ถ่าย vlog ยังไง ไม่ให้ผิด PDPA

จะไปงาน Event แล้ววว! ถ่าย Vlog ยังไงให้ไม่ผิด PDPA

PDPA หรือ Personal Data Protection Act B.E. 2562 (2019) (พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562) เป็นกฎหมายที่ได้มีการบังคับใช้อย่างเป็นทางการเมื่อปีที่ผ่านมาและได้มีการรณรงค์เพื่อเสริมสร้างความตระหนักรู้มาตลอด 1 ปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้ อย่างไรก็ตามบทลงโทษตาม PDPA นั้นก็กำลังจะถูกบังคับใช้อย่างจริงจังในวันที่ 1 มิถุนายน 2566 นี้แล้ว เพื่อปกป้องการเก็บ ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล และกฎหมายนี้จะบังคับใช้กับทุกๆคน ไม่ว่าจะเป็นตัวบุคคล หรือนิติบุคคลก็ตาม

ทุกวันนี้ Platform Video Streaming ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ผู้คนทั่วไปก็สามารถถ่ายและเผยแพร่วิดิโอสู่สาธารณะและ Go Viral ได้ไม่ยาก เราจะมาพูดถึงกรณีของบุคคล ที่ต้องมีการบันทึกภาพตามสถานที่ต่างๆโดยอาจจะถ่ายติดผู้คน อย่างเช่นในงาน Event ที่มีผู้เข้าร่วมเป็นจำนวนมาก จะมีอะไรบ้างที่ควรจะต้องระวัง และตรวจสอบให้แน่ใจบ้าง

ขั้นตอนที่ต้องปฏิบัติก่อนมีการบันทึกภาพ หรือเก็บข้อมูล

ก่อนอื่นเลย คุณต้องได้รับความยินยอมจากบุคคลที่จะเข้ามาอยู่ในวิดิโอของคุณ ซึ่งหมายความว่าถ้าคุณแพลนว่าจะมีการบันทึกภาพถ่ายหรือวิดิโอในงานอีเวนท์ต่างๆ คุณจำเป็นต้องแจ้งบุคคลที่จะต้องถูกบันทึกภาพก่อนเพื่อให้ได้ความยินยอมจากบุคคลนั้นๆ และพร้อมกับแจ้งวัตถุประสงค์ของการบันทึกภาพหรือวิดิโอที่มีข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลนั้นๆติดไปด้วยเช่นกัน

และคุณจะต้องแน่ใจว่า “ข้อมูลส่วนบุคคล” ที่คุณเก็บมาในวิดิโอระหว่างงานอีเวนท์นั้น ได้ถูกเก็บไว้อย่างปลอดภัย และจะถูกแชร์ให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น จะไม่สามารถเข้าถึงได้โดยทั่วไป ข้อมูลส่วนบุคคลในที่นี้รวมถึง Footage และข้อมูลส่วนบุคคลต่างๆที่คุณเก็บมา ไม่ว่าจะเป็นชื่อ หรือข้อมูลการติดต่อต่างๆ 

ยังต้องแน่ใจอีกด้วยว่าข้อมูลที่คุณเก็บมานั้นจะถูกนำไปใช้ในวัตถุประสงค์ที่แจ้งไว้จริงๆ เช่น แจ้งผู้ถูกบันทึกวิดิโอว่า จะเก็บเพื่อเผยแพร่ในช่องทาง Tiktok เท่านั้น ก็จะไม่สามารถนำไปโพสลง Social Media อื่นๆได้

สุดท้ายนี้ จะเป็นเรื่องของระยะเวลาการจัดเก็บ ว่าเราจะจัดเก็บตามความจำเป็นเท่านั้น ซึ่งหมายความว่า เมื่อคุณได้ใช้ข้อมูลที่เก็บมาสร้างสรรค์วิดิโอ หรือผลงานตามวัตถุประสงค์ที่ได้แจ้งไว้กับเจ้าของข้อมูลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว คุณควรจะลบหรือทำลายข้อมูลนั้นๆในทันที เพื่อป้องกันการเข้าถึงจาก Hacker หรือผู้ไม่ได้รับอนุญาตอื่นๆ

มีอะไรที่ต้องระวังเป็นพิเศษไหม?

นอกเหนือจากนี้ เราอยากให้ทุกคนได้ทราบถึงข้อมูลประเภทหนึ่งที่เราจะต้องระวังเป็นพิเศษ นั่นก็คือ Sensitive Data หรือ ข้อมูลส่วนบุคคลที่อ่อนไหว (Sensitive Personal Data) จะเป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความละเอียดอ่อนและสุ่มเสี่ยงต่อการถูกใช้ในการเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม จึงจำเป็นต้องดำเนินการด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษ และหากมีการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคลประเภทนี้ก็จะทำให้ได้รับบทลงโทษที่สูงขึ้น ยกตัวอย่างเช่น

  1. ประวัติอาชญากรรม
  2. ศาสนา
  3. ความคิดเห็นทางการเมือง
  4. เชื้อชาติ
  5. Face Recognition
  6. ข้อมูลสุขภาพ
  7. ลายนิ้วมือ

ในทางปฏิบัติจริงทำอย่างไรได้บ้าง เพื่อให้สะดวกและอยู่ภายใต้ข้อบังคับของ PDPA

แต่ในทางปฏิบัติจริงนั้น เราสามารถเก็บรายชื่อ ภาพถ่ายผู้เข้าร่วมงานได้ตามปกติโดยไม่ต้องขอความยินยอมจากผู้เข้าร่วมงาน หากเลือกใช้ฐานทางกฎหมายอื่น (หากเข้าองค์ประกอบทางกฎหมาย) อย่างเช่น ฐานประโยชน์โดยชอบธรรม หรือ Legitimate Interest อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเลือกใช้ฐานทางกฎหมายใด เราก็ยังคงจำเป็นต้องมีเอกสาร “Privacy Notice” เพื่อแจ้งในงาน โดยติดประกาศหรือทำเป็น QR code ไว้ตามจุดต่างๆของงานให้ผู้เข้าร่วมสามารถสังเกตุเห็นได้โดยง่าย เช่น จุดลงทะเบียน หรือทางเข้า-ออกในงาน เพียงเท่านี้ก็จะถือว่าผู้จัดงานได้ปฏิบัติตามข้อบังคับของ PDPA เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ฉะนั้นแล้วเพื่อเป็นการป้องกันทั้งตัวผู้จัด ผู้เข้าร่วม และผู้เข้าร่วมที่มีการบันทึกภาพ ผู้จัดจำเป็นต้องมีเอกสาร “Privacy Notice” ที่มีไว้เพื่อแจ้งผู้เข้าร่วมว่าข้อมูลที่ทางผู้จัดได้มาจากการจัดเก็บจะถูกนำไปใช้ด้วยวัตถุประสงค์อะไร และจะถูกใช้งานอย่างไรบ้าง ทั้งนี้ หากพิจารณาจากองค์ประกอบแล้ว และไม่สามารถใช้ฐานทางกฎหมายอื่นใดได้ เช่น เป็นกรณีที่ไม่สามารถใช้ฐานประโยชน์โดยชอบธรรมได้ แต่มีความต้องการที่จะนำข้อมูลส่วนบุคคลดังกลาวไปใช้และเปิดเผยเพื่อวัตถุประสงค์ทางการตลาด สุดท้ายแล้วก็อาจมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ “Consent Form” หรือแบบฟอร์มเพื่อขอความยินยอม ให้ผู้สนใจเข้าร่วมงานกดให้ความยินยอมให้เก็บข้อมูลอยู่ในแบบฟอร์มที่ให้ลงทะเบียนด้วยเช่นกัน

เมื่ออ่านกันมาถึงตรงนี้แล้ว หากบริษัทหรือองค์กรใดมีความต้องการใช้เอกสาร Event Privacy Notice,Privacy Notice, Consent form หรือเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับ PDPA สามารถติดต่อ Predictive ได้เลย เรามีทีมกฎหมายที่เชี่ยวชาญด้าน PDPA เพื่อการเก็บและประมวลผลข้อมูลพร้อมซัพพอร์ททุกๆท่านอยู่นะครับ

Get in touch

Let's work together!

"*" indicates required fields

Name*
Please let us know what's on your mind. Have a question for us? Ask away.