5 ข้อแนะนำที่ควรรู้ก่อนใช้ ChatGPT

ในยุคปัจจุบัน ต้องยอมรับว่านาทีนี้ กระแสที่เป็นที่นิยมและฮือฮาในวงการเทคโนโลยีที่สุด ก็คงจะเป็น ChatGPT ซึ่งถือเป็น AI ในรูปแบบ Chatbot พัฒนาโดยบริษัท OpenAI โดย ChatGPT นั้นย่อมาจากคำว่า “Chat” และ “Generative Pre-training Transformer” ซึ่งถูกเขียนขึ้นเพื่อให้สามารถใช้งานและตอบโจทย์กับทุกคำถามหรือข้อสงสัยได้อย่างครอบคลุม ไม่ว่าจะเป็นการถามตอบ เล่นมุกตลก brainstorm ไอเดียต่างๆ ไปจนถึงการเขียนโค้ดหรือการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น  และด้วยเหตุนี้เอง จึงเป็นที่ประจักษ์ว่า ChatGPT ได้ก้าวเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของมนุษย์มากขึ้น จนไปถึงประเด็นที่ว่าอาจทำให้หลายๆสายงานต้องตกงานเพียงเพราะศักยภาพของ ChatGPT ที่สามารถดึงข้อมูลและประมวลผลออกมาได้อย่างมหาศาล ทำให้มาแทนที่การทำงานของมนุษย์ได้อย่างไร้ที่ติ อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ใหม่ล่าสุดนี้ ก็ยังมีข้อกังขาในอีกหลายแง่มุม โดยเฉพาะเรื่องฐานทางกฎหมายในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลและการคัดกรองผู้ใช้งานที่มีอายุต่ำกว่า 13 ปี

อิตาลีสั่งระงับ ChatGPT หลังตรวจสอบความเป็นส่วนตัว

จากข่าวเมื่อไม่นานมานี้ หน่วยงานกำกับดูแลด้านความเป็นส่วนตัวของอิตาลี ได้สั่งตรวจสอบการทำงานของ ChatGPT เนื่องจากวิธีการในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล โดยในแถลงการณ์นั้น หน่วยงานฯได้อ้างถึง การขาดหลักพื้นฐานทางกฎหมายในการจัดเก็บและรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งาน เพื่อพัฒนาระบบอัลกอริทึมของ ChatGPT 

ดังนั้นแล้ว หน่วยงานกำกับดูแลความเป็นส่วนตัวของอิตาลีจึงสั่งระงับการใช้งาน ChatGPT ทำให้ขณะนี้ ผู้ใช้งานชาวอิตาลีไม่สามารถเข้าถึงแชตบอทดังกล่าวได้ตั้งแต่ต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา และนอกเหนือจากนั้น อีกหนึ่งความกังวลของการประมวลผลของ ChatGPT ก็คือ การขาดตัวคัดกรอง เพื่อเป็นการตรวจสอบและทำให้มั่นใจว่า ผู้ใช้งานมีอายุมากกว่า 13 ปีขึ้นไป โดยทางการอิตาลีได้ให้เวลา OpenAI ชี้แจงและปรับปรุงเป็นเวลา 20 วัน โดยหลังจากนั้นบริษัทอาจต้องเสียค่าปรับมากถึง 20 ล้านยูโร (หรือราว 740 ล้านบาท) หรือสูงประมาณ 4% ของรายได้ต่อปีของบริษัท

เรียกได้ว่าเป็นประเทศแรกในโลกตะวันตกก็ว่าได้ที่มีการสั่งระงับ ChatGPT ชั่วคราว พร้อมเปิดประเด็นการตรวจสอบในเรื่องของการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งหลังจากข่าวนี้ได้แพร่หลายออกไป ประเทศต่างๆในยุโรปก็เริ่มตื่นตัวมากขึ้น นำไปสู่การตรวจสอบ เช่น ประเทศเยอรมณี ประเทศฝรั่งเศส และประเทศไอร์แลนด์

ข้อแนะนำก่อนใช้ ChatGPT

  1. ผู้ใช้งานควรหลีกเลี่ยงการให้ข้อมูลที่สำคัญ เช่น ข้อมูลของบริษัท ข้อมูลที่เป็นความลับ ข้อมูลส่วนบุคคล โดยเฉพาะข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหว เป็นต้น 
  2. ผู้ใช้งานควรตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลก่อน เนื่องจากข้อมูลส่วนใหญ่ใน ChatGPT อาจไม่ถูกต้องทั้งหมดเนื่องจากเป็นการรวบรวมข้อมูลจากหลากหลายแหล่งที่มา และนำมาวิเคราะห์ใหม่อีกครั้งก่อนแสดงผลให้กับผู้ใช้งาน ดังนั้นแล้ว ผู้ใช้งานควรตรวจสอบเพื่อหาแหล่งอ้างอิงอื่นที่น่าเชื่อถือได้ รวมถึงการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญในด้านนั้น ๆ อีกครั้ง และระบบ ChatGPT ก็ยังมีความไม่ชัดเจนในเรื่องของแหล่งที่มาของข้อมูล
  3. องค์กรควรกำหนดมาตรการการใช้งาน ChatGPT ของพนักงาน เพื่อความปลอดภัยของข้อมูล และป้องกันการรั่วไหลของข้อมูลทั้งข้อมูลขององค์กร และ ข้อมูลส่วนบุคคล
  4. ผู้ใช้งานควรติดตามข้อมูลข่าวสารอย่างใกล้ชิดเกี่ยวกับการพัฒนา ChatGPT เนื่องจากเป็นการนำข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ เช่น บทความ หนังสือ วิกิพิเดีย ไปจนถึงเว็บไซต์ต่าง ๆ มาพัฒนาระบบ AI ของ ChatGPT ทั้งยังมีการอัพเดตความสามารถของระบบและเงื่อนไขในการใช้งานอยู่ตลอดเวลา 
  5. ผู้ใช้งานไม่ควรนำคำตอบที่ได้มาใช้อ้างอิง โดยเฉพาะหากเป็นงานที่ต้องการความถูกต้องและความแม่นยำสูงของข้อมูล เช่น งานทางด้านวิชาการ สถิติ เป็นต้น และ ณ ปัจจุบัน ChatGPT ไม่สามารถรับรองได้ว่าคำตอบที่ได้จะไม่มีอคติ (Bias) หรือนำไปสู่การเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม (Discrimination)  

PDPA กับ ChatGPT

ฐานทางกฎหมาย

กลับมาที่กฎหมาย PDPA ของประเทศไทย จากกรณีศึกษาดังกล่าว จะเห็นได้ว่า การนำข้อมูลส่วนบุคคลไปประมวลผลนั้นเกี่ยวข้องกับ PDPA  อย่างเห็นได้ชัด เพราะในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล จำเป็นต้องมีฐานทางกฎหมายที่ถูกต้องเพื่อรองรับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลนั้นๆ  

โดยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ได้ระบุฐานทางกฎหมาย ดังนี้

  1. ความยินยอม (Consent)
  2. การจำเป็นเพื่อการปฏิบัติตามสัญญา (Contract)
  3. การจำเป็นเพื่อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล หรือของบุคคล หรือของนิติบุคคลอื่น (Legitimate Interest)
  4. การปฏิบัติตามกฎหมาย (Legal Obligations)
  5. การจำเป็นเพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือการปฏิบัติหน้าที่ในการใช้อำนาจรัฐ (Public Task)
  6. การป้องกันหรือระงับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพของบุคคล (Vital Interest)
  7. การจัดทำเอกสารประวัติศาสตร์หรือจดหมายเหตุเพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือที่เกี่ยวกับ การศึกษาวิจัยหรือสถิติ (Scientific or Historical Research)

ความยินยอมของผู้เยาว์

นอกเหนือจากนี้ ChatGPT ก็ยังมีอีกปมปัญหาคือ ในเรื่องของการคัดกรองผู้ใช้งานที่มีอายุน้อยกว่า 13 ปี ต้องอธิบายก่อนว่าในกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของแต่ละภูมิภาคนั้น มักจะมีการกำหนดถึงการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของผู้เยาว์เป็นพิเศษ และ PDPA เองก็เช่นกัน

โดยสำหรับความยินยอมของผู้เยาว์นั้น ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ได้ กำหนดไว้ว่า ถ้าไม่ใช่การใดๆที่ผู้เยาว์อาจให้ความยินยอมโดยลำพังได้ จำเป็นจะต้องได้รับความยินยอมจากผู้ใช้อำนาจปกครองที่มีอำนาจกระทำการแทนผู้เยาว์ด้วย หรือในกรณีที่ผู้เยาว์มีอายุไม่เกิน 10 ปี ให้ขอความยินยอมจากผู้ใช้อำนาจปกครองที่มีอำนาจกระทำการแทนผู้เยาว์

จะเห็นได้ว่า ความยินยอมนั้นเป็นหนึ่งในฐานทางกฎหมายที่ถูกระบุไว้ใน PDPA เช่นกัน เพราะฉะนั้น หาก ChatGPT ขาดการคัดครองสืบเนื่องจากอายุของผู้ใช้งาน อาจจะนำไปสู่การได้รับความยินยอมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย สุดท้ายแล้ว การนำข้อมูลส่วนบุคคลของผู้เยาว์ไปประมวลผลนั้น ก็วนกลับมาที่ว่า ChatGPT ขาดหลักพื้นฐานทางกฎหมายในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลครับ

ในยุคแห่ง Digital Transformation ที่มีการแข่งขันกันพัฒนาเทคโนโลยี และ data หรือข้อมูลส่วนบุคคลเปรียบเสมือนทรัพยากรที่มีค่าไม่ต่างจากทองคำ การเติบโตของเทคโนโลยีนี้ไม่ได้ถูกขัดขวางโดยกฎหมายแต่อย่างใด หากแต่เป็นการถูกขัดเกลาเพื่อให้เทคโนโลยีเหล่านี้ได้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ควบคู่ไปกับความโปร่งใสและการเคารพซึ่งความเป็นส่วนตัวของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อที่จะสามารถโลดแล่นอยู่ในวงการนี้ได้อย่างมีศักยภาพที่แท้จริง

หากท่านยังไม่พร้อมหรือยังไม่แน่ใจว่าองค์กรของท่านนั้นได้ปฏิบัติตามมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยตามที่ PDPA กำหนด ครบ เพียงพอหรือถูกต้องแล้วหรือยัง ท่านสามารถติดต่อขอรับคำปรึกษากับเราได้ฟรีที่ Predictive ทางเรามีบริการให้คำปรึกษา จัดทำเอกสารทางกฎหมายที่จำเป็น การอบบรมเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานของ PDPA และแนวทางปฏิบัติสำหรับทุกแผนกในบริษัท  รวมไปจนถึง PDPA Audit ที่จะเข้าไปตรวจสอบและไขข้อข้องใจว่าองค์กรของท่านต้องดำเนินการอย่างไรเพิ่มเติมบ้างเพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมาย PDPA ฉบับนี้ ท่านสามารถติดต่อ Predictive เพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้เลย เรายินดีให้คำปรึกษาเบื้องต้นโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ขอบคุณที่อ่านกันมาจนถึงตรงนี้ครับ

Reference :

Get in touch

Let's work together!

"*" indicates required fields

Name*
Please let us know what's on your mind. Have a question for us? Ask away.