สร้างอนาคตด้วยการมองการไกลไปสู่อนาคตอย่างต่อเนื่อง

ผู้บริหารควรจะต้องมองการไกลอย่างต่อเนื่องเพื่อระบุและประเมินความเป็นไปได้ในการถูก Disrupt และพัฒนาการตอบสนองทางกลยุทธ์เพื่อนำพาองค์กรไปสู่อนาคตที่ประสบความสำเร็จ

ความท้าทายที่จะต้องเจอ

  1. บริษัทถูก Disrupt ได้จากหลายอย่าง แต่หลายๆบริษัทมักจะโฟกัสที่เทคโนโลยี ว่าเป็นสิ่งเดียวที่มาขวางทางพวกเขาอยู่
  2. หลายๆองค์กรไม่เคยเตรียมรับมือกับการถูก Disrupt มากก่อนเลย และไม่มีกระบวนการหรือขั้นตอนที่เป็นระบบสำหรับการพัฒนาสิ่งใหม่ๆ ที่จะช่วยให้องค์กรสามารถรอดพ้นจากการแข่งขันในโลกที่เต็มไปด้วยการถูก Disrupt
  3. องค์กรทั่วไปมักจะให้ความสำคัญกับกลยุทธ์ระยะสั้นมากกว่าระยะยาว และมักจะไม่จัดสรรทรัพยากรให้เพียงพอสักเท่าไหร่สำหรับกลยุทธ์ระยะยาว

สิ่งที่เราแนะนำก็คือ

ผู้บริการระดับสูงที่จะต้องเป็นฝ่ายกำหนดทิศทางให้กับบริษัทนั้น จะต้องมีวิสัยทัศที่จะมองไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่องจริงๆ โดย


วางกลยุทธ์ที่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ ซึ่งจำเป็นจะต้องเป็นกลยุทธ์ที่ทำให้เห็นถึงจุดบอดและปัญหาต่างๆที่ไม่เคยเจอมาก่อนด้วย

3 คุณสมบัติที่ผู้บริหารควรมีเพื่อให้องค์กรเป็นองค์กรที่เตรียมตัวให้พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ และสามารถตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตที่อาจจะมาขัดขวางการเติบโตงบริษัทได้เป็นอย่างดี
– วิศัยทัศในการใช้ Data และ Technology อย่างมีเป้าหมาย เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน
– สามารถคาดการณ์ได้ว่าเหตุการณ์ใดเป็นโอกาส หรืออุปสรรค เพื่อให้องค์กรสามารถคว้าโอกาสและรับมือกับอุปสรรคนั้นๆได้อย่างทันเวลา
– เต็มใจที่จะรับความเสี่ยงเพื่อการเติบโตในระยะยาว แม้ว่าความเสี่ยงนั้นจะทำให้กำไรในปีปัจจุบันลดลง


ดำเนินการต่างๆโดยใช้ ASAP: 4 Action Sets ได้แก่ acquire, synthesize, advocate และ prepare เพื่อให้เกิดมารตรฐานเดียวกันทั้งองค์กร ในการจะหา Signal หรือ Trend ต่างๆที่จะเกิดขึ้น

ASAP: 4 action sets ที่จะต้องทำอย่างต่อเนื่องนั้น ได้แก่
1. Acquire: การเข้าถึงเทรนด์ต่างๆที่จะเกิดขึ้นได้ จากทุกๆแหล่งข้อมูลที่เราจะสามารถเข้าถึงได้ ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

Hard Trend: สิ่งที่เรารู้อยู่แล้วว่าจะเกิดขึ้นแน่ๆ เช่น กฎหมายที่จะบังคับใช้ หรือการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่จะเกิดขึ้นเช่นการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นทุกๆ 4 ปี
Soft Trend: สิ่งที่จะเกิดขึ้นจากสมมุติฐานหรือสัญญาณที่ได้จากข้อมูลที่เก็บมา

2. Synthesize: ระบุแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบกับองค์กร หรือ รวบรวมข้อมูลทั้งหมดที่มี ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี เช่น เรียนรู้รูปแบบของการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น หรือ วางแผนสถานการณ์ต่างๆ หลังจากนั้นให้เลือกเพียงแค่ข้อมูลชุดที่จะส่งผลกระทบมากที่สุดต่อองค์กร

3. Advocate: ให้ทั้งทีม และทั้งองค์กรเห็นด้วยกับทิศทางการทำงานและความเป็นไปได้ของแผนการดำเนินการที่จะพาองค์กรก้าวไปข้างหน้าตาม Action Step ซึ่งสามารถทำได้โดยการสร้างการมีส่วนร่วมภายในองค์กร และสื่อสารให้ทั้งองค์กรเห็นภาพของเรื่องราวที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อให้ทีมได้เตรียมความพร้อมขอตัวเอง และช่วยให้เราได้ไอเดียใหม่ๆในการแก้ปัญหาจากทุกๆทีมด้วย

4. Prepare: ตัดสินใจว่าจะเริ่มดำเนินการที่ไหน (ฝั่ง Online หรือ Offline) และเมื่อไหร่บ้าง หากไม่มีการวางแผนพร้อม Timeline การดำเนินการทั้งหมดที่ผ่านมาจะสูญเปล่าทันที


พัฒนา ASAP 

ที่ใช้สำหรับวิเคราะห์แนวโน้ม (Trend) แต่ละขั้นตอนของข้อ 2 มาพัฒนาเพื่อหาวิธีการวางแผนใหม่อยู่เสมอให้เราสามารถนำ Trend Insight ที่ได้มา Take Action ต่อได้ในเวลาอันสั้น


ใช้ 5 Future Horizons

กำหนดแนวทางการดำเนินการต่างๆโดยพิจรณาจากสิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตและผลกระทบต่างๆด้วย พร้อมทั้งติดตามผลการดำเนินการต่างๆอย่างใกล้ชิด

  1. NOW: โฟกัสที่สถานการณ์และผลกระทบต่างๆที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน หรือหากคุณมองเห็น Disrupt Trend ที่จะเกิดขึ้นก็สามารถโหกัสในตอนนี้ได้เลย
  2. NEXT: ระบุให้ได้ว่าเมื่อไหร่คือเวลาอันสมควรที่จะบอกให้ทั้งองค์กรทราบถึงการมีอยู่ของ Disrupt trend
  3. NEVER: ไม่ตกใจไปกับเทรนด์ที่ยังไม่มีตัวกระตุ้นใดใดซึ่งอาจจะเป็นข่าวปลอม แต่ก็ไม่ควรปิดโอกาสให้กับทางเลือกใหม่ๆด้วยเช่นกัน
    และไม่สร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ซับซ้อนจนเกิดการรบกวนต่อทีมทำงาน โดยมุ่งเน้นที่การสร้างบรรยากาศที่ทำให้ทีมรู้สึกถึงทางเลือกที่สามารถปรับเปลี่ยนได้อยู่เสมอ 
  4. NEW: หลีกเลี่ยงสิ่งที่จะส่งผลกระทบกับ Moonshot (เป้าหมายระยะยาวที่ตั้งไว้) และทั้งผู้บริหารและทีมต้องติดตามขั้นตอนการดำเนินงานกันอยู่ตลอดเวลาด้วย
  5. NEEDED: องค์กรจำเป็นต้องเลือกเป้าหมายสำคัญที่สุดเพื่อให้ทีมมีทิศทางในการทำงาน และต้องชัดเจนใน Mission และ Value 

สุดท้ายแล้ว สิ่งที่จะช่วยให้องค์กรสามารถมองไปข้างหน้าได้อย่างต่อเนื่องก็คือ Data ที่เก็บมาอย่างถูกวิธี และถูกจัดเก็บไว้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับการใช้งาน และพร้อมสำหรับการนำไปใช้งานด้านอื่นๆในอนาคตด้วยเช่นกันในกรณีที่เราพบ Signal บางอย่างจาก Data และต้องการนำชุดข้อมูลนั้นๆออกมาวิเคราะห์อีกครั้งตาม Signal ที่พบเพื่อพิสูจน์ว่า Hypothesis นั้นๆถูกต้องหรือไม่ หากองค์กรของคุณต้องการเก็บ Data หรือนำ Data ที่มีอยู่มาใช้งานสำหรับการพยากรณ์หรือคาดเดาสิ่งที่จะส่งผลกระทบในอนาคต สามารถติดต่อ Predictive ได้เลย และเรายินดีให้คำปรึกษาเบื้องต้นโดยไม่มีค่าใช้จ่าย

How we can help

Fill out the form below to discuss your needs or learn more about our services

"*" indicates required fields

Name*
Please let us know what's on your mind. Have a question for us? Ask away.