เรื่องต้องรู้หลังgoogleมีcore updates

4 เรื่องที่คนทำเว็บไซต์ต้องโฟกัส หลัง Google ปล่อย Core Updates

แน่นอนว่าเมื่อ Google ปรับ Core Updates ใหม่อันดับเว็บไซต์ก็ย่อมปรับตาม แต่ก่อนจะตกใจว่าถ้า Google อัปเดต Search Algorithms ใหม่แบบนี้แล้วจะส่งผลอย่างไรต่ออันดับเว็บไซต์ เราต้องเข้าใจก่อนว่าอัปเดตที่ว่าคืออะไร และทั้งคนทำเว็บไซต์รวมถึงเจ้าของคอนเทนต์ควรรับมือกับการปรับปรุงใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอีก 1 – 2 สัปดาห์นี้อย่างไรกันบ้าง

Google Search Algorithms คืออะไรแล้วทำไมต้องอัปเดต

Google Search Algorithms คืออะไร

Google Search Algorithms คือวิธีการที่ Google Bots ใช้เพื่อ ค้นหา จัดอันดับและแสดงผลเนื้อหาที่ตอบโจทย์ผู้ใช้มากที่สุด ซึ่งในแต่ละปี Google มีการปรับปรุง Search Algorithm ไม่น้อยกว่าหนึ่งครั้งเพื่อให้ผู้ใช้ค้นหาเจอคอนเทนต์ที่ตรงกับสิ่งที่ต้องการอ่านมากที่สุดอยู่เสมอ

การปรับปรุงที่ว่านี้ Google จะเรียกว่า “Core Updates” โดยทำหน้าที่ประเมินภาพรวมของคอนเทนต์ทั้งหมดที่มีในระบบของทุกเว็บไซต์ เป็นเหมือนการจัดอันดับคอนเทนต์ใหม่ในทุกปี ซึ่งหากเรามีคอนเทนต์ที่ได้คุณภาพตาม Webmaster Guidelines ของ Google อยู่แล้วก็คงไม่ต้องกังวลมากนัก นอกจากเว็บไซต์จะมีอันดับที่ต่ำลงกว่าเดิม ถ้าคอนเทนต์ของเรายังมีความสามารถในการแข่งขันต่ำกว่าของเจ้าอื่นอยู่
ถ้าหากยังนึกภาพไม่ออกล่ะก็ ให้ลองมองเหมือนการจัดอันดับหนังโดนใจแห่งปี แน่นอนว่าเมื่อเข้าสู่ปีใหม่ๆลิสต์หนังในดวงใจของเราก็ย่อมมีอันดับที่เปลี่ยนไปตามความชอบของเรา จาก 100 อันดับหนังที่ชอบในปี 2020 อาจจะมีแค่ 50 เรื่องที่เรายังชอบเหมือนเดิมในปี 2022 ความชอบที่ว่าเปรียบได้กับ Core Updates ของ Google นี้เองว่าเรื่องไหนจะอยู่ เรื่องไหนจะร่วงจากอันดับในใจ เพราะมีหนังเรื่องใหม่ทำคะแนนได้ดีกว่า

นี่จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่บอกว่าทำไมเราควรปรับปรุงพัฒนาคุณภาพคอนเทนต์ที่มีในเว็บไซต์อย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ตอบรับการอัปเดต Search Algorithms ของ Google

Core Updates แล้ว Ranking ร่วง ควรทำอย่างไร

Core Updates แล้ว Ranking ร่วง ทำอย่างไร

แม้อันดับเว็บไซต์ที่ตกลงไปจะทำให้เจ้าของเว็บไซต์หรือคนผลิตคอนเทนต์กุมขมับอยู่บ้าง แต่ไม่ได้แปลว่าเว็บไซต์ของเราแย่จนต้องปรับแก้เว็บอย่างยิ่งใหญ่ เพราะท้ายที่สุดสิ่งที่ Search Algorithms ของ Google ให้ความสำคัญคือตัวเนื้อหาคอนเทนต์ที่ได้คุณภาพ

ลักษณะคอนเทนต์แบบไหนที่ถูกใจ Search Algorithms

คอนเทนต์แบบไหนที่ถูกใจ Search Algorithms

สิ่งหนึ่งที่ผู้ดูแลเว็บไซต์และคนทำคอนเทนต์ต้องเข้าใจคือวิธีการอ่านเนื้อหาคอนเทนต์ของ Search Engine อย่าง Google นั้นแตกต่างจากการอ่านแบบมนุษย์อย่างแน่นอน เพราะ Search Algorithms ทำงานโดยการจับลักษณะของเนื้อหาคอนเทนต์เพื่อเปรียบเทียบกับความตรงประเด็นของเนื้อหาที่ผู้ใช้ต้องการ หรือมองหาสิ่งที่ใช้วัดว่าคอนเทนต์นั้นตอบโจทย์และตรงประเด็นกับคำค้นหามากแค่ไหน สิ่งเหล่านี้ประกอบไปด้วย

  • Meaning หาความหมายและเจตนาของคำค้นหาเพื่อแสดงผลคอนเทนต์ที่ตอบโจทย์กับจุดประสงค์ของคำค้นหานั้นๆ เพราะฉะนั้น ไม่ต้องแปลกใจว่า เวลาเราพิมพ์ผิด Google ก็ยังเลือกคอนเทนต์ที่ถูกมาให้ได้
  • Relevance หาความเชื่อมโยงระหว่างคอนเทนต์กับคำค้นหาผ่านคีย์เวิร์ดสำคัญที่ปรากฏอยู่ในหัวเรื่องหรือเนื้อหา แต่อย่าเข้าใจผิดว่าการใส่คีย์เวิร์ดเยอะๆจะช่วยในจุดนี้ เพราะ Google ให้ความสำคัญกับคุณภาพมากกว่าปริมาณโดยการอาศัยดาต้าที่มีในระบบเพื่อประเมินความเชื่อมโยงของเนื้อหานั้นๆผ่าน Machine Learning
  • Quality มีคุณภาพเนื้อหาในเว็บไซต์นั้นๆจากองค์ประกอบของ E-A-T คือการที่เนื้อหาคอนเทนต์นั้นถูกเขียนขึ้นโดยอาศัยความเชี่ยวชาญ ( Expertise ) ความเป็นเจ้าของ (Authoritativeness) รวมทั้ง ความน่าเชื่อถือ(Trustworthiness)อยู่ในตัวคอนเทนต์
  • Usability ความง่ายต่อการใช้งาน เพราะเมื่อทุกเว็บไซต์มีเนื้อหาที่ได้คุณภาพพอๆกัน Google จะเลือกแสดงผลเว็บไซต์ที่ใช้งานสะดวกกว่า เช่น อ่านง่ายสบายตา Mobile – Friendly และโหลดหน้าเว็บอย่างรวดเร็ว (ในส่วนนี้ UX/UI จะเข้ามามีส่วนร่วม)

นานแค่ไหนกว่าเว็บไซต์จะไต่อันดับสูงขึ้น

นานแค่ไหนกว่าเว็บไซต์จะไต่อันดับสูงขึ้นเมื่อแน่ใจว่าเราได้ปรับคุณภาพคอนเทนต์เว็บไซต์ให้ได้มาตรฐานเดียวกับ Webmaster Guidelines ของ Google แล้วคำถามที่ตามมาคือเมื่อไหร่กันนะกว่าเว็บไซต์ของเราจะไต่สู่อันดับที่ดีขึ้น ซึ่งโดยทั่วไปแล้วมักจะเห็นได้ชัดหลังจาก Google มี Core Updates ออกมา ถึงอย่างไรก็ตาม Google ก็มีการปรับปรุง Search Algorithms อย่างสม่ำเสมออยู่แล้ว หากเรามีการพัฒนาคอนเทนต์เดิมให้ได้มาตรฐานและสร้างคอนเทนต์ใหม่อย่างมีคุณภาพ ย่อมทำให้อันดับเว็บไซต์ของคุณขึ้นมาอยู่ในอันดับสูงขึ้นอย่างแน่นอน

ที่มาข้อมูล Google Developer

Get in touch

Let's work together!

"*" indicates required fields

Name*
Please let us know what's on your mind. Have a question for us? Ask away.