3 ขั้นตอนการยกระดับองค์กรสู่ดิจิทัล ให้พุ่งทะยานหลังวิกฤติ

7 ใน 10 ของผู้บริหาร มีการเร่งทำให้ธุรกิจตัวเองเป็นดิจิทัล เพื่อให้ธุรกิจไปต่อได้หลัง Covid-19 ซึ่งจะเห็นได้ว่า มีการเพิ่มงบประมาณในฝั่งของ IT และ เทคโนโลยี สูงขึ้นถึง 6.9% ในปี 2021 

แต่หลายๆ ธุรกิจมักติดกับดักโดย มุ่งเน้นแต่การนำดิจิทัลมาใช้ในธุรกิจจนลืมดูความพร้อมของ resource ภายในองค์กรว่าสามารถรองรับการเป็นดิจิทัลได้แล้วหรือยัง ดังนั้นเพื่อให้ไปสู่เป้าหมายของการทำให้ธุรกิจเป็นดิจิทัลได้สำเร็จ ผู้บริหารต้องวางการพัฒนา Resource ภายในให้สอดคล้องกับเป้าหมายด้วยค่ะ 

ดังนั้นก่อนที่จะเริ่มเปลี่ยนธุรกิจให้เป็นดิจิทัล ควรมี 3 ขั้นตอนเพื่อเป็นการเช็คว่าองค์กรของคุณมีความพร้อมแล้วหรือยัง โดย

  1. ประเมินความสามารถขององค์กรในปัจจุบัน
  2. วางเป้าหมายที่เหมาะสมกับองค์กร
  3. ระบุ Resource หรือความสามารถที่ต้องมี เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย

3 ขั้นตอนการยกระดับองค์กรสู่ดิจิทัล ให้พุ่งทะยานหลังวิกฤติ

ประเมินความสามารถขององค์กรในปัจจุบัน

รูปแบบความสามารถของธุรกิจที่มีการทำ Digital Transformation 9 รูปแบบ

เป้าหมายของการทำธุรกิจให้เป็นดิจิทัลนั้นมีหลากหลายรูปแบบ ซึ่งแต่ละรูปแบบนั้นก็ต้องการความพร้อมขององค์กรในระดับที่แตกต่างกัน โดยทาง Gartner ได้แบ่งรูปแบบความสามารถของธุรกิจดิจิทัลเป็น 9 รูปแบบ ดังนี้

  • Digital Business Strategy and Execution : เชื่อมโยงกลยุทธ์ด้านดิจิทัลและจัดการ resource อย่างเหมาะสมเพื่อให้กลยุทธ์ประสบความสำเร็จ 
  • Customer Experience Management : สร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าในทุกๆ Touchpoint ผ่านช่องทาง Online และ Offline 
  • Digital Product/Service Design and Digital Revenue : สร้างสินค้า/บริการ ในรูปแบบดิจิทัล เพื่อให้เกิดช่องทางการหารายได้ใหม่ๆ ให้องค์กร 
  • Digital Channels and Ecosystem : เชื่อมโยง ecosystem ที่เกี่ยวข้องเพื่อขยายช่องทางด้านดิจิทัลขององค์กร
  • Business Model Agility : ปรับปรุง Business Model ให้สามารถสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันได้
  • Innovation Culture : เฟ้นหานวัตกรรมใหม่ๆ ในองค์กรเพื่อสร้างความแตกต่างจากคู่แข่ง 
  • Digital Leadership : ทำลายกรอบการทำงานแบบ Silos เพื่อดึงความสามารถสูงสุดขององค์กร
  • Digital Workplace : วิธีการทำงานรูปแบบใหม่ ที่ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพิ่ม Engagement ของพนักงาน และความรวดเร็วในการปรับเปลี่ยนการทำงาน (Agility) 
  • Infonomics : ความสามารถในการสามารถนำข้อมูลที่มีไปวิเคราะห์เพื่อหารายได้ (Data Monetization)

นอกจากนี้ทาง Gartner ยังได้แบ่งระดับความดิจิทัลของธุรกิจออกเป็น 5 ระดับเพื่อเป็นเช็คลิสต์ให้สำรวจระดับของดิจิทัลขององค์กรไว้เบื้องต้น ดังนี้

ระดับชื่อคำอธิบาย
เลเวล 1Digital Embryonicองค์กรไม่มีการใช้ดิจิทัลในองค์กรเลย 
เลเวล 2Digital Beginner องค์กรมีการใช้ดิจิทัลบ้างเล็กน้อย อย่างไรก็ตามการดำเนินการนั้นยังไม่สอดคล้องกันภายในองค์กร และต้องการการพัฒนาเพื่อให้เกิด Digital Transformation 
เลเวล 3Digital Intermediate องค์กรมีการใช้ Digital Transformation ในหลายภาพส่วนขององค์กร แต่ยังขาดในเรื่องของ Digital Leadership 
เลเวล 4Digital Progressive องค์กรมีการ implement การใช้ดิจิทัล และเริ่มเห็น impact ที่เกิดขึ้นบ้างแล้ว แต่ยังมีช่องว่างให้พัฒนาการทำ Digital Transformation ได้อยู่ 
เลเวล 5Digital Leader มีการทำ Digital Transformation ในทุกส่วนขององค์กร มีการใช้เทคโนโลยีเพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ และสามารถเป็น Digital Leader ในอุตสาหกรรมได้
ตารางอธิบายระดับความเป็นดิจิทัลขององค์กร

คำแนะนำในขั้นตอนแรก

  • สื่อสารเรื่องการประเมินระดับดิจิทัลขององค์กรให้ผู้บริหารรับทราบ นอกจากนี้ยังต้องสร้างความมีส่วนร่วมระหว่างผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด เพื่อให้พวกเขาเห็นภาพการนำดิจิทัลมาใช้ให้เกิดประโยชน์ และสร้าง Business case ของแต่ละเลเวลเพื่อให้เห็น Raodmap การไปสู่ Digital Transformation ในระดับต่อไปได้อย่างชัดเจน 
  • ผู้บริหารหลายๆ ท่านขาดความเข้าใจเรื่องเทคโนโลยี ทำให้ไม่สามารถปลดล็อคที่แท้จริงขององค์กร และอาจวางเป้าหมายที่เกินความสามารถ ณ ขณะนั้น จึงควรเข้าใจก่อนว่าปัจจุบันธุรกิจอยู่ในระดับใด เพื่อให้วางเป้าหมายได้สมเหตุสมผลมากยิ่งขึ้น โดยหากท่านยังไม่มั่นใจระดับความเป็น Digital ขององค์กรตัวเอง สามารถติดต่อปรึกษา Predictive ได้ 

วางเป้าหมายที่เหมาะสมกับองค์กร

เป้าหมายในการทำดิจิทัล ควรเป็นเป้าหมายที่เป็นไปได้ตามความสามารถขององค์กร โดยเริ่มจากการสร้าง Quick win หรือสิ่งที่สามารถทำให้สำเร็จและเห็นผลลัพธ์โดยง่าย เพื่อสร้าง Momentum ให้เกิดขึ้นในองค์กร โดยการวางแผนดิจิทัลในองค์กรมี 3 รูปแบบได้แก่

  • รูปแบบแรก : Digital technology enablement ในรูปแบบนี้องค์กรจะเริ่มลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่ต้องมีเพื่อการนำดิจิทัลมาใช้ในองค์กร เช่น วางระบบ Cloud computing , Customer Relationship Management ซึ่งองค์กรที่อยู่ในเลเวล 1 และ เลเวล 2 ควรเริ่มจากจุดนี้ 
  • รูปแบบที่สอง : Digital business optimization ในรูปแบบนี้จะเริ่มโฟกัสที่การเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานผ่าน Business Model เดิม ซึ่งองค์กรที่อยู่ในเลเวล 3 ควรเริ่มจากจุดนี้ 
  • รูปแบบที่สาม : Digital business transformation ใช้เทคโนโลยีเพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ซึ่งองค์กรที่อยู่ในเลเวล 4 และ เลเวล 5 ควรเริ่มจากจุดนี้ 

โดยทาง Gartner ได้ยกตัวอย่างวิธีการในการเพิ่มประสิทธิภาพของ Business Model ปัจจุบัน และวิธีการ Transform Business Model ใหม่ไว้ดังนี้ 

วิธีการในการเพิ่มประสิทธิภาพของ Business Model ปัจจุบัน

วิธีการในการเพิ่มประสิทธิภาพของ Business Model ปัจจุบัน : สามารถช่วยเพิ่มรายได้ เพิ่มกำไรจากการดำเนินงาน เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน สร้างประสบการณ์ที่ดีให้ลูกค้า และใช้สอยสินทรัพย์ที่มีให้เกิดประโยชน์สูงสุด ผ่านวิธีการดังนี้

  • เพิ่มรายได้ปัจจุบัน เช่น วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อกำหนดราคาแบบ Dynamic Pricing , เพิ่มยอดซื้อต่ออครั้ง ผ่านการ Recommend สินค้าที่ลูกค้าน่าจะชอบ
  • ลดต้นทุน เช่น การนำ IoT (Internet of Things) เป็นเซ็นเซอร์ในการปรับลดอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศในพื้นที่ 
  • ลดค่าใช้จ่ายในการขายและบริการ ผ่านการขายสินค้าและบริการผ่านช่องทางออนไลน์ 
  • เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในองค์กร ผ่านการใช้ AI และ RPA มาช่วยคนทำงานให้ดีและรวดเร็วขึ้น 
  • สร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า เช่น ใช้ช่องทางออนไลน์และ IoT เพื่อสร้างประสบการณ์ที่เชื่อมต่อกัน
  • เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการสินค้าคงคลัง โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทำนายให้ดีขึ้น และใช้ IoT เพื่อติดตามปริมาณสินค้าคงคลัง
  • เพิ่มประสิทธิภาพสินทรัพย์ที่จับต้องได้ เช่น ใช้ IoT เพื่อทำให้เกิด Uptime ในการทำงาน และประหยัดพลังงานมากที่สุด 
  • เพิ่มประสิทธิภาพการเงิน เช่น การวิเคราะห์เพื่อประเมินความเสี่ยง 
วิธีการ Transform Business Model ใหม่

วิธีการ Transform Business Model ใหม่ ตัวอย่างเช่น 

  • ขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีอยู่ในปัจจุบัน เช่น การขายข้อมูล และ Algorithms 
  • การขายแบบ Sell Metered Revenue หรือก็คือ การขายในรูปแบบที่ลูกค้าจ่ายเงินตามจำนวนที่ใช้เท่านั้น เช่น ลูกค้าใช้พื้นที่ความจำ 1000 MB ก็เสียค่าบริการสำหรับ 1000 MB

คำแนะนำในขั้นตอนที่สอง

  • เลือกเป้าหมายทางดิจิทัลที่สอดคล้องกับกลยุทธ์หลังโควิด โดยต้องตอบคำถามก่อนว่าทำไมองค์กรถึงควรเริ่มต้นเป็นดิจิทัล?​ เพื่อวางกลยุทธ์ได้ดียิ่งขึ้น
  • ตรวจสอบอีกครั้งว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้นั้นมีความเป็นไปได้กับความสามารถขององค์กรในตอนนั้น เพราะบางเป้าหมายองค์กรต้องมีพื้นฐานโครงสร้างองค์กรที่เป็น Digital มาแล้วระดับนึง

ระบุ Resource หรือความสามารถที่ต้องมี เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย

ในแต่ละระดับของการขับเคลื่อนดิจิทัล ก็มีความท้าทายที่แตกต่างกันไป หลังจากที่องค์กรระบุเป้าหมายที่ต้องการไปให้ถึงแล้ว ต้องระบุ Resource/ความสามารถ ที่องค์กรต้องวางแผนพัฒนาควบคู่ไปด้วย เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายได้จริง 

คำแนะนำในขั้นตอนที่สาม

  • สร้าง List ของความสามารถ/resource ที่องค์กรควรต้องพัฒนา เพื่อทำให้เป้าหมายเกิดขึ้นจริง 
  • ลงทุนในคน และ สินทรพย์ทางเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง เพื่อที่จะอัพระดับเลเวลขององค์กร โดยมีการจัดลำดับความสำคัญในการลงทุน เน้นในสิ่งที่เชื่อมโยงกับเป้าหมายมากที่สุด ตัวอย่างเช่น การที่มีความสามารถต่ำในความคล่องตัว (Agility) ของ Business Model ย่อมไม่สำคัญ หากเป้าหมายขององค์กรคือการเพิ่มกำไรจากการดำเนินงาน 

การทำ Digital Transformation นั้นต้องเข้าใจธุรกิจในปัจจุบัน เป้าหมายที่วางไว้ และวางแผนให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ที่องค์กรต้องการจะไปในช่วงหลัง Covid-19 ซึ่งการทำ Digital Transformation นั้นมีหลากหลายวิธี ต้องเลือกวิธีที่สอดคล้องกับธุรกิจของท่าน

ปรึกษา Predictive ให้เราช่วยวางแผนกลยุทธ์และให้คำปรึกษาการทำ Digital Transformation ตั้งแต่วันนี้เพื่อให้ท่านสามารถวางเป้าหมาย กลยุทธ์ และวัดผลได้อย่างแม่นยำ เรามีทีมงานมากประสบการณ์คอยดูแลท่านอย่างใกล้ชิดค่ะ

How we can help

Fill out the form below to discuss your needs or learn more about our services

"*" indicates required fields

Name*
Please let us know what's on your mind. Have a question for us? Ask away.