Research

กรณีศึกษา แบรนด์ใช้ A/B testing อย่างไร ให้ Conversion Rate เพิ่มเป็นเท่าตัว

โดยทั่วไปนั้น Conversion Rate จะอยู่ที่ 2-10% แต่คุณรู้ไหมว่ามีแบรนด์ที่ทำให้ตัวเลขตรงนี้เพิ่มขึ้นมาเป็นเท่าตัวได้ จากการปรับเปลี่ยนองค์ประกอบบางอย่างบนเว็บไซต์เพียงเล็กน้อย ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์ขนาดเล็กหรือใหญ่ก็ตาม อาจจะเคยเจอปัญหาที่ว่าเราวางกลยุทธ์การสื่อสารไว้ดีมากแล้ว แต่ “Conversion Rate ยังคงต่ำกว่าที่ตั้งเป้าไว้” ในขณะที่ก็ไม่ได้มีปัญหากับยอดผู้ใช้งานหรือลูกค้าเลย แล้วเราจะรู้ได้อย่างไร ว่าควรจะต้องเปลี่ยนองค์ประกอบไหนในเว็บไซต์ของเรา เพื่อให้ผู้ใช้งานหรือลูกค้าให้การตอบรับที่ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการลงทะเบียน หรือกดซื้อสินค้าต่างๆที่จะนำมาสู้ Conversion Rate ที่สูงขึ้น ในความเป็นจริงแล้ว ไม่มีดีไซน์ที่ตายตัวสำหรับการทำเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชั่น ดีไซน์รูปแบบที่ได้ผลกับธุรกิจหนึ่ง อาจจะใช้ไม่ได้เลยสำหรับอีกธุรกิจหนึ่ง ถึงแม้ว่าทั้งสองธุรกิจนั้นจะอยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกันก็ตาม และการหาดีไซน์ที่เหมาะสมนั้นอาจจะฟังดูเป็นไปได้ยาก เพราะเราต้องใช้สมมุติฐานหรือความสร้างสรรค์ในการทำงาน เราอยากให้ทุกคนมาดูกันว่าธุรกิจต่างๆ นำสมมุติฐานมาทำ A/B Testing อย่างไรบ้าง เผื่อว่าคุณจะมีไอเดียในการทำ A/B Testing ที่ชัดเจนยิ่งขึ้น การเลือกใช้ปุ่ม “ลงทะเบียน” ที่แตกต่างกัน ช่วยเพิ่ม Conversion Rate ได้กว่า 141.31% เป็น Use case ที่ใกล้ตัวเรา เพราะเป็นเคสที่เกิดในไทย การเปลี่ยนปุ่มแค่เพียงปุ่มเดียว ทำไมถึงนำพาไปสู่ Conversion rate …

กรณีศึกษา แบรนด์ใช้ A/B testing อย่างไร ให้ Conversion Rate เพิ่มเป็นเท่าตัว Read More »

ถ่ายรูปเพื่อนลงเฟส ผิด PDPA มั้ย

ถ่ายรูปเพื่อนลง Social Media ผิด PDPA ไหม ?

การถ่ายรูปและโพสต์ลงสื่อ Social Media ต่างๆ เช่น Facebook และ Instagram เป็นสิ่งที่เราทำกันเป็นประจำทุกวัน โดยที่รูปถ่ายนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นรูปเซลฟี่ (Selfie), รูปสถานที่, รูปอาหาร, รูปกิจกรรม และอื่นๆ แต่การโพสต์รูปลง Social Media ในปัจจุบัน เราจำเป็นต้องระมัดระวังกับความเป็นส่วนตัวและความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ เพราะต้องคำนึงถึงกฎหมาย PDPA และกฎหมายที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ในฐานะผู้โพสต์ โดยเฉพาะในกรณีที่ภาพนั้นมีข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลอื่นอยู่ เช่น ถ่ายรูปเพื่อนหรือคนรู้จักแล้วโพสต์ลง Social Media โดยไม่ได้รับอนุญาตก่อน ในบทความนี้ เราจะมาไขข้อสงสัยที่ว่าการถ่ายรูปเพื่อนลง Social Media มีโทษตาม PDPA หรือไม่ สามารถเข้าข่ายในกรณีไหนได้บ้าง และ เราควรมีวิธีปฏิบัติอย่างไรในกรณีที่รูปที่กำลังจะโพสต์นั้นสามารถเข้าข่ายผิด PDPA ถ้าพร้อมแล้ว เลื่อนลงไปอ่านกันได้เลยครับ ถ่ายรูปเพื่อนลง Social Media จะสามารถผิด PDPA ได้อย่างไรบ้าง การถ่ายรูปเพื่อนและโพสต์ลง Social Media นั้น ต้องเข้าใจก่อนว่า …

ถ่ายรูปเพื่อนลง Social Media ผิด PDPA ไหม ? Read More »

วิธีหนี hacker

Cyber Attack ภัยคุกคามจากโลกไซเบอร์

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าในยุคดิจิทัล ข้อมูล คือ ทรัพยากรที่มีค่าที่สุด สำหรับเหล่าผู้ประกอบการ ไม่ว่าจะรายเล็ก หรือรายใหญ่ก็ตาม ในการทำธุรกิจผ่านทั้งช่องทาง Online และ ช่องทาง Offline ล้วนแล้วแต่ต้องใช้ข้อมูลส่วนบุคคลทั้งสิ้น  ทำให้การปกป้องข้อมูลจากการเข้าถึงและใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตเริ่มมีบทบาทสำคัญมากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในปัจจุบัน  จากรายงานของสำนักงานคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) พบว่า สถิติภัยคุกคามทางไซเบอร์ในประเทศไทย เกิดขึ้นมากถึง 835 เหตุการณ์ในปี 2565 ที่ผ่านมานี้  โดย 34.4% เป็นการโจมตีเว็บไซต์เพื่อปรับเปลี่ยนข้อมูลบนหน้าเว็บไซต์ (Website Defacement) โดยการโจมตีลักษณะนี้มีความต้องการที่จะทำลายความน่าเชื่อถือขององค์กรซึ่งเป็นเจ้าของเว็บไซต์ และความน่าเชื่อถือตรงนี้เอง คือ สิ่งที่กฎหมายอย่าง PDPA สามารถเข้ามาช่วยทุกองค์กรในอุตสาหกรรมได้ ความท้าทายในเรื่องของ Cyber Security ที่ทำให้เหล่าผู้ประกอบการต่างต้องปรับตัวเพื่อก้าวตามยุค Digital Transformation ให้ทัน อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังคงมีการถกเถียงกันในเรื่องของมาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่ยังไม่เพียงพอต่อการรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ ดังนั้น หากบริษัทอยากก้าวขึ้นมาเป็นอับดับหนึ่งในวงการธุรกิจ ด้วยความสามารถในการใช้ประโยชน์สูงสุดจากข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่ในมือ รวมไปถึงความน่าเชื่อถือในการประกอบธุรกิจ  บริษัทก็จำเป็นจะต้องรู้ให้เท่าทันถึงภัยคุกคามและวิธีป้องกัน ซึ่งก็คือ มาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยนั่นเอง บทบาทของ PDPA เกี่ยวข้องอย่างไรกับ Cyber …

Cyber Attack ภัยคุกคามจากโลกไซเบอร์ Read More »

ChatGPT กับ GPT-3 ต่างกันยังไง

ผลักดันองค์กรไปข้างหน้าอย่างถูกวิธีด้วย ChatGPT และ GPT-3

ในบทความที่แล้ว เรามีการพูดถึง “ChatGPT กับสิ่งที่หัวหน้าทีมขายควรรู้และควรระวัง” กันไปแล้ว ซึ่งเราเจาะประเด็นไปในส่วนของวิธีการใช้ ChatGPT ให้ประโยชน์สูงสุด รวมไปถึงข้อจำกัดในการใช้งาน ในกรณีที่จะนำ Output หรือผลลัพท์ที่ได้ไปใช้ต่อ แต่ในบทความนี้เราจะมาเจาะลึกลงไปถึงความแตกต่างระหว่าง ChatGPT กับ GPT-3 รวมไปถึงประโยชน์และข้อจำกัดในการใช้งานของทั้ง 2 โมเดลนี้ นอกจากนี้เราจะมาดูตัวอย่างการใช้ ChatGPT และ GPT-3 อย่างมีประสิทธิภาพในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น การตลาด การศึกษา ไปจนถึงการดูแลสุขภาพ หากทุกคนพร้อมแล้ว เลื่อนลงไปอ่านพร้อมๆกับผมได้เลยครับ GPT-3 คืออะไร GPT-3 หรือ Generative Pre-trained Transformer รุ่นที่ 3 เป็นโมเดล Machine Learning ที่อาศัยโครงสร้างลำดับชั้นของอัลกอริธึมที่เรียกว่าโครงข่ายระบบประสาทเทียม (Neural Network) ซึ่งการออกแบบโครงข่ายระบบนี้ ได้รับแรงบันดาลใจจากโครงข่ายประสาทของสมองมนุษย์ที่มีความสามารถเหนือกว่าโมเดล Machine Learning ทั่วไป GPT-3 ได้รับการฝึกฝนโดยใช้ข้อมูลอินเทอร์เน็ตเพื่อสร้างข้อความประเภทใดก็ได้ โดยต้องใช้ Input (ข้อมูลที่ถูกป้อนเข้าไป) …

ผลักดันองค์กรไปข้างหน้าอย่างถูกวิธีด้วย ChatGPT และ GPT-3 Read More »

Leadership Vision for 2023: Chief Marketing Officer แปล

วิสัยทัศน์ของผู้นำทางการตลาดในปี 2023 (Leadership Vision for 2023: Chief Marketing Officer)

ในปี 2023 นี้ Chief Marketing Officer (CMO) หรือ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาดต่างมีความจำเป็นที่จะต้องผลักดันให้ธุรกิจเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพในสภาวะแวดล้อมที่ผันผวน ด้วยผลพวงจากพฤติกรรมลูกค้าที่ไม่สามารถคาดเดาได้ กลยุทธ์ทางการตลาดต้องถูกปรับไปตามความต้องการที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา บวกกับการทำงานแบบข้ามสายงาน (Cross-Functional) รวมไปถึงการวัดมูลค่าแบรนด์ด้วย Metric เก่าๆ อย่างชื่อเสียงของแบรนด์ รูปลักษณ์หรือราคา ได้สร้างผลกระทบอันหนักหน่วงจนทำให้องค์กรเกิดความตึงเครียดเป็นอย่างมาก  ความต้องการ (Demand) และ พฤติกรรมการซื้อของลูกค้ายังคงผันผวนอย่างต่อเนื่องแบบคาดเดาไม่ได้ ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain), อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น และปัญหาความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitical) ที่ยังไม่สิ้นสุด  ในขณะเดียวกันสิ่งสำคัญทางการตลาดเชิงกลยุทธ์ เช่น นวัตกรรม (Innovation), ประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience) และ ธุรกรรมซื้อขายบนโลกดิจิทัล (Digital Commerce) ได้ก้าวข้ามขอบเขตการดำเนินงานในรูปแบบเดิม (Functional) ไปสู่การทำงานแบบ Cross-Functional ซึ่งส่งผลต่อภาษีที่ต้องเสียมากขึ้น อีกทั้งยังทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานของทีมการตลาดต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้  นอกจากนี้ยังมีแรงกดดันจาก Metric ใหม่ๆในการวัดมูลค่าแบรนด์ (Brand Equity) เช่น การผลิตสินค้าและบริการจากนวัตกรรมใหม่ๆ (Disruptive), …

วิสัยทัศน์ของผู้นำทางการตลาดในปี 2023 (Leadership Vision for 2023: Chief Marketing Officer) Read More »

อ้างว่าไม่รู้กฎหมาย

เรื่องที่น่ากลัวที่สุดในการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลคือ เมื่อทำผิดพลาดแล้ว “อ้างว่าไม่รู้กฎหมาย”

ตามบัญญัติที่อยู่ในประมวลกฎหมายอาญา ที่ได้กล่าวไว้ว่า “บุคคลจะแก้ตัวว่าไม่รู้กฎหมายเพื่อให้พ้นจากความรับผิดในทางอาญาไม่ได้…” พูดกันแบบเข้าใจง่ายๆก็คือ “ใครก็ตามจะไม่สามารถอ้างว่าตัวเองไม่รู้กฎหมาย เพื่อหลีกหนีความผิดได้” ดังนั้น จึงเกิดเป็นหลักความไม่รู้กฎหมายไม่เป็นข้อแก้ตัว มีที่มาจากภาษาละตินที่ว่า ignorantia juris non excusat และในทุกวันนี้เราน่าจะได้ยินเรื่องของ PDPA กันอยู่บ่อยๆ แต่หลายๆคนก็อาจจะยังสงสัยว่าข้อมูลส่วนบุคคลนั้นประกอบไปด้วยอะไรบ้าง  ข้อมูลส่วนบุคคล มีอะไรบ้าง ตาม PDPA  ข้อมูลส่วนบุคคล หมายถึง ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลซึ่งทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม แต่ไม่รวมถึงข้อมูลของผู้ถึงแก่กรรมโดยเฉพาะ  และนี่คือตัวอย่างของข้อมูลที่เป็นข้อมูลส่วนบุคคล กฎหมายได้ให้คำนิยามข้อมูลส่วนบุคคลไว้ว่า “ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลซึ่งทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม แต่ไม่รวมถึงข้อมูลของผู้ถึงแก่กรรมโดยเฉพาะ”  ชื่อ นามสกุล ชื่อเล่น เลขประจำตัวประชาชน, เลขหนังสือเดินทาง, เลขบัตรประกันสังคม, เลขใบอนุญาตขับขี่, เลขประจำตัวผู้เสียภาษี, เลขบัญชีธนาคาร, เลขบัตรเครดิต (การเก็บเป็นภาพสำเนาบัตรประชาชนหรือสำเนาบัตรอื่นๆที่เป็นข้อมูลส่วนบุคคล) ที่อยู่ อีเมล์ โทรศัพท์ ข้อมูลอุปกรณ์หรือเครื่องมือ เช่น IP Address, MAC Address, Cookie ID ข้อมูลทางชีวภาพ (Biometric …

เรื่องที่น่ากลัวที่สุดในการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลคือ เมื่อทำผิดพลาดแล้ว “อ้างว่าไม่รู้กฎหมาย” Read More »

Machine Learning ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงได้จริงไหม

Machine Learning ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงได้จริงไหม?

จากประสบการณ์ที่เราได้ดูแลลูกค้ามาหลายองค์กร เราได้เรียนรู้ว่าปัจจัยหลักที่ทำให้ธุรกิจดำเนินต่อได้อย่างไม่สะดุดคือ “ความพร้อมและประสิทธิภาพในการใช้งานของเครื่องมือต่างๆ” เพื่อรักษาให้เครื่องมือของเรา ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ ระบบ Software หรือเครื่องจักรที่ใช้งานอยู่นั้นคงประสิทธิภาพและมีความพร้อมที่จะให้ผลผลิต (Output) ตามที่เราต้องการอยู่เสมอนั้น จำเป็นต้องมีการซ่อมบำรุง วันนี้เราจะมาเล่าเรื่องนี้ให้ทุกคนได้เข้าใจ และสามารถนำไปปรับใช้กับธุรกิจของตัวเองได้อย่างแน่นอน ประเภทของการซ่อมบำรุง การซ่อมบำรุงนั้นมีหลักๆ 4 ประเภท ได้แก่ การบำรุงรักษาเชิงแก้ไข (Breakdown maintenance) : เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด โดยเราเข้าซ่อมก็ต่อเมื่อเครื่องจักรมีปัญหา (เสียแล้วซ่อม)เหมาะกับเครื่องจักรขนาดเล็ก ไม่ซับซ้อนมาก ใช้เวลาซ่อมไม่นาน แต่ไม่ได้รับความนิยมเท่าไหร่ เพราะดูเหมือนเราไม่ได้ดูแลรักษาเครื่องจักรเลย การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive maintenance) : เป็นการดูแลรักษาเครื่องจักรตามคำแนะนำของผู้ผลิต เช่น รถยนต์ควรมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องทุกๆระยะ 5,000-10,000 กิโลเมตร ซึ่งระยะเวลาดังกล่าวได้ประเมินมาจากค่าทางสถิติของอายุใช้งานเฉลี่ยของเครื่องจักร ซึ่งวิธีนี้ไม่สามารถยืนยันได้ว่าเครื่องจักรจะไม่ชำรุดอีกหลังจากการซ่อมบำรุง และอาจจะทำให้เกิดการสิ้นเปลือง จากการเปลี่ยนอะไหล่ที่จริงๆแล้วยังสามารถใช้งานได้อยู่ ก่อนเวลาหรือระยะเสื่อมสภาพ  การบำรุงรักษาตามสภาพ (Condition based maintenance) : เป็นการบำรุงรักษาโดยเราคาดการณ์จากการเฝ้าสังเกตุการทำงานของเครื่องจักร จากประสาทสัมผัสของทีมงาน หรือเครื่องมือพิเศษที่เรานำมาติดตั้ง เช่น ความร้อน การสั่น เสียง …

Machine Learning ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงได้จริงไหม? Read More »

BI Tools

Power BI vs. Tableau vs. Looker – เครื่องมือ BI ไหนเหมาะสำหรับธุรกิจคุณ ?

Business Intelligence (BI) เป็นศัพท์ที่รวมคำว่า ‘เทคโนโลยี’ และ ‘กระบวนการที่ช่วยวิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียลไทม์’ เข้าด้วยกัน BI ใช้เครื่องมือและแพลตฟอร์มที่หลากหลายเพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถสรุปผลที่จะตามมาจากข้อมูลดิบ (Raw Data) และช่วยให้การตัดสินใจทางธุรกิจดียิ่งขึ้นในท้ายที่สุด การเลือกเครื่องมือ BI ที่เหมาะกับความต้องการทางธุรกิจนั้น เราจำเป็นต้องพิจารณาคุณสมบัติและความสามารถในการใช้งานอย่างถี่ถ้วน ซึ่งในบทความนี้เราจะมาดูว่าเครื่องมือชั้นแนวหน้าทั้ง 3 อย่าง Power BI, Tableau และ Looker มีคุณสมบัติที่เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร และเครื่องมือ BI ไหนที่เหมาะกับองค์กรของเรามากที่สุด Power BI คืออะไร Power BI เป็นเครื่องมือ BI ของ Microsoft ซึ่งมีอินเทอร์เฟซที่เรียบง่ายพร้อม Visualization แบบ Interactive ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถสร้างรายงานและแดชบอร์ดของตนเองได้ Power BI แตกต่างจากเครื่องมืออื่นตรงที่ว่ามันสามารถจัดการพร้อมทั้งประมวลผลข้อมูลจำนวนมากได้แบบเรียลไทม์ และยังสามารถสร้างรายงานและแดชบอร์ดเฉพาะสำหรับองค์กรและเก็บไว้ในเซิร์ฟเวอร์ของเราเองได้ด้วย สิ่งสำคัญคือเครื่องมือตัวนี้ถูกสร้างมาเพื่อผู้ที่ใช้งาน Microsoft อยู่แล้ว Tableau คืออะไร Tableau เป็นเครื่องมือ BI …

Power BI vs. Tableau vs. Looker – เครื่องมือ BI ไหนเหมาะสำหรับธุรกิจคุณ ? Read More »