การเปลี่ยนแปลงถือเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกธุรกิจต้องเผชิญ ไม่ว่าจะเป็นการจัดโครงสร้างองค์กร การยุบรวมแผนก หรือ แม้แต่การนำเทคโนโลยีใหม่เข้ามาใช้ในองค์กร การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้สามารถส่งผลกระทบกับทั้งภายใน (พนักงาน) ไปจนถึงนอกบริษัท (ลูกค้า) ซึ่งสิ่งสำคัญที่สุดที่ทุกธุรกิจต้องเตรียมพร้อมอยู่เสมอคือแผนการจัดการการเปลี่ยนแปลง (Change Management Plan)
จากข้อมูลของ Salesforce มีองค์กรที่สามารถบรรลุเป้าหมายในการเปลี่ยนแปลงจริงๆแค่ “12 เปอร์เซ็นต์” เท่านั้น ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความไม่เต็มใจของคนในองค์กรในการที่จะเปลี่ยนแปลง ดังนั้นการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการการเปลี่ยนแปลง (Change Management) จึงจำเป็นสำหรับการแข่งขันทางธุรกิจในยุคนี้
หากเราพูดถึงแพลตฟอร์ม Salesforce ที่มีการพัฒนาอย่างสูง การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นเป็นระยะๆ เนื่องจากมีการเปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ๆอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังมีโอกาสบ่อยครั้งในการเพิ่มมูลค่าจากการเปลี่ยนแปลงเป้าหมายหรือข้อกำหนดทางธุรกิจ
ด้วยโอกาสมากมายในการเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมใน CRM สิ่งที่คุณต้องมีคือมีพันธมิตร (Partner) เพื่อให้การใช้งาน Salesforce มีคุณสมบัติที่เหมาะสมและแผนการจัดการที่ชัดเจน รัดกุม และสามารถปรับขนาดได้ ซึ่งในบทความนี้เราจะมาดูวีธีการที่ Salesforce ใช้รับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นได้
เลือกอ่านหัวข้อที่คุณสนใจ
1. เข้าใจจุดประสงค์ในการเปลี่ยนแปลง (Understand the Need for Change)
มีเหตุผลมากมายที่เราอาจต้องทำการเปลี่ยนแปลงใน Salesforce ซึ่งอาจจะเป็นอะไรก็ได้ตั้งแต่การเพิ่มโครงสร้างพื้นฐานไปจนถึงการแก้ไขปัญหา ไม่ว่าความต้องการจะเป็นแบบไหน เราก็ต้องทำการวิเคราะห์และดูความยากง่ายของชิ้นงานนั้นๆ ก่อนที่จะดำเนินการเปลี่ยนแปลงใดๆ ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงนั้นๆก่อนว่าเป็นแบบไหน
- การเปลี่ยนแปลงภายใน (Transformational) เช่น การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีของบริษัท
- การเปลี่ยนแปลงโดยยึดผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง (User-Centric) เช่น ความรับผิดชอบของพนักงาน และ การเพิ่มสมาชิกในทีม
- การเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้าง (Structural) เช่น การควบรวมกิจการ แผนก และการเปลี่ยนแปลงผู้นำ
- การเปลี่ยนแปลงซ่อมเสริม (Remedial) เช่น การเปลี่ยนแปลงเล็กๆน้อยๆที่ต้องได้รับความช่วยเหลือตามความต้องการ (On-Demand)
พอเรารู้แล้วว่าการเปลี่ยนแปลงที่เราต้องการให้เกิดใน Salesforce เป็นประเภทไหน เราสามารถนัดประชุมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) และหุ้นส่วน (Partners) เพื่อคุยถึงประเด็นการเปลี่ยนแปลงนี้ ก่อนที่จะเตรียมความพร้อม (Onboard) กับผู้ให้บริการที่เชี่ยวชาญด้าน Salesforce ทีมควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าเป้าหมายการเปลี่ยนแปลงที่จะทำนั้นเป็นไปแบบ “SMART”
ตัวอย่างการวางเป้าหมายการเปลี่ยนแปลงแบบ SMART
หากว่าองค์กรของเรากำลังจะมีการเปลี่ยนแปลงผู้นำ การเปลี่ยนแปลงนี้จะถือเป็นการเปลี่ยนแปลงแบบ Structural ที่ส่งผลกระทบต่อทุกสิ่ง ตั้งแต่ความรับผิดชอบในการทำงาน การจัดสรรปันส่วนงาน ไปจนถึงการรายงาน ซึ่งต้องเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย หากเราใช้ Salesforce ในการจัดการงาน การเปลี่ยนแปลง Workflow ด้วยวิธี SMART ถือเป็นสิ่งสำคัญ
ทีนี้เรามาดูแต่ละองค์ประกอบของ SMART ว่ามีอะไรบ้างรวมไปถึงวิธีรับมือกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงนี้
- Specific: บอกพนักงานเกี่ยวกับความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลง ถึงแม้ว่าพนักงานบางคนอาจมีการต่อต้านในช่วงแรกเนื่องจากได้รับบทบาทและความรับผิดชอบใหม่ก็ตาม
- Measurable: ในขณะที่พนักงานอาจรู้สึกไม่สบายใจกับการเปลี่ยนแปลง เราต้องนำเสนอข้อเท็จจริงพร้อมทั้งตัวเลขต่างๆว่าทำไมการเปลี่ยนแปลงนี้จึงมีความสำคัญ โดยแสดงผลการปฏิบัติงานของธุรกิจแต่ละหน่วย (Business Unit) ในไตรมาสก่อนหน้าเพื่อให้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้นว่าสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้เกิดจากอะไรบ้าง
- Achievable: บอกทุกคนว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้มีความสำคัญต่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานอย่างไร แสดงให้เห็นว่าสิ่งนี้จะเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อทุกคนเห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลง บอกให้พนักงานรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของ Workflow และวิธีที่พวกเขาจะช่วยในการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน
- Relevant: สื่อให้พนักงานเข้าใจว่าทำไมการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ถึงเกี่ยวข้องกับพวกเขารวมไปถึงลูกค้า ตัวอย่างเช่น การทำงานล่าช้าทำให้ลูกค้าและผู้บริหารระดับสูงไม่พอใจ ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงผู้นำ/บทบาทการทำงานเป็นทางออกเดียวที่จะทำให้องค์กรเดินหน้าต่อได้
- Time-Bound: การเปลี่ยนแปลงแบบ Structural จำเป็นต้องดำเนินการในลักษณะที่มีขอบเขตเวลา การเตรียมความพร้อมให้กับทีม Development และทีมผู้เชี่ยวชาญ Salesforce สามารถช่วยในการดำเนินงานอยู่ในขอบเขตเวลาที่กำหนด
การวางเป้าหมายการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างแบบ SMART แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการหารือภายในองค์กรกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย นอกจากนี้ธุรกิจยังสามารถเอาชนะการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง ตั้งเป้าหมายที่เป็นจริงได้ และบรรลุเป้าหมายนั้นในเวลาที่กำหนด
2. Define the Scope Change
หลังจากที่ได้รายการคำขอการเปลี่ยนแปลง (Change Request List) แล้ว ทีม Developer ของ ผู้ให้บริการ Salesforce ก็จะเริ่มทำการกำหนดกลยุทธ์ ซึ่งวัตถุประสงค์ของการกำหนดกลยุทธ์คือเพื่อทำให้ทุกคนในทีมตระหนักถึงเป้าหมายมากขึ้น และให้คิดอยู่เสมอว่าเป้าหมายเหล่านี้จะสำเร็จได้อย่างไร
หัวหน้าทีมควรจัดวาระการประชุมกับสถาปนิกด้านเทคนิค (Tech-Architect), ผู้จัดการโครงการ (Project Manager), Developer, ที่ปรึกษา และผู้ดูแลระบบ อย่างไรเพื่อมอบหมายรายการคำขอการเปลี่ยนแปลงตามทักษะและความถนัดของแต่ละทีม และเพื่อพูดคุยในส่วนของเป้าหมาย, ขอบเขต กลยุทธ์การดำเนินการ, บทบาทและความรับผิดชอบของทีม
การสร้างช่องทางการสื่อสารส่วนตัวเช่น Slack สามารถช่วยพัฒนาการสื่อสารของทีมในขณะดำเนินงาน ทำให้ทีมสามารถแบ่งปันความคิดเห็นและแก้ไขปัญหาได้แบบเรียลไทม์
3. การจัดลำดับความสำคัญ (Prioritization)
ทีมต่างๆอาจมีการส่งงานล่าช้าได้ หากทีม Developer ไม่ทำการจัดลำดับความสำคัญของงานที่มีอยู่ ซึ่งเราควรนำงานที่เป็นการเปลี่ยนแปลงแบบ Structural และ Tranformational ขึ้นมาก่อน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ซับซ้อนกว่า และอาจทำให้เกิดข้อจำกัดในการดำเนินการการเปลี่ยนแปลงอื่นๆ
ทั้งนี้ทีมยังสามารถดำเนินการเปลี่ยนแปลงแบบ User-Centric และ Remedial ไปพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงแบบ Structural และ Tranformational จุดประสงค์ของการจัดลำดับความสำคัญคือเพื่อให้แน่ใจว่าการเปลี่ยนแปลงอันใดอันหนึ่งจะไม่สร้างอุปสรรคในการดำเนินการเปลี่ยนแปลงอื่นๆ ซึ่งจะสามารถช่วยป้องกันไม่ให้เกิดความล่าช้าและข้อจำกัดในระยะเริ่มต้นของการดำเนินงาน
4. การดำเนินการการเปลี่ยนแปลง (Change Execution)
เมื่อจัดลำดับความสำคัญของส่วนที่จะเปลี่ยนแปลงเรียบร้อยแล้ว ทีม Developer จะเข้ามารับหน้าที่ต่อโดยเริ่มรวบรวมการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่ได้รับมอบหมายเข้าไปในระบบ
ในขณะที่ทำการรวบรวม ทีม Developer ควรเข้าใจก่อนว่าการเปลี่ยนแปลงบางส่วนอาจต้องมีการจัดการแบบพิเศษหรือเฉพาะทาง ทำให้ไม่สามารถดำเนินการตามไทม์ไลน์ที่วางไว้ หากการเปลี่ยนแปลงส่วนไหนที่ยาก จนไม่สามารถดำเนินการในระยะเวลาที่กำหนดไว้ ควรไปโฟกัสที่การเปลี่ยนแปลงส่วนอื่นๆก่อนเพื่อให้งานไม่สะดุด เว้นแต่ว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นๆมีความสำคัญหรือกระทบต่องานส่วนอื่นๆ
5. การทดสอบการรับประกันคุณภาพ (Quality Assurance Testing)
เมื่อเราได้ผ่านขั้นตอนการพัฒนาเรียบร้อยแล้ว ก็จะมาถึงขั้นตอนการทดสอบการรับประกันคุณภาพ (Quality Assurance) เพื่อให้แน่ใจว่าซอฟต์แวร์ของเรานั้นไม่มี Error เหลืออยู่
ในขั้นตอนนี้ ส่วนประกอบของแอปพลิเคชัน Salesforce เช่น ระบบการทำงาน, การกำหนดค่า และฟีเจอร์ต่างๆ จะได้รับการทดสอบโดยเริ่มจากขั้นตอนสุดท้ายมาจนถึงขั้นตอนแรก โดยใช้ปัจจัยที่สามารถขัดขวางการทำงาน พร้อมทั้งเปรียบเทียบกับกรณีทดสอบต่างๆ จนกว่าข้อผิดพลาดและช่องโหว่ทั้งหมดจะถูกลบออก 100 เปอร์เซนต์
ทีม QA มีหน้าที่ดูแลพื้นที่จำกัดสำหรับทำการทดลองเพื่อโยกย้ายโค้ดในการทดสอบ พวกเขาจะทำการทดสอบการทำงานของซอฟแวร์ในแต่ละหน่วย (Unit Testing) และทำการทดสอบซอฟต์แวร์อัตโนมัติ (Automation Testing) ในส่วนประกอบต่างๆที่มีการเปลี่ยนแปลง อีกทั้งยังตรวจสอบประสิทธิภาพของส่วนประกอบเหล่านั้น และทำรายงานข้อบกพร่องออกมาเพื่อให้ทีม Developer สามารถแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด ซึ่งกระบวนการนี้จะดำเนินต่อไปจนกว่าข้อผิดพลาดทั้งหมดจะถูกแก้ไข
6. การทดสอบเพื่อการยอมรับของผู้ใช้ (User Acceptance Testing)
หลังจากทีม QA ได้ทำการทดสอบและแก้ไขข้อบกพร่องแล้ว ก็จะเริ่มขั้นตอนการทดสอบเพื่อให้เป็นที่ยอมรับของผู้ใช้ ในขั้นตอนนี้ นอกจาก Developer และผู้เชี่ยวชาญด้านการทดสอบแล้ว เราจะรวม End User เข้ามาเพื่อทดสอบทิศทางการแก้ไข (Solution Navigation), การใช้งานส่วนต่างๆ (Component Usage) และด้านอื่นๆ ในสภาพแวดล้อมที่จำกัด เพื่อดูว่าการเปลี่ยนแปลงที่ทำมาเป็นไปตามที่คาดไว้หรือไม่ ซึ่งก่อนที่จะนำข้อคิดเห็นจากทีมทดสอบมาปรับใช้จริงกับผลิตภัณฑ์ ทีม Developer จะทำการเปลี่ยนแปลงตามความคิดเห็นที่ได้รับมาก่อนในเบื้องต้น
7. การส่งต่อการเปลี่ยนแปลง (Deployment)
หลังจากที่การเปลี่ยนแปลงทั้งหมดได้รับการทดสอบจาก Developer และ End User แล้ว ก็ถึงเวลาเตรียมพร้อมสำหรับการส่งต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ผ่านเครื่องมือการจัดการการเปลี่ยนแปลงต่อไป เพื่อทำให้การเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นง่ายขึ้นสำหรับผู้ใช้งานจริง สิ่งสำคัญก่อนการนำไปใช้อย่างเต็มรูปแบบ ทีมควรมีการจัดเตรียมผู้เชี่ยวชาญที่สามารถอัปเดตทีมในส่วนของการเปลี่ยนแปลงและการอบรมในฟังก์ชันการใช้งานต่างๆให้ดียิ่งขึ้น
บทสรุป
จากทุกขั้นตอนที่ได้อ่านมาจะเห็นได้ว่าการจัดการการเปลี่ยนแปลงมีบทบาทสำคัญต่อประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจมากแค่ไหน ยิ่งกระบวนการรับมือของเรามีประสิทธิภาพมากเท่าไหร่ ความเสี่ยงที่จะพบระหว่างทาง และหลังการเปลี่ยนแปลงก็จะยิ่งน้อยลงเท่านั้น
สำหรับแพลตฟอร์มอย่าง Salesforce ซึ่งมีโอกาสในการเปลี่ยนแปลงนับไม่ถ้วน การจัดการการเปลี่ยนแปลง หรือ Change Management จึงมีความสำคัญอย่างมาก เช่นเดียวกันกับการร่วมงานกับพันธมิตรที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญใน Salesforce โดยเฉพาะ จะสามารถเชื่อมช่องว่างในการทำงาน CRM ของผ่านการดำเนินการเปลี่ยนแปลงที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งท้ายที่สุดแล้วธุรกิจก็จะสามารถบรรลุประสิทธิภาพในการดำเนินงานที่สูงขึ้น และตระหนักรู้ถึงมูลค่าทางธุรกิจ
หากใครที่กำลังมองหา Partner ที่มีความเชี่ยวชาญด้าน Data และ เครื่องมือ CRM อันดับหนึ่งอย่าง Salesforce โดยเฉพาะ เพื่อเข้ามาช่วยจัดการการเปลี่ยนแปลง พร้อมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพให้กับธุรกิจในระยะยาว สามารถคลิก “ติดต่อ Predictive” เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้เลย เรายินดีให้คำปรึกษาเบื้องต้นโดยไม่มีค่าใช้จ่าย
How we can help
Fill out the form below to discuss your needs or learn more about our services
"*" indicates required fields