SEO Content เช็คอย่างไรว่าคอนเทนต์บนเว็บไซต์ได้คุณภาพตาม SEO ดีพอ

คนทำ SEO หลายคนคงปฏิเสธไม่ได้ว่า SEO Content และ คอนเทนต์มากมายที่ปรากฏอยู่บน Search Engine เป็นหนึ่งองค์ประกอบสำคัญที่ดึงดูดผู้ใช้บนโลกออนไลน์มายังเว็บไซต์ แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเนื้อหาที่ผลิตขึ้นนั้นมีความเป็น SEO ดีพอที่จะทำให้เกิด Organic Traffic ขึ้นจริง มาลองดูกันดีกว่าว่าในการเช็คคุณภาพของคอนเทนต์นั้นสามารถมองในแง่มุมใดได้บ้าง

คุณภาพของคอนเทนต์ดีหรือไม่ ใครเป็นคนตัดสิน

แน่นอนว่าการให้ค่า SEO Content ที่ดีของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ซึ่งในโลกแห่ง Search Engine ที่กว้างใหญ่นี้ คนทำหน้าที่คัดเลือกคอนเทนต์มากมายมาสู่สายตาผู้ใช้ก็คือ Google ซึ่งคอยจัดอับดับแต่ละเว็บไซต์จากคีย์เวิร์ดเดียวกันขึ้นมาแสดงบนผลบนหน้าค้นหา การปั้นเว็บให้ขึ้นมาอยู่ในหน้าแรกจึงเป็นเป้าหมายหลักๆ ของคนทำ SEO แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น สิ่งที่ Google ให้ความสำคัญเกี่ยวกับคอนเทนต์คือส่วนเนื้อหาที่ควรจะตรงโจทย์และตอบรับกับสิ่งที่ผู้ใช้ต้องการรู้ ผ่านการทำงานของอัลกอริทึมอย่าง Google Panda ที่คอยฟิลเตอร์คอนเทนต์คุณภาพดีขึ้นมาหน้าแรกและดันคอนเทนต์คุณภาพแย่ไว้ไกลๆ ตา  

ดังนั้นแล้วเมื่อทั้ง Google และ คนทำ SEO ต่างมีเป้าหมายเดียวกันคือเพื่อให้ผู้คนค้นหาและเจอคอนเทนต์ที่ตอบโจทย์ หน้าที่ของคนทำคอนเทนต์จึงไม่ใช่การเขียนเพื่อเอาใจ Google แต่เป็นการผลิตคอนเทนต์ที่มีเนื้อหาตรงกับสิ่งที่ผู้ใช้สนใจ และ ตอบคำถามอย่างครบถ้วนด้วยข้อมูลที่น่าเชื่อถือ เพื่อให้อัลกอริทึมเลือกคอนเทนต์ของเราไปนำเสนอสู่สายตาผู้คนและเพิ่ม Organic Traffic ให้กับเว็บไซต์โดยไม่ต้องเสียค่าโฆษณาให้ลำบากงบประมาณ

อ่านเพิ่มเติม – Spambrain AI ตัวเก่งที่ Google ใช้สู้กับสแปมและคัดกรองเว็บไซต์คุณภาพ

รู้ได้อย่างไรว่าคอนเทนต์มีคุณภาพตาม SEO 

สิ่งหนึ่งที่คนทำ SEO จะมองข้ามไม่ได้เลยคือการวัดผลประสิทธิภาพของคอนเทนต์บนเว็บไซต์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สามารถพัฒนาและต่อยอดเนื้อหาต่อไปได้อย่างตรงจุด เพราะอย่างที่เรารู้แล้วว่าการจัดอันดับเว็บไซต์โดย Google เป็นเพียงการทำงานของอัลกอริทึมเพื่อหยิบยื่นคอนเทนต์ที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้มากที่สุดมานำเสนอเท่านั้น โดยวิธีการวัดคุณภาพของแต่ละเว็บไซต์นั้น Google จะโฟกัสที่ผลตอบรับจากผู้ใช้เป็นหลัก ซึ่งหากเราจะประเมินว่าคอนเทนต์นั้นๆ ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายแล้วหรือยัง ก็สามารถมองได้หลายมุมดังนี้

คอนเทนต์ที่ดีในมุม Technical SEO

Technical SEO หรือการทำ SEO เชิงเทคนิคเพื่อให้โครงสร้างพื้นฐานโดยรวมของเว็บไซต์อยู่ในสถานะที่Google Bot สามารถเข้ามาindexเนื้อหาและเข้าใจได้ว่าเว็บไซต์ของเรากำลังพูดถึงอะไร การประเมินคอนเทนต์ว่าประสบความสำเร็จแล้วหรือยังในมุมมอง Technical SEO จึงประกอบไปด้วย

  • Keyword Rankings ที่บอกว่าคอนเทนต์บนเว็บไปปรากฏอยู่ส่วนไหนบนหน้าค้นหาของ Google (SERPS) ผ่านอันดับของคีย์เวิร์ด
  • Traffic ที่บอกจำนวนคนเข้ามายังเว็บไซต์จากคอนเทนต์นั้นๆ 
  • Click-Through Rate (CTR) ที่บอกอัตราของผู้คนที่คลิกเข้ามาอ่านคอนเทนต์เมื่อเห็นผ่านหน้าค้นหา Google
  • Backlinks จำนวนเว็บไซต์อื่นๆ ที่ใส่ลิงก์อ้างอิงกลับมายังหน้าเว็บคอนเทนต์

คอนเทนต์ที่ดีในมุมการมีส่วนร่วมบนเว็บไซต์

การจะรู้ได้ว่าแพลนทำ SEO ที่ผ่านมาและเนื้อหาคอนเทนต์ที่พับลิชไปนั้นทำงานร่วมกันได้อย่างประสิทธิภาพมากน้อยแค่ไหนต้องมองถึงการมีส่วนร่วมบนเว็บไซต์ซึ่งประกอบไปด้วย

  • Conversion Rate เป็นตัวช่วยประมวลว่าผู้คนพบเจอคอนเทนต์ของเราผ่านช่องทางไหน (Direct/ Search/ Referral)
  • New Visitors จำนวนผู้ใช้หน้าใหม่หรือคนที่เพิ่งเข้าเว็บไซต์เราเป็นครั้งแรกผ่านคอนเทนต์นั้นๆ 
  • Bounce Rate อัตราการตีกลับ ที่ระบุว่าผู้คนเข้ามาอ่านคอนเทนต์อย่างจริงจังหรือแค่เข้ามาแว้บๆ แล้วเด้งออกจากเว็บไซต์ทันที
  • Value – Conversion ส่วนช่วยบอกว่าผู้ใช้ให้ค่าตัวคอนเทนต์มากพอที่จะเกิด Conversion หรือไม่

คอนเทนต์ที่ดีในมุม Social Media

การเรียนรู้ว่าผู้คนโต้ตอบกับคอนเทนต์ของเราผ่านสื่อโซเชียลต่างๆ อย่างไรช่วยให้เราเข้าใจเนื้อหาคอนเทนต์นั้นตรงกับความต้องการแล้วหรือยัง ประกอบไปด้วย

  • Reach ตัวบอกว่าคอนเทนต์ของเราเข้าถึงผู้คนส่วนใหญ่ได้มากน้อยเพียงใด
  • Engagement การมีส่วนร่วมของผู้คนต่อคอนเทนต์นั้นๆ เช่นว่ามีการแชร์ต่อไปในวงกว้างขึ้นหรือไม่ 
  • Acquisition ประโยชน์ที่ได้รับตามมาเมื่อเผยแพร่คอนเทนต์ออนไลน์ ไม่ว่าจะ เกิดการคลิกกลับมาที่เว็บไซต์ ทำให้เกิด Traffic ที่เพิ่มขึ้น เกิดยอด Conversion หรือ สิ่งที่มุ่งหวังไว้

คอนเทนต์ที่ดีในมุมของการสร้างแบรนด์ (Branding)

หากเราอยากให้หน้าเว็บไซต์ของธุรกิจเป็นที่รู้จักมากขึ้น คอนเทนต์ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเพิ่มการรับรู้ในคนหมู่มากเพื่อให้รู้จักแบรนด์มากขึ้น เป็นวิธีทำการตลาดที่วัดผลได้จากประสิทธิภาพของคอนเทนต์ ประกอบไปด้วย 

  • Impression บอกถึงจำนวนครั้งที่คอนเทนต์ถูกมองเห็นและมีผู้คนคลิกเข้ามาอ่านต่อมากน้อยเพียงใด
  • Share of Voice ประสิทธิภาพของคอนเทนต์เป็นอย่างไรเมื่อเทียบกับเว็บไซต์หรือคอนเทนต์ที่ใกล้เคียงกัน
  • Brand vs Non-Brand Search Traffic เปรียบเทียบยอดการค้นหาระหว่างคอนเทนต์ที่มีแบรนด์กับไม่มีแบรนด์

คอนเทนต์ที่ดีในมุมของการสร้างยอดขาย (Revenue)

ไม่ว่าแต่ละคอนเทนต์จะมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด แต่ท้ายที่สุดทั้งนักการตลาดและคนทำ SEO ต่างก็มุ่งหวังให้คอนเทนต์นั้นสามารถสร้างยอดขายและรายได้เพิ่มได้ด้วย แม้ไม่อาจมองเห็นตัวเลขที่เกิดขึ้นตรงๆ แต่ก็สามารถประเมินได้โดยการสร้างโมเดลวัดผลใหม่ที่ผนวกแต่ละแง่มุมข้างต้นไว้พิจารณาร่วมกัน เช่น SEO Metrics โดยการเปรียบเทียบอันดับของคีย์เวิร์ดกับคำคีย์เวิร์ดที่ตั้งเป้าไว้, Lead quality ยอดลีดที่ได้จากผู้คนที่สนใจสมัครสมาชิกหรือลงทะเบียน หรือ Conversion ที่เกิดขึ้นในหน้า Landing Page และ Page value เป็นต้น

เราจะเห็นได้ว่าคีย์เวิร์ดที่เลือกใช้มีส่วนสำคัญที่ช่วยผลิตเนื้อหาคอนเทนต์ที่ตอบคำถามต่อคำค้นหาของผู้ใช้และทำให้ Google สามารถอ่านได้ว่าคอนเทนต์ของเรานั้นสอดคล้องกับความต้องการผู้คนอย่างไร  การทำ Keyword Research ก่อนลงมือเขียนคอนเทนต์จึงเปรียบเสมือนการลับขวานให้คมก่อนนำมาใช้ผ่าฟืน แต่ถึงอย่างนั้นในขั้นตอนเขียนจริงก็ต้องไม่ลืมความเป็นธรรมชาติและคุณภาพที่ถูกต้องตามมาตรฐาน Google ด้วย

ที่มาข้อมูลจาก searchenginejournal