ตำแหน่ง UX คืออะไร? ต้องทำอะไรบ้าง? ต้องจบอะไร ถ้าจบไม่ตรงสายทำได้ไหม? Career Path เป็นยังไง? วันนี้เรามาจับเข่าคุยกับพี่ UX กัน

เลือกอ่านหัวข้อที่คุณสนใจ

แนะนำตัวหน่อยค่

ธีเดช วราอัศวปติ หรือ ชิว อายุ 33 ปีครับ ตอนนี้ทำตำแหน่ง Chief Experience Officer ที่ Predictive มาเกือบ 2 ปีแล้วครับ

อะไรคือสัญญาณที่บอกว่าน่าจะทำ UX ได้ดี

ช่วงวัยเด็กพี่จะชอบเล่น Puzzle ทุกรูปแบบ เพราะพี่ชอบเป็นคนใช้ความคิด ชอบวางแผนว่าจะแก้ปัญหาต่างๆได้ยังไง สกิลนี้เลยติดตัวพี่มาจนถึงปัจจุบันครับ เนื่องจากงาน UX มีรายละเอียดที่เยอะมากๆ คนที่จะมาทำงานตรงนี้ก็จะต้องมีสกิลการคิดวิเคราะห์อย่างมีแบบแผน จัดการข้อมูลที่ได้รับมาอย่างเป็นระเบียบ และ ตั้งคำถามในสิ่งที่คนส่วนใหญ่มักไม่ได้สังเกตกัน นอกจากนี้งาน UX ยังเป็นสายงานที่ต้องมีการวางแผน มีการหาวิธีการแก้ปัญหาในจุดต่างๆเพื่อให้ผลงานชิ้นนั้นออกมามีรูปแบบในการใช้ที่ง่าย และสะดวกที่สุด โดยที่ต้องแมชท์ Tools ที่เหมาะสมกับเงื่อนไข ต่างๆเพื่อให้แก้ไขได้อย่างตรงจุด งาน UX จะแบ่งออกเป็น 2 อย่างคือ UX Researcher และ UX Designer ขึ้นอยู่กับ Sense และความเข้าใจหลายๆอย่าง ที่สำคัญเลยคือต้องลองลงมือทำดูถึงจะรู้ว่าเส้นทางไหนใช่ทางของเรา

แล้วถ้าเรียนจบไม่ตรงสายจะทำงาน UX ได้ไหม

ทำได้ครับ งาน UX Research หลายๆที่ แทบจะครึ่งๆจะมีทั้งคนที่เรียนจบตรงสายและเรียนจบด้านอื่นๆ ส่วนตัวพี่เรียนจบคณะวิศวคอมพิวเตอร์จากมหาวิทยาลัยขอนแก่นมา ตอนนั้นที่พี่เลือกคณะนี้เพราะอยากรู้ว่าคอมพิวเตอร์ที่เราใช้อยู่ทุกวันมันทำงานยังไง ที่มาที่ไปของคอมพิวเตอร์เครื่องนึงมันเป็นยังไง ซึ่งจริงๆก็ไม่ได้ตรงสายกับอาชีพสายนี้ซะทีเดียว ช่วงที่เรียนจบมหาลัย UX ยังไม่บูม ยังไม่เป็นสาขาอาชีพที่กว้างขวางเหมือนปัจจุบัน ตอนนั้น UX จะเป็นวิชาย่อยๆที่แทรกอยู่ในคอร์สหลักมากกว่า

เรื่องว้าวของสายงาน UX

การตั้งคำถามว่า ‘ทำไม’ กับทุกๆอย่างรอบตัวในชีวิตประจำวัน เช่น ทำไมเราถึงรู้ว่าประตูบานนี้ต้องผลัก ดึง หรือ เลื่อน อะไรเป็นสิ่งที่สามารถบ่งบอกวิธีการใช้งานของประตูบานนั้นๆได้ ทุกอย่างมี story เบื้องหลังของมัน งาน UX ทุกชิ้นต้องมีกระบวนการคิดเป็นขั้นเป็นตอนมาก่อนที่จะส่งออกทุกครั้ง

เบื้องหลังของงาน UX จะอิงกับหลักจิตวิทยา อย่างเวลาที่เราไปเลือกซื้อของ เราจะรู้ได้ยังไงว่าตัดสินใจถูกต้องหรือเปล่า หรือ เราเลือกซื้อ based on เหตุผลอะไร แล้วมันเกิดอะไรขึ้นระหว่างก่อนการตัดสินใจครั้งนั้น อาจจะผ่านการไตร่ตรอง หรือ อาจจะโดนปูทางให้ซื้อโดยไม่รู้ตัว เช่น มองว่าเข้าท่าที่จะมีของชิ้นนี้อยู่ในมือ ณ ตอนนั้น ในหลายๆครั้งมักนำเอาศาสตร์ Dark Pattern มาใช้ในงานนี้เพื่อเป็นการล่อหลอก การบังคับให้ผู้ใช้งานมี Flow การใช้งานตามขั้นตอนที่เราวางแผนเอาไว้โดยที่ผู้ใช้ไม่รู้ตัว เช่น มีปุ่มตัวเลือกเดียวบนหน้าเว็บไซต์ เป็นต้น 

อะไรคือความแตกต่างระหว่าง UX กับ UI?

ถ้าให้เทียบเป็นรูปภูเขาน้ำแข็ง UX คือรากฐานที่อยู่ใต้น้ำ คือสิ่งที่เรามองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ส่วน UI คือสิ่งที่อยู่เหนือน้ำ คือสิ่งที่เรามองเห็นได้ทันที ยกตัวอย่างเช่น มีสินค้าหลากหลายชนิดตั้งขายอยู่ในร้านสะดวกซื้อ UI จะเปรียบเสมือนการที่เรามองเห็นว่ามีลูกอมวางขายอยู่หน้าเคาน์เตอร์ ในขณะที่ UX จะเป็นคำถามเบื้องหลังว่าทำไมทางร้านถึงเลือกจะวางลูกอมไว้ตรงนั้น

ทำไมถึงเลือกทำ UX ที่ Predictive แตกต่างจากที่อื่นยังไงบ้าง

พี่มองว่าที่บริษัท Predictive มีข้อมูลมีเครื่องมือต่างๆหลากหลายที่พร้อมจะให้ทุกคนเข้ามาเล่น มา Explore ได้ Predictive เป็นเหมือน Playground ขนาดใหญ่ที่มีของเล่นให้เลือกเล่นมากมาย ไม่น่าเบื่อ

ในบรรดาหน้าที่รับผิดชอบทั้งหมด ชอบอะไรเป็นพิเศษ เพราะอะไร

ส่วนตัวพี่ชอบการที่ได้ออกไปทำ research สัมภาษณ์คน พี่เป็นคนที่ชอบศึกษามุมมองความคิดมนุษย์ มันท้าทายตรงที่ว่าเราจะถามยังไง เราจะขุดเค้ายังไง เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ตรงกับที่เราต้องการ ที่เราสามารถเห็นเป็นภาพและวิเคราะห์มันออกมาได้

มองภาพตัวเองใน 3 ปีข้างหน้าเป็นยังไงบ้าง และ ทำไมการเลือกทำงานที่นี่จึงเป็นเส้นทางหนึ่งในการเดินทาง

ก่อนจะเข้ามาทำที่นี่ มองตัวเองไว้ว่าอยากเป็น Research Specialist เวลาที่มีคนนึงถึงงานเกี่ยวกับการทำ Research แล้วอยากให้มีชื่อพี่ติดอันดับแรกๆอยู่ในนั้น อยากให้มี Playground สนาม UX ให้ลงมาเล่นมากขึ้น ตอนที่เริ่มศึกษาศาสตร์นี้ แหล่งข้อมูลไม่เยอะเท่าทุกวันนี้ การทำงานที่ Predictive เป็นจุดที่ทำให้พี่รู้สึกอินกับมัน พี่มองว่าเราต้องให้คนอื่นเหยียบบ่าเราแล้วปีนได้สูงขึ้นไป (Standing on the shoulder of giant) การที่คนอื่นจะเหยียบบ่าเราได้ เราต้องทำตัวเองให้เป็น Giant ก่อน

มีปรัชญาในการทำงานไหม

เหนื่อยก็พัก แค่นั้นเลย พักสมองให้มันเคลียร์ก่อน อย่าพยายามฝืนตัวเอง

เหนื่อยก็พัก แค่นั้นเลย พักสมองให้มันเคลียร์ก่อน อย่าพยายามฝืนตัวเอง และการทำงานต้องวางแผนก่อนเสมอ เหมือนกับที่ อับราฮัม ลินคอล์น กล่าวไว้ว่า “ถ้าข้าพเจ้ามีเวลา 6 ชั่วโมงในการตัดต้นไม้ ข้าพเจ้าจะใช้ 4 ชั่วโมงแรก ไว้ลับขวาน”

เราจะให้อะไรน้องๆได้บ้าง ในวันที่น้องๆมาร่วมทีมกับเรา

UX จะเข้ามาทำให้น้องๆใช้ชีวิตประจำวันได้ดีขึ้น ใช้ความคิดมากขึ้น

  1. เราจะวิเคราะห์วิจารณ์หลายสิ่งหลายอย่างรอบตัวมากขึ้น ตั้งคำถามโดยอัตโนมัติ สมองเรารู้ว่าสิ่งที่ควรเป็นคือยังไงแต่มันไม่เป็นตามนั้น
  2. พอเราเห็นว่ากว่าจะได้มาซึ่งสิ่งที่มันดี มันไม่ง่าย เราจะรู้จัก เข้าใจโลกมากขึ้น ลดเรื่องการตัดสินใจปัจจุบันทันด่วนมากขึ้น
  3. เราจะมี logic มากขึ้น

ให้ฝากอะไรถึงน้องๆที่อยากก้าวเข้ามาทำงานสายนี้ร่วมกับเราสักเล็กน้อย

หาตัวเองให้เจอ ให้เร็ว เพื่อจะได้ตอบตัวเองว่าใช่หรือไม่ใช่ ความยากคือเมื่อไหร่เราควรจะหยุด ถ้าเรารู้สึกว่ากำลังอยู่กับที่รึเปล่า ไม่มีหรอกคำว่าความตั้งใจเต็มที่พอรึยัง มันอยู่ที่ว่าเราจะทุ่มเทเวลากับมันไปถึงเมื่อไหร่ เรายังเอ็นจอย หรือ อยากไปต่อกับมันรึเปล่า

  1. สนใจลองลงมือทำ
  2. แสดงความสนใจออกมา

ใจต้องมาก่อน ในสายงานนี้ เราต้องรู้เยอะ

หวังว่าน้องๆจะเอ็นจอยกับการแก้ปัญหาให้คน แก้ไขกับความหงุดหงิดทั่วไปรอบๆตัว เช่น ประตู ผลัก-ดึง / เปิดบรรจุภัณฑ์ โดยมองบริบทรอบข้างด้วย เพราะมันมี trade-off ในหลายๆส่วน ไม่ใช่แค่คิด solution ออกมาได้เฉยๆ อย่างเช่น ถ้าเราตั้งคำถามว่า Cockpit ระบบการบังคับการขับในเครื่องบินออกแบบมาดีที่สุดหรือยัง แต่ไม่ได้คำนึงถึงว่าหากต้องเปลี่ยนรูปแบบ Cockpit ในเครื่องบินทุกลำ จะต้องเสียค่าใช้จ่ายกับการทำระบบใหม่ในเครื่องบินแต่ละลำ การเทรนนิ่งนักบินเก่าและใหม่ไปอีกเท่าไหร่

หลังจากที่เราได้พูดคุยกับพี่ชิวไปแล้ว หวังว่าเพื่อนๆที่มีความสนใจในสายงาน UX Researcher /  Designer คงจะได้ข้อมูลที่เป็นประโยนช์กันนะคะ และถ้าใครสนใจจะร่วมงานกับทีม UX/UI ตอนนี้ที่ Predictive เปิดรับทีม UX/UI Designer และตำแหน่งอื่นๆอีกหลายตำแหน่ง กดลิงค์ด้านล่างเพื่อกรอกใบสมัครได้เลย