News

Predictive is certified ISO27001:2022

Another major milestone achieved! Predictive is now officially ISO 27001:2022 certified 📣

Predictive has been in the data consultancy business for over 11 years. Throughout this time, we have consistently prioritized the security of the data that the company manages as top priority. While ensuring our customers and partners can trust that Predictive consistently follows efficient and robust processes to safeguard critical data from unauthorized accesses. To …

Another major milestone achieved! Predictive is now officially ISO 27001:2022 certified 📣 Read More »

ช่วง 3 ปีที่ผ่านมา E-commerce โตช้าลงอย่างน่าตกใจ หรือว่ายุคทองของ E-commerce ได้ผ่านไปแล้ว ?

เมื่อก่อนเราอาจจะเคยได้ยินประโยคที่บอกว่า “สู้วิกฤตเศรษฐกิจด้วย Ecommerce” แต่ไม่เคยมีใครบอกเราเลยว่า “ถ้า E-Commerce เกิดวิกฤษแล้วเราจะสู้ด้วยอะไรดี” ตลาด E-commerce มีการเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงหลายปีมานี้ แต่คุณรู้ใช่ไหม ว่าช่วง 3 ปีมานี้ อัตราการเติบโตของ E-commerce ดูน่าตกใจมากเพราะเป็นตัวเลขที่แสดงให้เห็นว่า มีการเติบโตที่ชะลอตัวลงเรื่อยๆ ซึ่งไม่ได้หมายความว่าไม่มีการเติบโต แต่เป็นเพียงการเติบโตที่ช้าลง และถ้าเราลองดูกราฟดีๆ หากย้อนไปเมื่อปี 2017 เราอาจจะมองได้อีกมุมหนึ่งว่า “หรือจริงๆอัตราการเติบโตอาจจะเริ่มดรอปลงตั้งแต่ตอนนั้นแล้วก็ได้” แต่เพราะอิทธิพลของ Covid-19 ที่ทำให้ผู้คนจะเป็นต้องซื้อสินค้าต่างๆผ่านช่องทาง Online ในช่วง Lockdown ถึงเวลาแล้วหรือเปล่า ที่คุณจะต้องมาโฟกัสในสิ่งที่จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาความอิ่มตัวของตลาดนี้ ถึงแม้ว่าตัวเลขการเติบโตที่ลดลงอย่างน่าตกใจนี้จะดูเป็นความท้าทายที่ทุกคนจะต้องเจอ ไม่ว่าคุณจะเป็นนักการตลาด ผู้บริหาร เจ้าของธุรกิจ หรือแม้แต่ตัวเจ้าของเว็บไซต์ Ecommerce เองก็ตาม แต่ถ้าใครที่ไหวตัวได้ทันก่อน แล้วเริ่มหันมาโฟกัสในสิ่งที่จะเข้ามาแก้ปัญหาความอิ่มตัวของตลาด Ecommerce ได่ก่อน จะทำให้คุณได้เปรียบคู่แข่งคนอื่นๆอย่างแน่นอน เรารู้ได้อย่างไรว่า ECommerce โตช้าลง ? 1. จากยอด Download และ Session ในแอป …

ช่วง 3 ปีที่ผ่านมา E-commerce โตช้าลงอย่างน่าตกใจ หรือว่ายุคทองของ E-commerce ได้ผ่านไปแล้ว ? Read More »

การประเมินผลกระทบด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (DPIA) คืออะไร และบริษัทจำเป็นต้องทำไหม

หลายองค์กรที่มีการทำ PDPA กันไปแล้ว มักจะเกิดข้อสงสัยว่า องค์กรของตนจำเป็นต้องประเมินผลกระทบด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Impact Assessment) หรือไม่ คำถามเหล่านี้มักจะเกิดจากผู้บริหารองค์กรที่อยากรู้ว่าองค์กรของตนเองมีความเสี่ยงและผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากกฎหมาย PDPA รวมไปถึงหน้าที่และความรับผิดชอบที่ตามมาภายหลัง วันนี้เราจะพาคุณมารู้จักกับการประเมินผลกระทบด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (DPIA) กันครับ ว่าคำนิยามคืออะไร ประโยชน์ของการจัดทำ DPIA ไปจนถึงขั้นตอนในการเตรียมความพร้อมเพื่อจัดทำ DPIA สำหรับองค์กรของคุณ  DPIA คืออะไร ?   DPIA เป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้องค์กรสามารถบริหารการจัดการความเสี่ยงด้านข้อมูลส่วนบุคคล (privacy risk) ได้อย่างเป็นระบบและเป็นรูปธรรม ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่า แนวคิดในเรื่องการจัดทำ DPIA นั้นแทรกซึมอยู่ในกฎหมายต่างประเทศ มาตรฐานสากลต่าง ๆ รวมไปถึงในกฎหมายไทยเอง เช่น GDPR, ISO และ PDPA  เป็นต้น โดยมีการระบุรายละเอียดแง่คิดในการประเมินผลกระทบด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน เปรียบเทียบได้ตามตารางด้านล่างนี้ เปรียบเทียบความหมาย DPIA ตามกฎหมายและมาตรฐานสากล  GDPR ISO PDPA กระบวนการที่จะช่วยให้คุณระบุ (identify) และ …

การประเมินผลกระทบด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (DPIA) คืออะไร และบริษัทจำเป็นต้องทำไหม Read More »

5 ข้อแนะนำที่ควรรู้ก่อนใช้ ChatGPT

ในยุคปัจจุบัน ต้องยอมรับว่านาทีนี้ กระแสที่เป็นที่นิยมและฮือฮาในวงการเทคโนโลยีที่สุด ก็คงจะเป็น ChatGPT ซึ่งถือเป็น AI ในรูปแบบ Chatbot พัฒนาโดยบริษัท OpenAI โดย ChatGPT นั้นย่อมาจากคำว่า “Chat” และ “Generative Pre-training Transformer” ซึ่งถูกเขียนขึ้นเพื่อให้สามารถใช้งานและตอบโจทย์กับทุกคำถามหรือข้อสงสัยได้อย่างครอบคลุม ไม่ว่าจะเป็นการถามตอบ เล่นมุกตลก brainstorm ไอเดียต่างๆ ไปจนถึงการเขียนโค้ดหรือการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น  และด้วยเหตุนี้เอง จึงเป็นที่ประจักษ์ว่า ChatGPT ได้ก้าวเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของมนุษย์มากขึ้น จนไปถึงประเด็นที่ว่าอาจทำให้หลายๆสายงานต้องตกงานเพียงเพราะศักยภาพของ ChatGPT ที่สามารถดึงข้อมูลและประมวลผลออกมาได้อย่างมหาศาล ทำให้มาแทนที่การทำงานของมนุษย์ได้อย่างไร้ที่ติ อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ใหม่ล่าสุดนี้ ก็ยังมีข้อกังขาในอีกหลายแง่มุม โดยเฉพาะเรื่องฐานทางกฎหมายในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลและการคัดกรองผู้ใช้งานที่มีอายุต่ำกว่า 13 ปี อิตาลีสั่งระงับ ChatGPT หลังตรวจสอบความเป็นส่วนตัว จากข่าวเมื่อไม่นานมานี้ หน่วยงานกำกับดูแลด้านความเป็นส่วนตัวของอิตาลี ได้สั่งตรวจสอบการทำงานของ ChatGPT เนื่องจากวิธีการในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล โดยในแถลงการณ์นั้น หน่วยงานฯได้อ้างถึง การขาดหลักพื้นฐานทางกฎหมายในการจัดเก็บและรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งาน เพื่อพัฒนาระบบอัลกอริทึมของ ChatGPT  ดังนั้นแล้ว หน่วยงานกำกับดูแลความเป็นส่วนตัวของอิตาลีจึงสั่งระงับการใช้งาน ChatGPT …

5 ข้อแนะนำที่ควรรู้ก่อนใช้ ChatGPT Read More »

ถ่าย vlog ยังไง ไม่ให้ผิด PDPA

จะไปงาน Event แล้ววว! ถ่าย Vlog ยังไงให้ไม่ผิด PDPA

PDPA หรือ Personal Data Protection Act B.E. 2562 (2019) (พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562) เป็นกฎหมายที่ได้มีการบังคับใช้อย่างเป็นทางการเมื่อปีที่ผ่านมาและได้มีการรณรงค์เพื่อเสริมสร้างความตระหนักรู้มาตลอด 1 ปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้ อย่างไรก็ตามบทลงโทษตาม PDPA นั้นก็กำลังจะถูกบังคับใช้อย่างจริงจังในวันที่ 1 มิถุนายน 2566 นี้แล้ว เพื่อปกป้องการเก็บ ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล และกฎหมายนี้จะบังคับใช้กับทุกๆคน ไม่ว่าจะเป็นตัวบุคคล หรือนิติบุคคลก็ตาม ทุกวันนี้ Platform Video Streaming ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ผู้คนทั่วไปก็สามารถถ่ายและเผยแพร่วิดิโอสู่สาธารณะและ Go Viral ได้ไม่ยาก เราจะมาพูดถึงกรณีของบุคคล ที่ต้องมีการบันทึกภาพตามสถานที่ต่างๆโดยอาจจะถ่ายติดผู้คน อย่างเช่นในงาน Event ที่มีผู้เข้าร่วมเป็นจำนวนมาก จะมีอะไรบ้างที่ควรจะต้องระวัง และตรวจสอบให้แน่ใจบ้าง ขั้นตอนที่ต้องปฏิบัติก่อนมีการบันทึกภาพ หรือเก็บข้อมูล ก่อนอื่นเลย คุณต้องได้รับความยินยอมจากบุคคลที่จะเข้ามาอยู่ในวิดิโอของคุณ ซึ่งหมายความว่าถ้าคุณแพลนว่าจะมีการบันทึกภาพถ่ายหรือวิดิโอในงานอีเวนท์ต่างๆ คุณจำเป็นต้องแจ้งบุคคลที่จะต้องถูกบันทึกภาพก่อนเพื่อให้ได้ความยินยอมจากบุคคลนั้นๆ และพร้อมกับแจ้งวัตถุประสงค์ของการบันทึกภาพหรือวิดิโอที่มีข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลนั้นๆติดไปด้วยเช่นกัน และคุณจะต้องแน่ใจว่า “ข้อมูลส่วนบุคคล” ที่คุณเก็บมาในวิดิโอระหว่างงานอีเวนท์นั้น …

จะไปงาน Event แล้ววว! ถ่าย Vlog ยังไงให้ไม่ผิด PDPA Read More »

บทลงโทษที่จะมีผลหลังจาก PDPA ประกาศบังคับใช้

บทลงโทษที่จะมีผลหลังจาก PDPA ประกาศบังคับใช้

เป็นเวลากว่า 6 เดือนแล้วที่กฎหมาย PDPA บังคับใช้ทั้งฉบับ แต่ทว่าหลายภาคส่วนยังมีข้อกังวลถึงความพร้อมในการปฏิบัติตามทั้งเรื่องของเอกสาร กระบวนการทำงานภายใน รวมไปถึงระบบบริหารจัดการหลังบ้านต่างๆ กระทรวงดิจิทัลเองก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ จึงได้ประกาศผ่อนปรนการลงโทษต่อไปอีก 1 ปี เป็นการขยายระยะเวลา grace period เพื่อผ่อนคลายความกังวลโดยเฉพาะในภาคเอกชน โดยย้ำว่าในช่วงแรกของการบังคับใช้กฎหมายนั้น เป้าหมายคือการให้ความรู้และการตักเตือน โดยไม่พิจารณาถึงบทลงโทษ เนื่องจากไม่ต้องการสร้างภาระให้แก่ผู้ประกอบการจนเกินไป อย่างไรก็ตาม เวลาก็ล่วงเลยมาได้เกินครึ่งทางแล้ว ซึ่งในระหว่างนี้เอง สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลก็ได้ออกมาเปิดเผยสถิติการร้องเรียนหน่วยงานเอกชน สูงถึง 83 % สำหรับการฝ่าฝืน PDPA ฉะนั้น อีกไม่ถึง 6 เดือน การผ่อนปรนก็จะหมดลง  ซึ่งนั่นหมายความว่า จะมีการลงโทษตามที่กำหนดไว้ใน PDPA กันอย่างจริงจัง ที่สำคัญ ณ เวลานี้ต้องยอมรับว่า ประชาชนนั้นตื่นตัวกับกฎหมายฉบับนี้เป็นวงกว้างมากขึ้น เนื่องจากเกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคลและสิทธิความเป็นส่วนตัวของตนเอง แม้จะยังมีการเข้าใจผิดหรือสับสนอยู่บ้าง แต่ก็ทำให้สังคมตระหนักและตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยการนำมาประยุกต์ใช้จริงนั้นก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ทำให้เหล่าบริษัท/ผู้ประกอบการ มีหน้าที่สำคัญที่ต้องสื่อสารกับลูกค้า คู่ค้า พนักงาน และบุคคลภายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้ทราบถึงวิธีการปฏิบัติต่อข้อมูลส่วนบุคคลที่สอดคล้องกับกฎหมาย PDPA ด้วยความโปร่งใส่และชัดเจน …

บทลงโทษที่จะมีผลหลังจาก PDPA ประกาศบังคับใช้ Read More »

Technology-Trends-2023

14 Technology Trends เทรนด์เทคโนโลยี 2023 ที่ธุรกิจต้องรู้

ผลสำรวจเทรนด์เทคโนโลยี ใน 14 Technology Trends จากหลายธุรกิจโดย McKinsey เพื่อก้าวย่างท้าทายของธุรกิจในโลกไร้พรมแดน หาคำตอบให้กับแนวทางใหม่ๆ เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจในโลกแห่งอนาคต

https://www.canva.com/design/DAFJvJTus_I/r17yIze8oWpSQCsBDjgf7A/edit

Google Discover เสิร์ฟคอนเทนต์สดใหม่ที่สนใจไว้หน้าโฮม

เชื่อว่าใครหลายคนย่อมมีแอพ Google ติดสมาร์ทโฟนไว้คอยหาคำตอบให้กับคำถามต่างๆ ในชีวิตประจำวันและเพื่อให้ผู้ใช้อย่างเราๆ อัปเดตเรื่องราวใหม่ๆ ทันอยู่เสมอ เมื่อกดเข้าแอพ Google เราจะเจอกับ Google Discover ที่หน้าตาเหมือนหน้าฟีด Social Media ทั่วไปแตกต่างตรงที่เนื้อหานั้นจะถูกคัดสรรมาให้ตรงกับความสนใจของเราโดยเฉพาะ ลองมาดูกันดีกว่าในฐานะคนที่คลุกคลีกับการใช้ Google ตลอดเวลาจะสามารถใช้ประโยชน์จาก Google Discover อย่างไรได้บ้าง Google Discover คืออะไร ต่างจาก Google Search อย่างไร อย่างที่เป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่า ประชากรส่วนใหญ่ทั่วโลกมีแนวโน้มที่จะเข้าถึงเว็บไซต์ต่างๆ ผ่านสมาร์ทโฟนมากกว่าบนคอมพิวเตอร์ถึง 66.75% เทียบกับ 31.05% อ้างอิง โดยในประเทศไทยกว่า 69.98% ของผู้ใช้เข้าถึงเว็บไซต์ผ่านสมาร์ทโฟน เทียบกับ 27.49% ที่เข้าเว็บไซต์ผ่านคอมพิวเตอร์ อ้างอิง เพื่อให้ตอบรับกับแนวโน้มที่ว่านี้เอง Google Discover จึงเป็นรูปแบบของหน้าฟีดบนแอพ Google ที่คอยเลือกสรรคอนเทนต์สำคัญล่าสุดจากหลากหลายเว็บไซต์มาแสดงผลตามความสนใจของผู้ใช้แต่ละคน แน่นอนว่าการนำคอนเทนต์สดใหม่ มาเสิร์ฟให้ถึงหน้าโฮมแบบนาทีต่อนาทีย่อมแตกต่างจาก Google Search ที่เราเป็นฝ่ายป้อนคำถามลงไปเพื่อให้ Google เลือกเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาสอดคล้องกันกับคำค้นหามากที่สุดมาให้ …

Google Discover เสิร์ฟคอนเทนต์สดใหม่ที่สนใจไว้หน้าโฮม Read More »

Confirming Gross Revenue การลงโฆษณากับ Google Ad Manager โปร่งใสแค่ไหน

หลายธุรกิจที่ลงโฆษณากับ Google มักมีคำถามเสมอว่า “จะรู้ได้อย่างไรว่างบโฆษณาที่เสียไปจะถูกใช้จ่ายไปที่ส่วนไหนบ้าง” ยิ่งการซื้อและขายโฆษณาดิจิทัลมีความซับซ้อนมากขึ้น การติดตามว่าเงินถูกใช้ไปกับส่วนใดบ้างจึงยากขึ้น เพราะโดยเฉลี่ยแล้วมีถึง 15% ของงบโฆษณาที่ไม่สามารถระบุแหล่งที่มาได้ ตามการประมาณการของแต่ละอุตสาหกรรม ซึ่ง Google ก็ให้ความสำคัญกับความเชื่อมั่นของนักการตลาดในการลงโฆษณาดิจิทัลกับ Google ด้วยการทำให้งบโฆษณาที่จ่ายมีความโปร่งใสมากขึ้น เพื่อให้เห็นว่า Google ไม่มีการหมกเม็ดค่าธรรมเนียมแต่อย่างใด ด้วยการมุ่งมั่นหาผลสรุปที่จะทำให้ Programmatic Buying หรือการซื้อขายพื้นที่โฆษณามีความน่าเชื่อถือและอยู่บนระบบที่โปร่งใส แนะนำ Confirming Gross Revenue Confirming Gross Revenue วิธีการใหม่จาก Google ที่ช่วยให้ผู้ซื้อและผู้เผยแพร่โฆษณามีวิธีการที่ปลอดภัยต่อความเป็นส่วนตัวในการตรวจสอบว่าไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมแอบแฝงจากธุรกรรมโฆษณาดิจิทัลเมื่อใช้ Google Ad Manager ผู้เผยแพร่โฆษณาสามารถใช้ Revenue Verification Report (รายงานการตรวจสอบรายได้) เพื่อดูรายได้รวมทั้งหมดที่ได้รับจากผู้ซื้อเฉพาะราย จากนั้นผู้ซื้อและผู้เผยแพร่สามารถตรวจสอบค่าใช้จ่ายสื่อจากการรายงานของผู้ซื้อที่ตรงกับรายได้รวมที่ผู้เผยแพร่ได้รับ หากตัวเลขตรงกัน ผู้ซื้อสามารถยืนยันได้ว่าการใช้จ่ายสื่อถึงผู้เผยแพร่ทั้งหมดและไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมแอบแฝง เมื่อ Google สร้างฟีเจอร์นี้ขึ้นมา Display & Video 360 ก็พร้อมเริ่มต้นใช้งานในฐานะผู้ทดสอบก่อนใคร เนื่องจากเป็นวิธีการน้องใหม่ จึงกำลังอยู่ในกระบวนการการสื่อสารและร่วมมือกับแพลตฟอร์มฝั่งคำสั่งซื้อ แพลตฟอร์มฝั่งขาย …

Confirming Gross Revenue การลงโฆษณากับ Google Ad Manager โปร่งใสแค่ไหน Read More »

Search Pulse Insights เจาะตลาดอย่างไรให้ตรงใจลูกค้า

Search Pulse Insights เจาะตลาดอย่างไรให้ตรงใจลูกค้า

ทุกคำค้นหาบน Google มีความหมายเสมอ เพราะคำถามมากมายที่เกิดขึ้นจากการเสิร์ชในกูเกิ้ลจะช่วยบอกเราได้ว่าผู้คนบนโลกกำลังให้ความสนใจสิ่งใดกันอยู่บ้าง เพราะอย่างนี้นี่เอง Google จึงวิเคราะห์ออกมาเป็นข้อมูลเชิงลึกซึ่งสะท้อนถึงพฤติกรรมผู้บริโภคในไทยว่าใน 3 ธุรกิจใหญ่ๆ ได้แก่ ร้านค้าปลีก เทคโนโลยี และ การเงิน ผู้บริโภคในกลุ่มเหล่านี้กำลังเทความสนใจไปที่ ความสะดวกในการเข้าถึงบริการอย่างรวดเร็ว และ โลกออนไลน์และออฟไลน์ที่เชื่อมถึงกัน Search Pulse Insights สำคัญกับธุรกิจอย่างไร คงเป็นเรื่องดีกว่ามากหากเราวางแผนทำการตลาดได้ตรงจุด เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้เฉพาะเจาะจง และคาดการณ์แนวโน้มความเปลี่ยนแปลงเพื่อเตรียมรับมือล่วงหน้าได้อย่างทันท่วงที หนึ่งกลยุทธ์การตลาดที่จะช่วยประหยัดเวลาและต้นทุนก็คือ การรู้ใจผู้บริโภค และหากเรารู้ถึงพลังของดาต้าที่มีในมือ เราก็ไม่จำเป็นต้องเดาใจลูกค้าอีกต่อไป ทั้งยังสามารถนำเสนอสิ่งที่ตรงกับความต้องการได้เร็วและแม่นยำได้ ผ่าน Search Insights ซึ่งช่วยให้เราเข้าใจพฤติกรรมของผู้บริโภคได้มากขึ้นอีกด้วย จากรายงานของ Google ที่พบว่า คนไทยให้ค่าความรวดเร็วทันใจเพื่อเข้าถึงบริการต่างๆ ได้สะดวกขึ้น ยิ่งทุกอย่างเปลี่ยนผ่านสู่ความเป็นดิจิตัลมากขึ้น การใช้ชีวิตของคนไทยก็ยิ่งใกล้ชิดกับเทคโนโลยีดิจิทัลมากกว่าเดิม เห็นได้จากพฤติกรรมการใช้งานบนแอพลิเคชันและบริการดิจิทัลในอุตสาหกรรมต่างๆ พบว่า ในธุรกิจร้านค้าปลีก  คนไทยเสิร์ชหาคำว่า “near me” (ใกล้ฉัน) มากขึ้นถึง 80% ในปีที่ผ่านมา อย่างคำว่า “restaurants near me” …

Search Pulse Insights เจาะตลาดอย่างไรให้ตรงใจลูกค้า Read More »