ตรวจสอบคุณภาพ Meta Tag ด้วยตัวเอง ด้วย Plugin META SEO Inspector

ตรวจสอบคุณภาพ Meta Tag ด้วยตัวเอง ด้วย Plugin META SEO Inspector

SEO หรือ Search Engine Optimization คงเป็นคำที่คุ้นหูนักการตลาดหลายๆ ท่าน หากธุรกิจมีการทำ SEO ที่ถูกต้อง ครบถ้วนนั้นสามารถเพิ่ม Quality Traffic จำนวนมากให้กับแบรนด์ ซึ่งนำไปสู่การเพิ่ม Conversion ตามเป้าหมายของแบรนด์ในที่สุด 

องค์ประกอบสำคัญของการทำ SEO คือการทำ Meta Tag ที่ดี ซึ่งส่งผลให้ Search Engine เช่น Google เข้ามาจัดอันดับ และแสดงผลเว็บไซต์ของเราในลำดับที่สูงขึ้น 

นักการตลาด หรือ ผู้บริการจะตรวจสอบคุณภาพของ Meta Tag ด้วยตัวเองได้อย่างไร วันนี้ทาง Predictive จะแนะนำ Plugin ที่ช่วยให้คุณสามารถตรวจสอบเว็บไซต์ง่ายๆ ผ่าน Meta SEO Inspector รวมถึงยกตัวอย่างและวิธีการใช้งานเบื้องต้นครับ

Meta Tag คืออะไร? 

Meta Tag คือส่วนประกอบสำคัญของ SEO ซึ่งก็คือข้อความต่างๆ ที่ซ่อนอยู่ใน Code HTML หลังบ้านนั่นเอง ตามตัวอย่างรูปด้านล่าง

Page source code ซึ่งจะแสดงในรูปแบบของ HTML

Meta Tag มีความสำคัญกับ SEO อย่างไร? 

Meta Tag จะเป็นตัวที่ทำ trigger ให้ Search Engine ต่างๆ เช่น Google สามารถเข้ามาจับคำค้นหาได้ง่าย โดยเฉพาะเมื่อใดก็ตามที่ users มีการค้นหาโดนใช้ keyword ที่เกี่ยวข้อง กับเนื้อหาที่เรามี 

อ่านเพิ่มเติม : SEO (Search Engine Optimization) ทำไมถึงสำคัญ? ได้ที่นี่

ตรวจสอบ Meta Tag ที่สำคัญเบื้องต้น ด้วย Plugin META SEO Inspector

  1. ดาวน์โหลด Plugin Meta SEO Inspector ผ่าน Chrome Web Store เพื่อทำการติดตั้ง 
  1. หลังจากทำการติดตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้เข้าไปยังหน้าเว็บที่เราต้องการจะตรวจสอบ เสร็จแล้วกดคลิกที่ตัว Plugin ได้เลย 
  1. หลังจากรัน Plugin แล้ว โปรแกรมจะดึง ส่วนประกอบที่สำคัญทาง SEO ขึ้นมา (SEO Components) โดยข้อดีของ Plugin ตัวนี้ คือสามารถกรอง HTML code ส่วนอื่น ๆ ที่ไม่จำเป็นออกไปเพื่อให้ users ทั่วไป สามารถดูได้เข้าใจง่ายมากขึ้นนั้นเอง 

META SEO Inspector ควรดูตรงไหนบ้าง? 

อันนี้เราจะรวบรวมเฉพาะส่วนประกอบทาง SEO เบื้องต้นที่สำคัญก่อน เพื่อให้สามารถเข้าถึงผู้อ่านทุกท่านได้ง่ายกว่า

1. Canonical Tags

Canonical Tags คือ Tag ที่กำหนด URL ให้ Bot ของ Search Engine ทราบว่า URL หลักที่ควรให้ Authority และจดจำ (Index) คือ URL ใด  

ในบางครั้งหากเว็บไซต์ มีบาง URL ที่มีเนื้อหาเหมือนกัน (Duplicated Content)​ หากไม่ต้องการหน้าที่มีเนื้อหาซ้ำกันแสดงผลบนหน้าค้นหา (Search Engine Results Page หรือ SERPs) ก็ต้องระบุ Canonical Tags กำกับไว้  

ข้อแนะนำ : หาก เป็นหน้าที่มี URL Structure ไม่มีความซับซ้อนมาก แนะนำให้ใส่ URL เดียวกันกับหน้าหลักได้เลย ยกตัวอย่างเช่น https://predictive.co.th ก็ควรจะใส่ Canonical Tag เป็น https://predictive.co.th เช่นกัน 

2. Head Title 

Head Title หรือ Page Title คือ ส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดที่ Google Bots (หรือ Search Engine Bot ตัวอื่น ๆ) จะเข้ามาตรวจสอบ ซึ่งถ้าเรียกให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือการชื่อหน้าของ Page นั้น ๆ นั่นเอง 

ข้อแนะนำ : ควรจะมี keyword ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาของหน้าให้มากที่สุด และไม่ควรมีความยาวเกิน 60 ตัวอักษร

3. Description 

Description หรือ Meta Description คือ ส่วนขยายความของหน้านั้น ๆ รองจาก Page Title เพื่อให้ Google และ users ทราบว่า หน้านั้นมีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร 

ข้อแนะนำ : ควรจะเขียนเกริ่นนำรายละเอียดของหน้านั้นให้ครบถ้วน มี keyword ประกอบรวมอยู่ด้วย และมีความยาวไม่เกิน 115 ตัวอักษร สำหรับมือถือ หรือ 160 ตัวอักษร สำหรับ Desktop

4. Robots 

Robot Tags คือ Tag ที่ใช้ในการกำหนด Google Bot ว่าควรเข้ามาตรวจสอบเว็ปไซต์หรือไม่ โดยในกรณีที่เว็ปไซต์ยังไม่พร้อมให้ Bot เข้ามา Crawl ทาง Webmaster อาจจะกำหนดให้ Robots เป็น “noindex” ไว้ 

ข้อแนะนำ : หากต้องการให้ Google Bot เข้ามาตรวจสอบ ควรใช้ code ตามนี้ <meta name=”robots” content=”follow, index 

5. Heading Tags

Heading Tag คือ Tag ที่ใช้ในการกำหนดหัวข้อต่าง ๆ ในหน้านั้น ซึ่งในหน้าหน้าหนึ่ง อาจจะมี หัวข้อหลัก หัวข้อย่อย จึงทำให้การใช้ Heading Tags จะต้องมีการแบ่งย่อยไปตั้งแต่ h1 h2 h3 ไปจนถึง h6 นั่นเอง

ข้อแนะนำ : h1 ใช้สำหรับกำหนด หัวข้อใหญ่ของหน้านั้น ยกตัวอย่างเช่น หน้าสินค้า h1 อาจต้องเป็นชื่อของสินค้า โดย h2 อาจจะเป็น หัวข้อเกี่ยวกับ คุณสมบัติของสินค้านั้น ๆ และ h3 อาจพูดถึง สาขาที่สินค้านั้นมีขาย 

ตัวอย่างการตรวจสอบคุณภาพ Meta Tag 

เพื่อให้ทุกคนเห็นภาพมากขึ้น ผมขอยกตัวอย่างของบทความที่ประสบความสำเร็จด้าน SEO ซึ่งก็คือหน้าวิธีการติดตั้ง Event Tracking เบื้องต้น  https://predictive.co.th/blog/setting-tracking-event-part1/

สาเหตุของการที่หน้านี้เป็นหน้าที่ perform ได้ดีที่สุดก็คือ : 

  • คุณภาพของเนื้อหา, มีการเล่นกับบทความประเภท How to ซึ่งบทความประเภทนี้มักจะเป็นหนึ่งในประเภทของบทความที่ users นิยมคลิกเข้ามาอ่านมากที่สุด 
  • มีการใช้ Meta Tag อย่างถูกต้อง มีการ optimize Page Title, Meta Description, Heading Tags, Images และอื่น ๆ 

สิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากมีการ optimize หน้านี้ รวมกับคุณภาพของบทความคือ หน้านี้ได้คลิกเยอะที่สุด (ไม่รวม Homepage) ในตลอดระยะสามเดือนที่ผ่านมา 

ตัวอย่างข้อมูลจาก Google Search Console

โดย keywords ที่ถูกใช้ในการค้นหาจะสอดคล้องไปกับเนื้อหาของ content ในหน้าเว็ป Predictive.co.th

ตัวอย่างข้อมูลจาก Google Search Console

สรุปเรื่อง Meta Tag สำหรับการทำ SEO

และนี่ก็คือการใช้ Plugin META Tag Inspector ในการดูส่วนประกอบที่สำคัญเบื้องต้นของ SEO โดยผู้อ่านจะสามารถนำไปใช้ในการตอบคำถามที่ว่า “ทำไมเว็บของเราถึงไม่ติด keyword คำนี้” โดยหากเกิดคำถามนี้ขึ้นมา บทความนี้จะสามารถตอบโจทย์ผู้อ่านได้แน่นอน

เริ่มต้นทำ SEO ตั้งแต่วันนี้ ที่ Predictive เรามีทีม Data Analytics ช่วยคุณวิเคราะห์ Performance ของ Organic Search ในเชิงลึก โดยเราได้รับความไว้วางใจจากแบรนด์ชั้นนำ อาทิ Krungsri Consumer Group, Ngern Tid Lor, Nivea, Levi’s และอื่นๆ มากกว่า 50 แบรนด์

Get in touch

Let's work together!

"*" indicates required fields

Name*
Please let us know what's on your mind. Have a question for us? Ask away.