Creator Commerce: The New Marketing Channel

หลายๆคนอาจจะรู้จักกับคำว่า Creator กันอยู่แล้วใช่ไหมครับ วันนี้ Predictive มีอาชีพใหม่มาแนะนำให้ทุกคนรู้จัก นั่นก็คือ “Creator Commerce” ที่จะเป็นอีกหนึ่ง Marketing Channels

ก่อนที่เราจะพาทุกคนไปรู้จักกับคำว่า Creator Commerce เราอยากให้ทุกคนเข้าใจคำว่า Influencer ก่อน

อินฟลูเอนเซอร์ (Influencer) คืออะไร

อินฟลูเอนเซอร์ (Influencer) คือ กลุ่มคนที่มีอิทธิพลต่อความคิดและการตัดสินใจของกลุ่มเป้าหมาย และมีชื่อเสียง มีความรู้ ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และเผยแพร่เรื่องราวต่างๆบนโซเชียลมีเดีย เพื่อสร้างผู้ติดตาม และ Engagement เรียกได้ว่า เป็นการสร้าง Customer Perception ผ่านการตลาดแบบปากต่อปาก (Word of Mouth) นั่นเอง

และทุกคนทราบกันไหมครับ ว่าเราทุกคนล้วนเป็น Influencer กันหมด ไม่ว่าเราจะมีฐานผู้ติดตามอยู่กี่คนก็ตาม ถ้ายังไม่เห็นภาพ เราอยากให้ทุกคนอ่านคำถามเหล่านี้แล้วนึกตามดูนะครับ ว่าถ้าเราอยากได้คำตอบพวกนี้ เราจะถามเพื่อนคนไหน

  1. ร้านเนื้อญี่ปุ่นดีๆ ติดรถไฟฟ้า BTS 
  2. สนามกอล์ฟดีๆ เดินทางสะดวกๆ
  3. หนังสือที่จะช่วยพัฒนาทักษะการสื่อสาร
  4. ต้องการคำปรึกษาด้านการลงทุนรูปแบบต่างๆ

เมื่ออ่านคำถามพวกนี้จบแล้ว คุณจะมีชื่อของเพื่อนแต่ละคนขึ้นมาในแต่ละคำถามเลยใช่ไหมครับ และก็เหมือนกันเวลาที่เพื่อนบางคนมีคำถามแล้วมาปรึกษาเราในเรื่องที่เค้ารู้อยู่แล้วว่าเราถนัด หรือไม่ว่าจะเป็นตอนที่เราเจอสินค้าหรือบริการที่ชอบมากๆ แล้วอยากแนะนำต่อให้กับคนรอบตัวนั่นแหละครับ เรากำลังทำหน้าที่ Influencer อยู่ เพียงแค่เราเป็น Nano Influencer นั่นเอง

Influencer Tier
Influencer Tier

ซึ่งค่าตัวของ Influencer นั้น นอกจากจะขึ้นอยู่กับ Tier ของ Follower แล้ว ยังขึ้นอยู่กับข้อมูลหลังบ้านของ Influencer คนนั้นๆด้วย (Insight จาก Backup Data) ยิ่ง Influencer มีข้อมูลหลังบ้านเยอะ และแสดงให้เห็นภาพของฐาน Follower ได้ชัดเจนเท่าไหร่ ก็จะยิ่งทำให้ Value ของ Influencer คนนั้นๆสูงขึ้นเท่านั้น เพราะแบรนด์เองก็จะเห็นภาพได้ชัดเจนด้วย ว่าการใช้จ่ายครั้งนี้ Message จะไปถึงคนกลุ่มไหน จำนวนเท่าไหร่ 

ในทุกวันนี้ ใครๆก็สามารถเป็น Influencer ได้ และมี Influencer หน้าใหม่เกิดขึ้นในทุกๆวัน ทีนี้ชาว Influencer จึงจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อให้ตัวเองยังคงยืนหนึ่งในวงการอยู่เสมอ จึงทำให้ Influencer เริ่มผันตัวมาเป็น Cerator Commerce กันบ้างแล้ว

Creator Commerce คืออะไร

Creator Commerce คืออะไร
Creator Commerce คืออะไร

Creator คือคนที่สร้างคอนเทนต์บนสื่อต่างๆให้ตอบรับกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ทุกคนสามารถเป็น Creator ได้ โดยต้องมีความรู้ความเข้าใจใน Platform Social Media หรือพูดง่ายๆคือ รู้จักตัวแพลตฟอร์มดี ทั้งในด้านของการประมวลผลของ Algorithms หรือ User ที่อยู่ใน Platform นั้นๆ เพราะต่อให้เป็นแพลตฟอร์ม Short Video เหมือนกันแต่ผู้ใช้งานก็จะมีพฤติกรรมที่ต่างกันออกไป ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของ Creator ที่จะต้องทำความรู้จักกับ User ในแต่ละ Platform ให้ดีเพื่อจะได้นำเสนอสิ่งที่ User / Follower ของตัวเองให้คุณค่า เพื่อกระแสตอบรับที่ดีของผลงานตัวเอง 

ทีนี้เมื่อวันเวลาผ่านไป การขายสินค้าในรูปแบบของ Online ก็เริ่มมีวิวัฒนาการ จากที่อยู่แค่ใน E-Commerce ที่ถูกโปรโมทโดย Influencer ก็เริ่มมีการใช้ Creator ในการสื่อสาร แต่ด้วยยอดผู้ติดตามของ Creator แต่ละคนที่ไม่เท่ากัน แต่หากคอนเทนต์นั้นๆถูกสร้างขึ้นอย่างตั้งใจและเกิดเป็นที่รู้จักขึ้นมาก็จะทำให้ยอดขายเกิดขึ้นอย่างมหาศาล จึงทำให้การที่แบรนด์ต่างๆเลือกจะลงทุนใน Creator โดยให้ค่าตอบแทนเป็นค่า Commission ที่ได้จากการขายผ่านคอนเทนต์นั้นๆ

จึงเป็นที่มาของอาชีพ “Creator Commerce” ซึ่งในช่วงแรกๆเราอาจจะได้เห็นในรูปแบบของการพูดถึงสินค้า และจบท้ายคลิปด้วยการบอกว่า “หากผู้ชมท่านใดสนใจสินค้า/บริการนี้ สามารถสั่งซื้อได้โดยใช้ Code นี้เลย” ในปัจจุบันที่เราเห็นกันอยู่บ่อยๆก็อาจจะเป็นการติดตระกร้าใน Tiktok (นายหน้า Tiktok) หรือ อย่างคุณพิมรี่พายเอง ก็เป็น Creator Commerce คนนึงเหมือนกัน เพราะมีการพูดถึงสินค้าและให้ผู้ใช้งานเลือกซื้อในช่องทางของตัวเอง และโครงสร้างของรายได้ก็มาจากกำไรจากการขาย ซึ่งไม่ต่างกับการได้ค่า Commission เลยครับ

Creator Commerce กับ Influencer ต่างกันอย่างไร แบรนด์ควรเลือกใช้ช่องทางไหนมากกว่า

ความแตกต่างระหว่าง Creator Commerce กับ Influencer ที่มีผลต่อการตัดสินใจของแบรนด์หรือธุรกิจคงเป็นในมุมของรายจ่ายที่จะเกิดขึ้นกับแบรนด์

ค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นเมื่อเลือกใช้  Creators Commerce

เมื่อมีการทำสัญญากันเรียบร้อยแล้ว จะยังไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆเกิดขึ้น Creator สามารถเริ่มสร้างผลงานได้เลย แต่เมื่อมียอดขายเกิดขึ้นจากผลงานของ Creator เมื่อไหร่ รายจ่ายจึงจะเกิดขึ้นกับแบรนด์ในรูปแบบของค่า Commission ที่จะต้องจ่ายให้กับ Creator

Creator จะผลิตผลงานออกมาเพียงแค่ชิ้นเดียวก็ได้ หากผลงานนั้นมียอดคำสั่งซื้อสินค้าเข้ามา และในทางกลับกัน ต่อให้ Creator จะผลิตผลงานออกมาหลายชิ้น แต่หากชิ้นงานนั้นไม่ได้คุณภาพ วิดิโอไม่มี Engagement หรือสื่อสารให้ผู้บริโภคเกิดความต้องการซื้อไม่ได้ ก็จะไม่ก่อให้เกิดรายจ่ายกับทางแบรนด์และทาง Creator ก็ไม่ได้รับค่า Commission ด้วยเช่นกัน

ซึ่งสิ่งที่แบรนด์จะได้จาก Creator Commerce คือ Free Media ที่จะช่วยสร้าง Awareness เพิ่มขึ้นผ่านการโปรโมทแบรนด์จากคอนเทนต์ต่างๆที่ทาง Creator ผลิตออกมา โดยแบรนด์จะไม่ต้องเสียค่าโฆษณาไปฟรีๆ แต่จะเป็นการจ่ายค่าโฆษณาเป็นค่า Commission ที่จะเกิดขึ้นเมื่อขายของได้เท่านั้น

ค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นเมื่อเลือกใช้ Influencer

การใช้ Influencer มีกลไกลง่ายๆคือ ติดต่อหา Influencer เพื่อทำสัญญาโปรโมทสินค้าหรือบริการ ค่าตอบแทนอาจจะเป็นการให้ใช้สินค้าหรือบริการฟรี หรืออาจจะเป็นค่าโพสต์โปรโมทก็ได้ ไม่ว่าแบรนด์จะมียอดคำสั่งซื้อเกิดขึ้นเท่าไหร่ก็ตาม แต่ค่าใช้จ่ายในการโปรโมทนั้นก็จะเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวคือตอนที่มีการทำสัญญาโปรโมทสินค้าหรือบริการ เมื่อชำระค่าบริการแล้ว Influencer จึงเริ่มทำงานได้

สิ่งที่ Influencer จะช่วยแบรนด์ได้หลักๆเลยคือการสร้าง Awareness และ Customer Perception ซึ่งเป็นรากฐานที่แข็งแรงให้กับของภาพลักษณ์ของแบรนด์ หากแบรนด์มีการเลือก Influencer ที่มีคุณสมบัติต่างๆตรงกันกับสินค้า ไม่ว่าจะเป็น กลุ่มผู้ติดตามที่เป็นกลุ่ม Target ของสินค้า หรือภาพลักษณ์ของ Influencer ที่ตรงกับ Personal จะเป็นทางลัดให้สินค้าหรือบริการของเราเป็นที่รู้จักได้ในเวลาอันรวดเร็ว

สรุป: จะเลือกใช้ Influencer หรือ Creator Commerce ดี? 

ทั้งสองอย่างเป็นประโยชน์กับแบรนด์หมด อยู่ที่เราต้องเลือกใช้ให้ถูกจุดประสงค์

จะเลือกใช้ Influencer หรือ Creator Commerce ดี?
จะเลือกใช้ Influencer หรือ Creator Commerce ดี? 

Influencer คือผู้มีอิทธิพลทางความคิด ซึ่งจะนำคนเข้ามารู้จักสินค้าของเรา สามารถช่วยสร้าง Awareness และสร้าง Customer Perception ที่ดีให้กับแบรนด์ได้ โดยมีหน้าที่หลักคือสื่อสารให้ตรงโจทย์ของแบรนด์ ทางแบรนด์เองก็ต้องมีการเตรียมข้อมูลของสินค้าและลูกค้าให้สอดคล้องไปกับข้อมูลของ Influencer และฐาน Follower ของเค้าด้วย 

การมี Influencer จะช่วยให้เรามี Data เพิ่มขึ้นจากการที่คนเข้ามาสู่เว็บไซต์หรือแอปพลิเคชั่นของเราได้ และเราจะนำ Data ที่ได้นี้ไปทำการตลาดด้วยกลยุทธ์อื่นๆต่อได้ 

Creator Commerce: เป็นผู้สร้างสรรค์ผลงานมานำเสนอสินค้าหรือบริการให้กับผู้ใช้งานที่อยู่บน Platform นั้นๆ และอาจจะพาสินค้าของเราไปหาผู้บริโภคตลาดใหม่ๆได้อีกด้วย

ทางแบรนด์เองจำเป็นต้องเตรียม Internal Data ให้พร้อมสำหรับให้ Creators ใช้ในการสร้างสรรค์ผลงาน โดย Predictive แนะนำให้เตรียมข้อมูล Internal Data ไว้ก่อน​ โดยนำ First Party Data มาดูว่ากลุ่มเป้าหมายเป็นใคร มีพฤติกรรมแบบไหน เพื่อที่ Creator จะได้สื่อสารให้ถูกกลุ่ม เช่น ถ้าสินค้ามีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้สูงอายุ ทาง Creator จะได้หลีกเลี่ยงการใช้คำศัพท์สแลง (Slang) ที่กลุ่มวัยรุ่นนิยมใช้กัน แต่ผู้สูงอายุอาจจะฟังแล้วไม่เข้าใจ

นอกจากนี้ก็ต้องนำข้อมูลที่ได้มาจาก Transactional Data มาดูว่าจำนวนชิ้นของสินค้าที่ขายได้ในแต่ละเดือนเป็นสินค้าประเภทไหน เพื่อให้ Creator เองจะได้เลือกหยิบสินค้ามาขายได้ถูกชิ้น

และทาง Creator เองก็ต้องทำการบ้านมาให้แบรนด์ด้วยเหมือนกัน โดยนำ External Data มาวิเคราะห์เพื่อดูและติดตามเทรนด์ใน Social Media ว่าคนกำลังสนใจและพูดถึงเรื่องไหนอยู่ หรือดูแม้แต่สิ่งที่คนกำลังพูดถึงเราว่าเขารู้สึกแบบไหน

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ตกลง Data สำคัญกับงาน Creative หรือไม่ ถึงเวลาที่ต้องหยุดเถียงกันแล้ว

เมื่ออ่านกันมาจนจบแล้ว ทุกคนคงเห็นความแตกต่างระหว่างการเลือกใช้ Creator Commerce และ Influencer กันนะครับ หากธุรกิจหรือองค์กรไหนต้องการสร้างยอดขายจากช่องทางใหม่ สามารถติดต่อ Predictive ได้เลย ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของการเตรียม Data หรือวาง Strategy ต่างๆ เรายินดีให้คำปรึกษาเบื้องต้นโดยไม่มีค่าใช้จ่ายครับ

How we can help

Fill out the form below to discuss your needs or learn more about our services

"*" indicates required fields

Name*
Please let us know what's on your mind. Have a question for us? Ask away.