ลูกค้าหยุดกรอกที่คำถามไหนใน Lead Forms บนเว็บไซต์

รู้หรือไม่? ลูกค้าหยุดกรอกที่คำถามไหนใน Lead Forms บนเว็บไซต์?

เคยสงสัยกันมั้ยว่า ทำไมฟอร์มที่ให้ผู้ใช้งานกรอกถึงมีผู้ใช้งานคนเดิม กรอกข้อมูลซ้ำหลายครั้ง หรือจริงๆ แล้วเรามีผู้ใช้งานเข้ามากรอกฟอร์มในเว็บไซต์มากแค่ไหน แต่เราอาจไม่รู้ เพราะบางครั้งผู้ใช้งานเจออุปสรรคบางอย่างจนต้องตัดสินใจทิ้งฟอร์มไปก่อน ในบทความนี้เราจะมาไขข้อสงสัยเกี่ยวกับปัญหานี้ พร้อมอธิบายถึงผลกระทบที่ธุรกิจอาจเจอหากไม่ใส่ใจและพัฒนาประสบการณ์การกรอกฟอร์มให้ดีขึ้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อ Conversion Rate และการเติบโตของธุรกิจได้

ปัญหาที่พบใน Lead Forms

ปัญหาทั่วไปที่อาจพบในฟอร์มที่ส่งผลให้ผู้ใช้งานทิ้งฟอร์มไป ยกตัวอย่างเช่น

1.ฟอร์มยาวเกินไป

ฟอร์มที่ต้องกรอกข้อมูลจำนวนมากเกินไปอาจทำให้ผู้ใช้งานรู้สึกเบื่อหน่ายและยอมทิ้งฟอร์มไปก่อนที่กรอกเสร็จ

2.คำถามที่ซับซ้อนหรือไม่ชัดเจน

หากฟอร์มมีคำถามที่ไม่เข้าใจง่ายหรือมีคำอธิบายที่ไม่ชัดเจน ผู้ใช้งานอาจเกิดความสับสนและทิ้งฟอร์มไป

3.ไม่มีการบอกสถานะของการกรอกฟอร์ม

ฟอร์มที่ไม่มีการแสดงสถานะหรือความคืบหน้าในการกรอก (เช่น บาร์แสดงสถานะ) อาจทำให้ผู้ใช้งานไม่รู้ว่าต้องกรอกข้อมูลไปอีกกี่ขั้นตอน

4.กรอกข้อมูลซ้ำ

เมื่อฟอร์มมีการกรอกข้อมูลที่ซ้ำซ้อน หรือฟอร์มไม่สามารถประมวลผลข้อมูลได้อย่างถูกต้อง ผู้ใช้งานอาจรู้สึกไม่พอใจและทิ้งฟอร์มไป

5.ไม่สามารถกรอกข้อมูลได้ตามต้องการ

หากฟอร์มไม่รองรับข้อมูลในรูปแบบที่ผู้ใช้งานต้องการ (เช่น ฟอร์มไม่รองรับเบอร์โทรที่มีเครื่องหมายพิเศษ) อาจทำให้ผู้ใช้งานทิ้งฟอร์มไป

6.ไม่สามารถใช้ได้ในอุปกรณ์มือถือ

ฟอร์มที่ไม่รองรับการใช้งานบนมือถือหรือแท็บเล็ตอาจทำให้ผู้ใช้งานไม่สะดวกในการกรอกข้อมูลและเลือกที่จะทิ้งฟอร์มไป

7.ไม่สามารถทำการส่งฟอร์มได้

หากผู้ใช้งานกรอกข้อมูลครบทุกช่องแล้ว แต่ไม่สามารถส่งฟอร์มได้เพราะระบบมีปัญหา ผู้ใช้งานก็จะทิ้งฟอร์มไปโดยไม่ส่งข้อมูล

8.ไม่มีการตอบรับหรือยืนยันหลังจากกรอกฟอร์ม

การไม่มีการยืนยันหรือแจ้งเตือนว่าได้กรอกฟอร์มสำเร็จแล้ว อาจทำให้ผู้ใช้งานสงสัยและไม่มั่นใจในการกรอกฟอร์ม

ผลกระทบของ Lead Forms ที่ไม่ดี

ฟอร์ม Lead Forms ที่ไม่ได้รับการออกแบบหรือปรับปรุงให้เหมาะสม อาจสร้างปัญหาต่อผู้ใช้งานและส่งผลกระทบในด้านลบต่อธุรกิจ ดังนี้

1. อัตรา Conversion ลดลง

ฟอร์มที่ซับซ้อนหรือมีช่องกรอกข้อมูลจำนวนมากเกินไป ทำให้ผู้ใช้งานรู้สึกเบื่อหน่ายและละทิ้งฟอร์มก่อนส่งข้อมูล ซึ่งส่งผลให้อัตรา Conversion ของเว็บไซต์ลดลง และพลาดโอกาสในการเปลี่ยนผู้เข้าชมเป็นลูกค้า

2. ประสบการณ์ผู้ใช้งานแย่ลง

ฟอร์มที่ใช้งานยาก เช่น การถามข้อมูลที่ไม่จำเป็น การไม่มีคำอธิบายที่ชัดเจน หรือไม่รองรับการใช้งานบนอุปกรณ์มือถือ อาจสร้างความสับสนและทำให้ผู้ใช้งานไม่ประทับใจ ส่งผลให้ภาพลักษณ์ของแบรนด์ลดลง

3. สูญเสียโอกาสทางธุรกิจ

ข้อมูลลูกค้าที่ไม่ถูกส่งเข้ามา เนื่องจากผู้ใช้งานละทิ้งฟอร์มไปก่อน จะส่งผลให้ธุรกิจเสียโอกาสในการสร้างลูกค้าใหม่ รวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อปรับปรุงแผนการตลาดในอนาคต

4. ข้อมูลที่ได้ไม่สมบูรณ์

หากฟอร์มมีการตั้งคำถามที่ไม่ชัดเจนหรือมีโครงสร้างที่ซับซ้อน ข้อมูลที่เก็บได้อาจไม่ครบถ้วนหรือไม่สามารถนำไปใช้งานได้จริง ส่งผลให้การวิเคราะห์และการตัดสินใจของธุรกิจผิดพลาด

5. ต้นทุนที่เสียเปล่า

การลงทุนในแคมเปญโฆษณาหรือการตลาดออนไลน์เพื่อดึงดูดผู้เข้าชมเว็บไซต์ อาจกลายเป็นต้นทุนที่สูญเปล่า หากผู้ใช้งานถูกขัดขวางจากฟอร์มที่ไม่มีประสิทธิภาพ

6. ผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของแบรนด์

ฟอร์มที่ใช้งานยาก อาจทำให้ผู้ใช้งานมองว่าธุรกิจขาดความใส่ใจในรายละเอียดหรือไม่เน้นการมอบประสบการณ์ที่ดี ซึ่งอาจลดความไว้วางใจของลูกค้าและทำให้เกิดผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือในระยะยาว

การปรับปรุง Lead Forms ให้กระชับ ชัดเจน และใช้งานง่าย จะช่วยลดปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น พร้อมทั้งเพิ่มโอกาสในการเปลี่ยนผู้ใช้งานให้กลายเป็นลูกค้าที่แท้จริง สร้างความพึงพอใจให้ผู้ใช้งาน และสนับสนุนให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างยั่งยืน

วิธีปรับปรุง Lead Forms เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ

การปรับปรุงแบบฟอร์มสามารถทำได้ทั้งด้วยตัวเองหรือด้วยการใช้เครื่องมือช่วย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความแม่นยำในการวัดผลให้ดียิ่งขึ้น ดังนี้:

1. การปรับปรุงด้วยตัวเอง (Manual Optimization):

การปรับปรุงด้วยตัวเอง สามารถเริ่มต้นด้วยวิธีง่ายๆ และไม่ต้องใช้เครื่องมือเพิ่มเติม ดังนี้:

1.1 ลดจำนวนช่องกรอกข้อมูล

  • พิจารณาว่าช่องใดที่จำเป็นจริงๆ และตัดช่องที่ไม่สำคัญออก
  • ใช้ฟอร์มสั้นๆ เพื่อดึงดูดผู้ใช้งาน

1.2 ปรับปรุงคำอธิบายและคำแนะนำ

  • เขียนคำอธิบายที่ชัดเจน กระชับ และเข้าใจง่าย
  • เพิ่มตัวอย่าง (Example) เพื่อช่วยผู้ใช้งานกรอกข้อมูลได้ถูกต้อง

1.3 จัดวางฟอร์มให้น่าสนใจ

  • ใช้โครงสร้างฟอร์มที่เป็นระเบียบ เช่น แบ่งข้อมูลเป็นกลุ่มๆ
  • ใช้สีและปุ่มที่มองเห็นชัดเจน พร้อมข้อความที่เชิญชวน เช่น “ส่งข้อมูล” หรือ “รับข้อเสนอพิเศษ”

1.4 เพิ่มความสะดวกในการใช้งาน

  • ใช้เมนูแบบเลื่อนลง (Dropdown) หรือปุ่มตัวเลือก (Radio Buttons) แทนการกรอกข้อมูลด้วยตัวเองในบางช่อง
  • รองรับการใช้งานบนอุปกรณ์มือถือ (Mobile-Friendly)

1.5 ให้ฟีดแบ็กแบบทันที (Instant Feedback)

  • แจ้งเตือนผู้ใช้งานเมื่อกรอกข้อมูลผิด เช่น “กรุณากรอกอีเมลให้ถูกต้อง”
  • เพิ่มข้อความยืนยันเมื่อส่งฟอร์มสำเร็จ

2.การปรับปรุงด้วยการใช้เครื่องมือช่วย (Using Tools):

การใช้เครื่องมือที่ทันสมัยจะสามารถช่วยวิเคราะห์และปรับปรุงฟอร์มได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเครื่องมือ สามารถประกอบได้ดังนี้

2.1 วิเคราะห์ฟอร์มด้วย Form Analytics Tools

เลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสม เช่น VWO เพื่อช่วยวิเคราะห์และปรับปรุงประสิทธิภาพของ Lead Forms ตัวอย่างการใช้งานเครื่องมือมีดังนี้:

  • วิเคราะห์เวลาในการกรอกข้อมูล: ตรวจสอบเวลาที่ผู้ใช้งานใช้ในแต่ละช่อง เพื่อระบุช่องที่อาจใช้เวลานานเกินไปและทำให้เกิดความไม่สะดวก
  • ตรวจสอบจุดที่กรอกข้อมูลซ้ำ: วิเคราะห์ฟิลด์ที่มีการกรอกข้อมูลซ้ำบ่อยๆ เพื่อหาสาเหตุและปรับปรุงคำอธิบายให้ชัดเจนขึ้น
  • วิเคราะห์จุดที่ผู้ใช้งานละทิ้งฟอร์ม (Drop-off Points): ระบุฟิลด์ที่ทำให้ผู้ใช้งานละทิ้งฟอร์มโดยไม่ส่งข้อมูล และปรับเปลี่ยนหรือย้ายฟิลด์เหล่านั้น
  • Heatmap Analysis: ใช้ Heatmap เพื่อตรวจสอบว่าผู้ใช้งานคลิกหรือให้ความสนใจส่วนใดของฟอร์มมากที่สุด และวิเคราะห์จุดที่อาจทำให้เกิดการ Drop-off

2.3 ติดตั้ง Conversion Tracking

  • ใช้ Google Analytics เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้ใช้งาน เช่น จำนวนการคลิกและอัตราการส่งฟอร์ม

สรุปและแนะนำการปรับ Lead forms

สรุปปัญหาที่พบบ่อยคือ

  1. ฟอร์มที่ยาว ทำให้ผู้ใช้งานรู้สึกเบื่อหน่าย
  2. คำถามที่ไม่ชัดเจน ทำให้ผู้ใช้งานเกิดความสับสน
  3. การไม่มีการตอบรับที่ชัดเจน ส่งผลให้ผู้ใช้งานละทิ้งฟอร์ม

ฟอร์มที่ไม่เหมาะสมอาจทำให้เกิดการลดลงของ Conversion Rate สูญเสียโอกาสในการได้ข้อมูลสำคัญของลูกค้า และส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของธุรกิจ

ดังนั้น ฟอร์มที่ดีไม่ใช่แค่ช่องทางให้ข้อมูล แต่ควรช่วยให้ลูกค้ารู้สึกสะดวกและมั่นใจในการใช้งาน การปรับฟอร์มให้เหมาะสมจะช่วยเพิ่มโอกาสในการแปลงผู้ใช้งานให้เป็นลูกค้า (Leads to Conversions) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ.


📋 แบบฟอร์มด้านล่าง หรือ

📞โทร. 02-096-6362 กด 2 เพื่อติดต่อฝ่ายขาย

📱 Line: @predictive (มี @ ด้วยนะคะ)

✉️ Email : marketing@predictive.co.th

How we can help

Fill out the form below to discuss your needs or learn more about our services

"*" indicates required fields

Name*
Please let us know what's on your mind. Have a question for us? Ask away.