนึ่ง เป็นต้น เช่น ของตกแต่งวันคริสต์มาส เป็นต้น
ขั้นตอนที่สาม : นำคำ Keyword เหล่านั้นไปใส่ในหน้า Landing Page ซึ่งตรงกับ User’s Intent
ตัวอย่างเช่น จากภาพด้านบน ในหน้าเว็บไซต์ของ Mudah.my ซึ่งเป็นบริษัทขายรถมือสองในมาเลเซีย
ในหน้า Landing Page ของเว็บไซต์นี้มีคอนเทนท์คือ มีรถยี่ห้อต่างๆ ให้เลือกซื้อ โดยผู้ซื้อสามารถ Filter ได้ตามต้องการ เช่น ประเภทของรถ , ยี่ห้อของรถ , ช่วงราคา เพื่อเป็นข้อมูลในการซื้อรถจากทางเว็บไซต์
ซึ่งคำ Keyword ที่เหมาะสมกับหน้าเว็บไซต์นี้ได้แก่
- รถยนต์
- ซื้อรถยนต์
- รถยนต์มือสอง
ซึ่งเราควรที่จะนำคำเหล่านี้ไปทดลองเสิร์ชใน Google เพื่อตรวจสอบว่าคำ Keyword เหล่านั้น ตรงกับ User’s Intent หรือไม่
เช่น สำหรับ Keyword คำว่า รถยนต์ จะเห็นได้ว่าเมื่อค้นหาบน Google แล้วผลการค้นหาที่ทาง Google เลือกหยิบมาแสดง จะเป็น webpage ที่เป็นเนื้อหาทั่วไปสำหรับรถยนต์
โดย User’s intent ที่ใช้คำว่า “รถยนต์” เป็นคำ Keyword ในการค้นหาบน Google นั้นต้องการที่จะค้นหาข้อมูลทั่วไปของรถยนต์ ไม่ได้ต้องการซื้อรถยนต์
ดังนั้น Keyword คำว่า รถยนต์ จึงไม่เหมาะกับหน้า Landing Page นี้ของ Mudah.my เนื่องจากเป็นคำที่กว้างเกินไป และไม่ตรงกับ User’s Intent ค่ะ
ตัวอย่างที่สอง จะเห็นได้ว่าเมื่อค้นหา Keyword คำว่า “ซื้อรถยนต์” บน Google แล้ว Google เลือกจะที่แสดงผล Webpages ที่เกี่ยวกับบริษัทขายรถยนต์
User’s Intent ที่ค้นหาคำว่า ซื้อรถยนต์ เป็นคนที่ต้องการซื้อรถยนต์
ดังนั้น Keyword คำว่า ซื้อรถยนต์ จึงเหมาะกับหน้า Landing Page นี้ของ Mudah.my เนื่องจากเป็นที่ตรงกับ User Intent ค่ะ
ซึ่งแบรนด์ควรที่จะลองวางแผนคำ Keyword ที่เกี่ยวข้องในแต่ละหน้า และสามารถตรวจสอบ User’s Intent ได้โดยลองนำคำ Keyword นั้นๆ ไปลองเสิร์ชบน Google และดูว่าผลการค้นหาที่ทาง Google เลือกนำมาแสดงเป็นอย่างไร ตรงกับหน้า Landing Page นั้นๆ ของเราไหม
ขั้นตอนที่สี่ : ใช้เครื่องมือตรวจสอบ Keyword เพื่อกรองให้เหลือคำ Keyword ที่ดี
ลักษณะของคำ Keyword ที่ดี ก็คือ
- มีการปริมาณการค้นหามาก (Search Volume)
- สามารถแข่งขันได้
- ตรงตาม User’s intent และเชื่อมโยงกับ Landing Page นั้นๆ
โดยทาง Predictive จะแนะนำเครื่องมือที่ใช้ในการค้นหา Keyword เบื้องต้นดังนี้
1. Google Keyword Planner
- สามารถใช้งานได้ฟรี
- สามารถดูเทรนด์การค้นหาในแต่ละช่วงเวลาได้
- ดูจำนวนการค้นหาเฉลี่ยของแต่ละ Keyword ได้
2. Google Suggestion (SERP)
อีกหนึ่งเครื่องที่ช่วยทำ Keyword research คือ Google Suggestion (SERP) โดยก่อนอื่นเราต้องมีคำตั้งต้นของ Keyword ที่เราต้องการ เช่น แว่นตา แล้ว เราสามารถนำคำ Keyword นั้นๆ ในค้นหาบน Google และไปดู Related Search ว่ามีคำคีย์เวิร์ดใดที่เกี่ยวข้องกับคำคีย์เวิร์ดที่เราต้องการบ้าง ซึ่งเราสามารถใช้เป็นไอเดียในการนำ Keyword เหล่านี้มาเขียนคอนเทนท์ได้เพิ่มเติมด้วย
อ่านเพิ่มเติม รวม 10 เรื่องต้องรู้ เพิ่มประสิทธิภาพการทำ SEO ให้ดีขึ้น ได้ที่นี่
ธุรกิจควรโฟกัส Keyword มากน้อยเท่าไหร่
การจะตอบได้ว่าควรโฟกัสกี่ Keyword นั้นขึ้นอยู่กับ 3 ปัจจัยคือ
ปัจจัยแรกคือ ธุรกิจของเรามีหมวดหมู่ของสินค้า (Product Category) มากน้อยแค่ไหน
หากธุรกิจของเรามีหมวกหมู่สินค้าที่หลากหลาย ก็ต้องใช้คำ Keyword ที่มากขึ้นเท่านั้น เพื่อให้สินค้าทั้งหมดนั้นมีคำ Keyword ที่ติดบนหน้า SERP (Search Engine Result Page) ค่ะ
ยกตัวอย่างเช่น ในธุรกิจธนาคาร (Banking) ที่มีกลุ่มสินค้าหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น สินเชื่อ, บัตรเครดิต, Refinance, เปิดบัญชีปกติ (ออมทรัพย์), ประกันรถยนต์, ประกันสุขภาพ, ประกันโควิด และอื่นๆ อีกมากมาย ก็ต้องมีการวางแผนคำ Keyword ของแต่ละ Category ที่แตกต่างกัน เพื่อให้เวลาที่มีลูกค้าค้นหาคำว่า “สินเชื่อ” ก็จะเจอหน้า Landing Page ที่เกี่ยวกับ สินเชื่อค่ะ
ปัจจัยที่สองคือกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย เป็นกลุ่มทั่วไป (Mass Market) หรือ ลูกค้าในกลุ่มเฉพาะ (Niche Market)
ถ้าธุรกิจของเราเป็นที่รู้จักอยู่แล้ว เช่น ธนาคารสีต่างๆ ก็สามารถใส่ Branded Keyword ลงไปด้วยได้ เพราะมีแนวโน้มที่คนจะได้ยินแบรนด์ของเราผ่านสื่อต่างๆ แล้วมาค้นหาต่อใน Google ซึ่งสามารถทำควบคู่กับ Non Brand Keyword ที่เกี่ยวข้องกับหน้านั้นๆ ได้
ถ้าลูกค้าที่ Niche market หรือแบรนด์ยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก เช่น ธุรกิจขายอุปกรณ์เครื่องจักร ไว้ขาย B2B (Business to Business) ก็ไม่จำเป็นต้องใส่ Brand Keyword ลงไปมากนัก เพราะลูกค้าเป้าหมาย (Lead) นั้นอาจจะยังไม่รู้จักแบรนด์เราเลยด้วยซ้ำ ควรเน้นโฟกัสที่ Generic Keyword ที่เกี่ยวข้องกับสินค้า / บริการของเรามากกว่า
ปัจจัยสุดท้ายคือ เป้าหมายของหน้าเว็บไซต์นั้นๆ (Page Objective) คืออะไร?
ก่อนที่เราจะกำหนด Keyword นั้นต้องดูก่อนว่า เราต้องการให้เว็บไซต์ “หน้าไหน” ติดบน SERP (Search Engine Result Page)ในขณะเดียวกันก็ต้องไปดูว่าในหน้านั้นๆ บนเว็บไซต์ของเรามีเป้าหมายอะไร เช่น ให้ความรู้เรื่องการเลือกซื้อแว่นตาผ่านบทความ
จากนั้นต้องไปศึกษาต่อว่าแล้วลูกค้าเป้าหมายที่กำลังเลือกซื้อแว่นตานั้น เขาจะค้นหาด้วยคำ Keyword ว่าอะไรบ้าง และในคำ Keyword เหล่านั้น มีคำไหนที่ลูกค้าต้องการผลลัพธ์การค้นหาใน “รูปแบบบทความ”ให้ความรู้เรื่องการเลือกซื้อแว่นตาบ้าง
หลังจากที่ได้ทำ Keyword Research เบื้องต้นมีคำที่เกี่ยวข้องดังนี้ : แว่นตา , เลือกซื้อแว่นตา , รีวิวทรงแว่นตา , กรอบแว่นตาทรงเหลี่ยม
เราก็นำ Keyword ที่เราลิสต์ออกมา เพื่อไปลองค้นหาบน Google เพื่อดูว่าผลลัพธ์การค้นหานั้นอยู่ในรูปแบบไหน เป็นบทความ , วิดิโอ , E-commerce , Landing Page และอื่นๆ และใน 1 Keyword นั้นๆ ก็สามารถแสดงผลลัพธ์การค้นหาในหลากหลายรูปแบบ
ตัวอย่างเช่น เมื่อลองค้นหาคำว่า กรอบแว่นตาทรงเหลี่ยม ผลลัพธ์การค้นหาจะเป็น E-commerce ที่พาไปซื้อสินค้าเลย นอกจากนี้ยังแสดงผลลัพธ์ในรูปแบบบทความให้ความรู้เรื่องการเลือกซื้อแว่นให้เหมาะกับโครงหน้าอีกด้วย ดังนั้นธุรกิจก็สามารถเลือกเอา Keyword นี้ไปใช้ได้ เนื่องจากผลลัพธ์การค้นหาที่ Google จัด Ranking นั้นมีการจัดผลลัพธ์ในรูปแบบบทความขึ้นแสดงบนหน้าแรกๆ ของการค้นหาด้วย
ดังนั้นจำนวน Keyword ที่ควรโฟกัสจึงแตกต่างตามประเภทของธุรกิจ ลักษณะของกลุ่มลูกค้า และเป้าหมายของแต่ละหน้าเว็บไซต์
สรุปเรื่องการใช้ Keyword สำหรับ SEO
Keyword ที่เลือกใช้อย่างถูกต้อง นั้นเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้หน้า Landing Page ของเราติดอันดับ และอยู่ในหน้าผลการค้นหา (SERPs) ที่ตรงตาม user’s intent ซึ่งนั้นทำให้เราเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่ตรงมากยิ่งขึ้น และมีโอกาสเพิ่ม Conversion Rate ในระยะยาว
เริ่มต้นทำ SEO กับ Predictive ตั้งแต่วันนี้ โดยในสโคปงานด้าน SEO สามารถวัดผลได้ตั้งแต่ Ranking ไปจนถึงการวัดผล Business Outcome เช่น รายได้ที่เพิ่มขึ้น โดยเรามีทีม Data Analytics ช่วยแบรนด์วิเคราะห์ Performance ของ Organic Search ในเชิงลึก ที่ผ่านมาเราได้รับความไว้วางใจจากแบรนด์ชั้นนำ อาทิ Krungsri Consumer Group, Ngern Tid Lor, Nivea, Levi’s และอื่นๆ มากกว่า 50 แบรนด์
How we can help
Fill out the form below to discuss your needs or learn more about our services
"*" indicates required fields