Google Search Console (GSC) เป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับคนทำ SEO ในการมอนิเตอร์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาและติดตามผลการทำ SEO ว่าเพจต่างๆบนเว็บไซต์ปรากฏอยู่บน Google อย่างไรมีผู้คนมองเห็นและคลิกเข้ามามากน้อยแค่ไหน รวมทั้งใช้เวลาบนเว็บของเรานานเท่าไหร่ ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นสิ่งที่บ่งบอกประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ หรือ Page Experience ลองมาดูกันดีว่าเราควรสังเกตถึงสัญญาณอะไรบ้างจาก Google Search Console เพื่อรักษาประสิทธิภาพเว็บไซต์ให้มีคุณภาพดีเข้าไว้
เลือกอ่านหัวข้อที่คุณสนใจ
Page Experience คืออะไร สำคัญอย่างไรกับคนทำ SEO
Page Experience หรือ ประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ เป็นรายงานภาพรวมของเว็บไซต์เกี่ยวกับผู้ใช้ว่ามีความพึงพอใจต่อการใช้งานเว็บไซต์นั้นๆ มากน้อยเพียงใด ซึ่งจะแสดงผลให้คนทำ SEO รับรู้ได้ในทันทีว่ามี Url หรือ หน้าใดบ้างของเว็บที่ควรปรับปรุง แน่นอนว่าเว็บไซต์ที่มีประสบการณ์การใช้งานอยู่ในเกณฑ์ที่ Google ยอมรับว่าดีพร้อมๆ กับการมีเนื้อหาคุณภาพก็ย่อมส่งผลให้ Google เลือกจัดอันดับเว็บไซต์ไว้ในตำแหน่งที่สูงขึ้นและมีเปอร์เซ็นต์การกดออกจากเว็บไซต์ที่น้อยลง จากการวิจัยของ Google พอว่า เว็บไซต์ที่มี Page Experience ตรงตามเกณฑ์มีอัตราการกดปิดหน้าเว็บน้อยลง 24% อ้างอิง
Page Experience สามารถประเมินโดยอาศัยสัญญาณต่างๆดังนี้
1.Core Web Vitals
สัญญาณที่บ่งบอกว่าการแสดงผลของเพจบนเว็บไซต์เราเป็นอย่างไร เพราะเมื่อผู้คนคลิกเข้ามาดูเนื้อหาบนเพจก็ย่อมคาดหวังการแสดงผลอย่างรวดเร็ว ได้คำตอบต่อสิ่งที่ต้องการในทันที ถ้ายิ่งใช้เวลาโหลดนานก็ยิ่งทำให้มีประสบการณ์ที่ไม่สบอารมณ์เท่าไหร่ Core Web Vitals จะเป็นตัวประมวลการแสดงผลต่างๆ ตั้งแต่การโหลดเพื่อแสดงผล การโต้ตอบกับผู้ใช้ และ ความเสถียรของหน้าจอ
Core Web Vitals ประกอบไปด้วย
- LCP (Largest Content Paint) การโหลดหน้าเว็บเพื่อแสดงผล ควรใช้เวลาโหลดไม่เกิน 2.5 วินาที เพื่อประสบการณ์ใช้งานที่ดี
- FID (First Input Delay) การโต้ตอบกับผู้ใช้ เว็บไซต์ควรใช้เวลาตอบโต้กับสิ่งที่ผู้ใช้ต้องการเช่นคลิกกดปุ่มต่างๆภายในเวลาไม่เกิน มิลลิวินาที
- CLS (Cumulative Layout Shift) ความเสถียรของหน้าจอควรมีคะแนนไม่เกิน 0.1 ซึ่งเป็นคะแนนความคลาดเคลื่อนระหว่างสิ่งที่หน้าจอแสดงเปรียบเทียบกับการใช้งานจริง
ซึ่งหากเราอยากรู้ว่าค่าคะแนน Core Web Vitals ของเราเป็นอย่างไรสามารถเช็คได้เลยตอนนี้ที่ Page Speed Insights
2.Mobile-Friendly
อย่างที่เราคนทำ SEO รู้และสัมผัสด้วยตัวเองดีว่าผู้คนส่วนใหญ่บนโลกมีการเข้าถึงเว็บไซต์ต่างๆ ผ่านมือถือซึ่งในประเทศไทยกว่า 69.98% ของผู้ใช้เข้าถึงเว็บไซต์ผ่านสมาร์ทโฟน เทียบกับ 27.49% ที่เข้าเว็บไซต์ผ่านคอมพิวเตอร์ อ้างอิง การทำ SEO ที่ดีจึงต้องคำนึงถึงการใช้งานเว็บไซต์บนหน้าจอขนาดเล็กเท่าฝ่ามือของเราเช่นกัน สามารถเช็คได้เลยตอนนี้ที่ Mobile-Friendly Test ทั้งนี้หากเราต้องการรู้แน่ชัดว่าเว็บไซต์ของเราเกิดปัญหาอะไรได้บ้างก็สามารถพึ่งพาตัวช่วยประเมินประสิทธิภาพอย่าง Mobile Usability ที่มีอยู่แล้วบน GSC ได้เช่นกัน
Errors ที่อาจพบเจอเมื่อเข้าเว็บไซต์ผ่านมือถือ
- การติดตั้งปลั๊กอินที่ไม่เข้ากัน เช่น Flash ที่มือถือส่วนใหญ่แล้วไม่ค่อยรองรับ
- ไม่ได้ตั้งค่า Viewport ทำให้ browser ไม่สามารถแสดงผลหน้าเว็บให้เหมาะสมกับหน้าจอมือถือได้
- ตั้งค่า Viewport เป็น Fixed-Width ทำให้ไม่สามารถปรับเปลี่ยนหน้าเว็บให้ตรงกับขนาดหน้าจอได้ในขณะแสดงผล
- เนื้อหายาวเกินหน้าจอมือถือ ไม่ว่าจะรูปภาพหรือข้อความแต่การตั้งค่า CSS ไปแล้วอย่างตายตัวทำให้ไม่สามารถไถจอในแนวนอนเพื่อดูเนื้อหาเต็มๆ ได้
- ข้อความเล็กเกินไปเมื่อเทียบกับความกว้างของหน้าจอมือถือ ทำให้ผู้ใช้อ่านเนื้อหาต่างๆ ได้ยากลำบาก
- ส่วนที่คลิกได้อยู่ใกล้กันเกินไป ไม่ว่าจะปุ่มต่างๆ หรือลิงก์ใดๆ หากจัดวางให้อยู่ใกล้กันเกินไปจะยิ่งเพิ่มความสับสนให้กับผู้ใช้จนไม่สามารถใช้งานหน้าเว็บได้ดังต้องการ
3.HTTPS
ก่อนที่จะเข้าใจว่าทำไม Google ถึงเพิ่มรายงานนี้เข้ามาบน GSC อาจจะต้องเกริ่นถึง HTTP (Hypertext Transfer Protocal) ซึ่งเป็นวิธีการถ่ายโอนดาต้าของแต่ละหน้าเว็บผ่านเน็ตเวิร์กหรือเครือข่าย โดยที่หน้าเว็บเหล่านี้ถูกจัดเก็บไว้บนเซอร์เวอร์และจะเข้าถึงได้ผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ เสียแต่ว่าบรรดาข้อมูลที่ถูกถ่ายโอนด้วยวิธี HTTP นั้นยังไม่ถูกเข้ารหัส ทำให้การเชื่อมต่อนี้ไม่เป็นส่วนตัวและสุ่มเสี่ยงที่จะถูกโจมตีเพื่อขโมยข้อมูลได้ ด้วยเหตุนี้เว็บไซต์ที่มีการรักษาความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวให้กับผู้ใช้จึงเป็นรูปแบบของ HTTPS (Hypertext Transfer Protocal Secure) หรือเว็บไซต์ที่ผ่านการรับรอง SSL Certificate และถูกต้องตามกฏหมาย เพื่อความปลอดภัยของการเชื่อมต่อระหว่างเบราว์เซอร์และเซอร์เวอร์
นี่จึงเป็นเหตุผลว่า Google จึงต้องเพิ่มรายงานตัวใหม่นี้เข้ามาบน GSC นั่นก็คือเพื่อให้ผู้ดูแลเว็บไซต์สามารถรู้ได้ว่าเว็บของเรานั้นได้ให้ความคุ้มครองกับความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของผู้ใช้หรือไม่และมีหน้าเว็บใดบ้างที่ควรปรับปรุง ทิศทางความเปลี่ยนแปลงนี้สอดรับกับกฏหมาย PDPA ที่ได้ประกาศใช้เรียบร้อยแล้วโดยจะเห็นได้ว่าผู้ใช้ส่วนใหญ่ต่างให้ความสำคัญเรื่องความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งหากเว็บไซต์ของเรายังไม่ได้ยืนยันว่าเป็นรูปแบบ HTTPS ที่เป็นปราการป้องกันการโจรกรรมข้อมูล Google จะแสดงผลเตือนตรงช่อง Url ทันทีว่าเว็บไซต์นี้ไม่ปลอดภัยและอันตรายต่อข้อมูลส่วนบุคคล แน่นอนว่าย่อมส่งผลต่อความไว้วางใจของผู้ใช้ในการใช้งานเว็บไซต์ต่อไป
ที่มาข้อมูล Google Search Central
Get in touch
Let's work together!
"*" indicates required fields