“สู้วิกฤตเศรษฐกิจด้วย E-Commerce” แต่ไม่เคยมีใครบอกเลยว่า “ถ้า E-Commerce เกิดวิกฤตแล้วเราจะสู้ด้วยอะไรดี”

“สู้วิกฤตเศรษฐกิจด้วย E-Commerce” แต่ไม่เคยมีใครบอกเลยว่า “ถ้า E-Commerce เกิดวิกฤตแล้วเราจะสู้ด้วยอะไรดี”

อย่างที่เราได้เคยพูดไปแล้วในคอนเทนต์ “ช่วง 3 ปีที่ผ่านมา E-commerce โตช้าลงอย่างน่าตกใจ หรือว่ายุคทองของ E-commerce ได้ผ่านไปแล้ว ?” จากข้อมูลที่อยู่ในคอนเทนต์นั้นจะเห็นได้ว่า อัตราการเติบโตของ E-commerce โตช้าลงอย่างน่าตกใจในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา วันนี้เราจะมาเสนออีกหนึ่งวิธีการแก้ปัญหา

1. อย่ารวมไข่ไว้ในตระกร้าใบเดียว

หากเปรียบเทียบว่าแอปพลิเคชั่นหรือเว็บไซต์ E-commerce ต่างๆ (Shopee, Lazada, etc.) เป็นตระกร้าที่เราเอาของไปวางขาย เราต้องอย่าลืมว่าตระกร้าพวกนั้นไม่ได้อยู่ในบ้านของเรานะครับ เจ้าของตัวจริงสามารถขอตระกร้าคืนจากคุณได้ตลอดเวลา เพราะฉะนั้น อย่าวางของไว้ที่เดียว กระจายความเสี่ยงโดยการเอาของไปวางไว้ที่เว็บไซต์/แอปพลิเคชั่น/แพลตฟอร์มอื่นๆด้วยนะครับ

2. เลิกฝากตระกร้าไว้ในบ้านคนอื่น

ต่อไปเมื่อเรามีตระกร้าหลายใบไว้วางของแล้ว ต้องอย่าลืมที่จะสร้างบ้านไว้วางตระกร้าของตัวเองด้วย ซึ่งบ้านที่ที่เราพูดถึงนี้หมายถึงเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชั่นของตัวเอง ที่ๆเราสามารถขยับตัวได้อย่างอิสระ ไม่ว่าจะดูได้ว่าลูกค้าเข้าบ้านเรามา แล้วไปเลือกของในตระกร้าไหนบ้าง และซื้อสินค้าจากตระกร้าไหนบ้าง นอกจากนี้แล้วเรายังสามารถเก็บข้อมูลเหล่านี้เพื่อมาวิเคราะห์ และนำไปทำ Personalized Campaign ให้ตรงใจลูกค้าแต่ละคนมากยิ่งขึ้นได้อีกด้วย ตลอดไปจนถึงการทำ Loyalty Program ต่างๆที่เราสามารถออกแบบได้เอง ตามจุดประสงค์ที่เราตั้งขึ้นมาเอง

3. สร้างตระกร้าหลายใบในบ้านของตัวเอง

นอกจากจะมีบ้านของตัวเองแล้ว ก็อย่าลืมที่จะสร้างตระกร้าหลายๆใบไว้ด้วยนะครับ ซึ่งตระกร้าที่เราพูดถึงนี้ คือ “Landing Page” ที่จะแตกต่างจาก หน้า Website ปกติตรงที่ Landing Page จะมีข้อมูลที่เป็นจุดประสงค์เดียวเท่านั้นที่เราอยากจะให้ลูกค้าพิจราณา เช่น มีแค่ของชิ้นเดียวที่เราอยากจะขาย มี Action เดียวที่อยากจะให้ลูกค้าทำ ไม่ว่าจะเป็น

  • สร้างขึ้นมาเพื่อให้ลูกค้าสมัครสมาชิก
  • สร้างขึ้นเพื่อให้ลูกค้ากรอกข้อมูลเข้าร่วมงาน Event
  • สร้างขึ้นมาเพื่อให้ลูกค้าซื้อสินค้า Seasonal รหัส 05931 ในราคาโปรโมรชั่นช่วงเทศกาลคริสมาส

ซึ่งเจ้า Landing Page นี้เราสามารถทำ A/B testing กับมันได้ด้วย เช่น

“สินค้ารหัส 05931 : บริการ Personal Shopper” นี้ มีกลุ่ม Target อยู่สองกลุ่ม ทั้ง Young Adult และ Silver Age ซึ่งคนสองกลุ่มนี้มีปัญหาที่ต่างกัน 


Silver Age: ไม่สะดวกที่จะเดินทางไปซื้อของเอง เพราะมีปัญหาสุขภาพ

Young Adult: ไม่มีเวลาที่จะไปซื้อสินค้าด้วยตนเอง เพราะงานยุ่ง

แต่ปลายทางเดียวกันคือ ต้องการให้คนไปซื้อสินค้าให้ แต่หากเราจะสื่อสารไปที่คนสองกลุ่มนี้ด้วย Message เดียวกันก็คงจะไม่สะกิดใจเท่าเราสื่อสารออกไปในแบบที่เราเข้าใจถึงปัญหาและทำให้ผู้รับสารเห็นภาพว่าเราสามารถแก้ไขปัญหาให้ได้จริงๆใช่ไหมหละครับ 

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Landing Page

สรุป 3 ขั้นตอนในการเอาตัวรอดจากวิกฤต E-commerce

  1. หากยังไม่พร้อมที่จะสร้างเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชั่นของตัวเอง ให้เอาสินค้าของเราไปวางขายในหลายๆแพลตฟอร์มเพื่อกระจายความเสี่ยง
  2. เมื่อพร้อมแล้วให้รีบลงมือสร้างบ้านของตัวเอง นั่นก็คือเว็บไซต์/แอปพลิเคชั่นที่เราเป็นเจ้าของ และเก็บ First Party Data เป็นของตัวเอง
  3. Landing Page ที่จะช่วยให้คุณสื่อสารกับลูกค้าได้อย่างตรงจุดประสงค์และตรงใจลูกค้า

เมื่ออ่านกันจนจบแล้ว หากธุรกิจไหนอยากสร้างเว็บไซต์/แอปพลิเคชั่น พร้อมกับการเก็บข้อมูลอย่างละเอียดเพื่อนำไปทำ Personalized Campaign หรือทำ A/B Testing บนหน้า Landing Page ตามแคมเปญต่างๆ สามารถติดต่อ Predictive ได้เลย เรายินดีให้คำปรึกษาเบื้องต้นโดยไม่มีค่าใช้จ่าย

Get in touch

Let's work together!

"*" indicates required fields

Name*
Please let us know what's on your mind. Have a question for us? Ask away.