รู้จัก Event Tracking พร้อมติดตามผู้ใช้งานระดับพฤติกรรม

ทุกเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันย่อมมีเป้าหมาย ก่อนที่ผู้ใช้งานจะไปถึงเป้าหมาย ย่อมมีพฤติกรรมจำเพาะบางอย่างแฝงอยู่ภายใน

Event tracking จะเป็นตัวกางแผนพฤติกรรมที่เกิดขึ้นทั้งหมดออกมาให้เราดู และนั่นคือสิ่งที่เราจะมาทำความรู้จักกันในวันนี้ครับ

ทำไมต้องทำ Event Tracking

หากเราเป็นเจ้าของเว็บไซต์ขายเสื้อผ้าสักเว็บหนึ่ง เป้าหมายปลายทางของเราก็คงจะหนีไม่พ้นการที่อยากให้คนมาซื้อเสื้อผ้าเราเยอะๆถูกไหมครับ
ณ ตอนนี้หากคุณใช้ Google Analytics คุณก็จะมีข้อมูลว่า

  • ผู้ใช้เป็นใคร
  • ผู้ใช้เข้ามายังไง
  • มาที่หน้าไหนเป็นหน้าแรก
  • ไปใช้งานหน้าไหนต่อบ้าง
  • ซื้อเสื้อของเราไปกี่ตัว สีอะไร ไซส์อะไร
  • ฯลฯ

ซึ่งถามว่าพอไหม.. ไม่พอครับ

เราจะรู้ได้อย่างไรว่า

  • ยอดขายที่ได้คือยอดขายที่ควรจะเป็น
  • ผู้ใช้ประสบปัญหาในการใช้งานเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันหรือเปล่า
  • ผู้ใช้งานสนใจปุ่มหรือ section ต่างๆของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันของมากแค่ไหน
  • ก่อนจะซื้อเสื้อของเรา ผู้ใช้งานมีพฤติกรรมอย่างไร
  • ผู้ใช้งานเข้ามาในส่วนที่เราต้องการให้เห็นมากแค่ไหน

ซึ่งนี่เป็นแค่คำถามเบื้องต้นที่สามารถตอบได้เท่านั้น และนี่แหละครับคือความสำคัญของ event tracking

Event tracking in Google Analytics

จริงๆแล้ว Event Tracking คืออะไร

Event tracking เป็นหนึ่งใน feature ของ Google Analytics ที่ทำให้เราสามารถบันทึกกิจกรรมใดๆก็ตามของผู้ใช้งานที่เกิดขึ้นบนเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันของเรา ด้วย event tracking เราสามารถบันทึกกิจกรรมเหล่านี้ได้

  • กดปุ่มสมัครรับ e-mail
  • ดาวน์โหลด PDF
  • คลิกลิงค์ไปนอกเว็บไซต์
  • คลิก filter ในส่วนค้นหา
  • เข้าเมนูไหนมากเป็นพิเศษ

  • ดูวีดิโอจนจบ
  • กรอกฟอร์มลงทะเบียน
  • คลิกปุ่มโทรติดต่อ
  • เลื่อนมาถึงส่วนไหนในหน้าเพจ
  • แชร์เนื้อหาของเรา

จะเห็นได้ว่ากิจกรรมเกือบที่หมดที่เกิดขึ้นบนเว็บไซต์ของเรา Google Analytics สามารถดักจับไว้ได้เกือบหมด เพราะฉะนั้นก็ขึ้นอยู่กับความต้องการของเราแล้วล่ะครับ ว่าอยากเก็บอะไรไว้บ้าง

โครงสร้างของ Event Tracking ใน Google Analytics

มาถึงตรงนี้ เรารู้จัก event tracking กันมากขึ้นแล้ว ทีนี้เรามาเข้าใกล้การวางแผนตั้งชื่อกันให้มากขึ้นกันครับ

Event ใน Google Analytics จะแบ่งออกเป็น 4 ส่วนดังนี้

Dimension/Metric ชนิดตัวแปร รายละเอียด
Event Category String section ของจุดที่เกิดกิจกรรมนั้นๆขึ้น เช่น header, footer
Event Action String ชนิดของกิจกรรม เช่น click, view, download
Event Label String ชื่อปุ่ม / ไฟล์ / วีดิโอ / filter ที่เกิดกิจกรรมนั้นๆ เช่น Contact Us, Blog
Event Value Integer ค่าของกิจกรรมนั้นๆ อาจตีค่าเป็นเงิน หรือตัวเลขใดๆก็ได้

หลังจากเรารู้ว่าแต่ละอันคืออะไรแล้ว แต่เชื่อว่าหลายๆคนอาจจะยังงงอยู่ว่ามันใช้ร่วมกันยังไง

ในเชิงของการเก็บข้อมูลนั้น Event Category, Event Action, Event Label, และ Event Value ถูกเก็บแยกจากกัน

แต่ตอนดู report เราจะต้องดูพร้อมกัน และในท้ายที่สุดเราควรที่จะต้องตั้งชื่อให้สอดคล้องกันเพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์ data ได้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

หลักการตั้งชื่อ Event

เนื่องจากชื่อทุก event จะถูกส่งเข้าไปเก็บรวมกันใน Google Analytics เพราะฉะนั้นหากเราไม่วางแผนตั้งชื่อดีๆ สุดท้ายแล้วอาจทำให้เราอ่าน report ไม่รู้เรื่องได้ในท้ายที่สุด

หลักการตั้งชื่ออย่างง่ายคือ

ถ้าดูชื่อที่ตั้งไว้ใน report Event category, Event Action, และ Event Label แล้วต้องรู้ว่าปุ่มนั้นๆอยู่ที่ไหนในหน้าเว็บไซต์

หากมองวิธีตั้งชื่อให้เป็นภาพ จะออกมาเป็นเหมือนภาพข้างล่างนี้ครับ
***ย้ำอีกครั้งว่าภาพข้างล่างไม่ใช่วิธีการเก็บข้อมูลใน BigQuery เป็นเพียงภาพที่ใช้ในการตั้งชื่อ Event เท่านั้น

Event naming convension

ตัวอย่างการตั้งชื่อ Event

สมมติว่าผมจะตั้งชื่อให้ปุ่ม Our Services ตรงส่วน header ของเว็บไซต์

Predictive website

ถ้าอิงจากหลักการข้างบนชื่อที่ได้จะเป็น

Dimension Name Description
Event category header เป็น section header ในหน้าเว็บไซต์
Event action click การกระทำที่เกิดขึ้นคือ click
Event label our_services ปุ่มที่ถูก click คือ Our Services

จะเห็นได้ว่าถ้าดูชื่อโดยที่ไม่ดูภาพ เราก็ยังรู้ได้อยู่ดีว่าปุ่มนี้คือส่วนไหนในหน้าเว็บไซต์

การนำ Event Tracking ไปใช้งานจริง

หลังจากเรารู้ว่า Event tracking คืออะไรไปจนถึงการตั้งชื่อแล้ว ต่อไปคือส่วนที่สำคัญที่สุด นั่นคือ การเอาไปใช้งานจริง

ดูว่าแบบฟอร์มเรามีปัญหาตรงไหน

Predictive lead form

หากเราไม่ได้ track event เอาไว้เราก็จะรู้ว่าจำนวนคนที่มากรอกแบบฟอร์มเรามีจำนวนเท่าไหร่ เพียงแค่นั้น

แต่ถ้าเรา track event ในฟอร์มของเรา เราจะสามารถรู้ได้ว่าผู้ใช้งานกรอกมาถึงช่องไหนแล้วเลิกกรอกไป หรือโดยภาพรวมแล้วผู้ใช้งานติดปัญหาที่ช่องไหนเป็นพิเศษ เราก็สามารถปรับปรุงฟอร์มเราให้ดีขึ้นได้ อย่างเช่น ถ้าเพิ่มช่องเก็บข้อมูลที่อยู่เข้าไปจะทำให้มีคนกรอกน้อยลงหรือเปล่า หรือถ้าลบบางช่องออกไปจะทำให้มีคนกรอกเพิ่มขึ้นหรือไม่

มีปุ่มเดียวกันหลายที่ จะรู้ได้อย่างไรว่าผู้ใช้กดตรงไหน

จากหน้าแรกของเว็บ Predictive จะเห็นว่ามีปุ่ม Contact อยู่สองที่คือด้านบนและด้านล่าง

การ track event จะทำให้เรารู้ได้ว่าปุ่มไหนมีคนคลิกมากกว่ากัน ซึ่งถ้าหากเป็นข้างล่าง เราอาจจะนำข้อความหรือปุ่มอะไรที่น่าสนใจไปวางไว้แถวนั้นเพิ่มเติมได้ หรืออย่างน้อยที่สุดเราจะรู้ได้ว่าผู้ใช้มีความสนใจเนื้อหาในหน้าแรกของเราประมาณนึง จนทำให้เขาไล่มาถึงส่วนสุดของหน้าเพจได้

ขั้นตอนต่อไป…

ตอนนี้เชื่อว่าผู้อ่านทุกคนน่าจะเข้าใจภาพรวมของ Event tracking มากขึ้นแล้วใช่มั้ยครับ ถ้าผู้อ่านคนไหนเป็นเจ้าของเว็บไซต์/แอปพลิเคชัน รอติดตามชมตอนต่อไปได้เลยครับ ในบทความต่อไปเราจะมาเล่าถึงวิธี setup event tracking ใน Google Analytics กัน หรือหากสนใจอยากให้ทาง Predictive ช่วยวางแผนการเก็บข้อมูลเพื่อไปต่อยอดต่อทางธุรกิจสามารถติดต่อได้ที่ Contact Form

Get in touch

Let's work together!

"*" indicates required fields

Name*
Please let us know what's on your mind. Have a question for us? Ask away.

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *