10 เรื่องต้องรู้ของการทำ SEO เพิ่มประสิทธิภาพเว็บไซต์

ในช่วงเวลาที่คนส่วนใหญ่คุ้นเคยกับโลกออนไลน์มากขึ้น มีข้อมูลประมาณการจาก Hubspot ว่าทุกๆ 1 วินาทีมีปริมาณการค้นหาบน Google กว่า 63,000 ครั้งเลยทีเดียว 

ธุรกิจเราจะทำอย่างไรให้เมื่อไหร่ที่เขาเสิร์ช เว็บไซต์ของเราไปขึ้นอยู่ในหน้าแรกของผลการค้นหา และมีความน่าสนใจมากพอที่จะดึงดูดลูกค้าใหม่ๆ เข้ามาในเว็บไซต์ได้ในที่สุด

คำตอบก็คือเว็บไซต์ต้องมีการทำ Search Engine Optimization (SEO) ที่ดีนั่นเอง 

จากการสำรวจจาก Gartner พบว่าการทำ SEO นั้นเป็นวิธีการสร้าง Lead ที่มีคุณภาพอันดับต้นๆ เลยทีเดียว เพราะส่วนใหญ่คนที่เข้ามาหน้าเว็บไซต์ของเราในรูปแบบ Organic Traffic นั้นต้องการสิ่งที่สามารถตอบโจทย์ให้เขาได้อยู่แล้ว ทาง Brightedge ก็เห็นได้ว่า SEO นั้นสามารถ Contribute ในด้านรายได้ให้กับธุรกิจมากถึง 58.8% ยิ่งไปกว่านั้นในบาง Segment เช่น Technology ซึ่งมีสัดส่วนมากกว่า Paid Search และ Social เสียอีก 

ซึ่งปัจจุบันการทำ SEO นำมาใช้ให้ก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านการสร้าง Lead, สร้างรายได้ทาง E-Commerce หรือสร้าง Community เพื่อไปต่อยอดทางธุรกิจต่อ

วันนี้ทาง Predictive จะพาทุกท่านไปเจาะลึกการทำ SEO กันมากขึ้น เช่น KPI ของ SEO คืออะไร , SEO ต่างจาก SEM ยังไง เริ่มอันไหนก่อนดี และอื่นๆ อีกมากมาย ถ้าพร้อมแล้วไปอ่านกันได้เลยค่ะ

Q1 : SEO คืออะไร มีความสำคัญยังไง 

SEO เป็นกระบวนการที่จะช่วยให้เว็บไซต์ของแบรนด์ขึ้นหน้าแรกของการค้นหาบน Search Engine โดยไม่ต้องเสียเงินค่าโฆษณา ซึ่งการจะทำ SEO ให้สำเร็จนั้นประกอบด้วย 2 องค์ประกอบหลักๆ ได้แก่ 

  1. On-page คือ เนื้อหา และ โครงสร้างต่างๆที่อยู่ภายในเว็บไซต์ของเรา เช่น ความเร็วในการโหลดหน้าเว็บ (Page Speed), ขนาดของภาพ (Image Size) ที่อยู่ในหน้าเว็บไม่ใหญ่เกินไป, รูปแบบการจัด Heading ที่อยู่ภายในหน้าเว็บ 
  2. Off-page คือปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อเว็บไซต์ของเรา เช่น  เว็บไซต์ต่างๆ มีการลิงก์มาหาเว็บไซต์เรา (Backlink) มากน้อยแค่ไหน ยิ่งมีเว็บไซต์คุณภาพลิงก์กลับมาหาเว็บไซต์เรามากเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำให้เว็บเรานั้นดูมีคุณภาพดีขึ้นในสายตาของ Search Engine มากเท่านั้น

การทำ SEO ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้แบรนด์ในระยะยาว ทำให้แบรนด์ได้ Lead ที่มีคุณภาพจริงๆ โดยไม่ต้องเสียเงินซื้อโฆษณา และแม้จะหยุดทำ SEO สักพัก ก็ไม่ส่งผลต่ออันดับของเว็บไซต์ใน Search Engine มากนัก

อ่านเพิ่มเติม : SEO (Search Engine Optimization) ทำไมถึงสำคัญ? ได้ที่นี่

Q2 : ทำไมถึงต้องทำ SEO 

จากข้อมูลของ SEOTribunal.com พบกว่า ทุกๆ 1 นาทีจะมีคนเข้าเสิร์ชหาสิ่งที่ต้องการบน Google กว่า 3.8 ล้านครั้งเลยทีเดียว และจำนวนการเสิร์ชต่อวันนั้นมากถึง 5.6 พันล้านครั้ง 

โดยเว็บไซต์ที่ขึ้นอยู่ในหน้าแรกๆ ของการค้นหานั้น มีโอกาสที่จะลูกค้าจะ Click เข้าชมเว็บไซต์มากกว่าลำดับหลังๆ อย่างมีนัยยะสำคัญเลยทีเดียว ดังนั้นการที่เว็บไซต์มี SEO ที่ดีนั้นจะมีข้อดีดังนี้ 

  1. ทำให้เว็บไซต์ของเราได้รับการจัดอันดับ (Rankings) ที่ดีขึ้น 
  2. เพิ่มเข้านวน Traffic เข้าสู่เว็บไซต์ 
  3. เพิ่มจำนวน Conversion 
  4. UX/UI (Customer Signal) 
  5. สนับสนุนการทำ SEM เนื่องจากมี Quality Score ที่มากขึ้น 
  6. เอาชนะคู่แข่งได้ในระยะยาว 

Q3 : เริ่มทำ SEO ตอนไหนจะดีที่สุด 

คำตอบก็คือ เริ่มทำตั้งแต่ตอนนี้เลยค่ะ แต่ช่วงเวลาที่ดีที่สุดคือตั้งแต่ช่วงที่ยังไม่ Launch เว็บไซต์

เปรียบเทียบให้เห็นภาพง่ายๆ เว็บไซต์ของเราก็เหมือนการมีร้านค้าบนโลกออนไลน์ การที่ยิ่งเราเริ่มต้นเร็วเท่าไหร่ ก็สามารถออกแบบโครงสร้างของร้านค้าที่ดีได้เท่านั้น เช่นออกแบบร้านค้าให้เป็นหมวดหมู่ (Site Structure) วิธีการจัดการ Operations ต่างๆ (Meta Tag)  เป็นต้น 

ดังนั้นยิ่งเริ่มต้นทำ SEO เร็วเท่าไหร่ ก็ยิ่งดีมากเท่านั้น เพื่อทำให้ร้านค้าออนไลน์ หรือเว็บไซต์ของเราน่าเข้า และถูกจัดอันดับในหน้าแรกๆ 

Q4 : การทำ SEO นั้นทำครั้งเดียวจบ หรือ ต้องทำไปเรื่อยๆ

การทำ SEO นั้นเป็นเหมือนการดูแลร้านค้าออนไลน์ของเรา ซึ่งต้องหมั่นดูแลและปรับปรุงอยู่เสมอ เพราะมีหลายๆ ปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา 

ในส่วนที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานของเว็บไซต์ ที่สามารถทิ้งระยะเวลานานหน่อยแล้วค่อยเข้ามาตรวจสอบได้ เช่น โครงสร้างของเว็บไซต์ (Site Structure) วิธีการจัดหมวดหมู่สินค้า 

แต่ในช่วงเวลาที่เราเปิดร้านอยู่ และอยากให้ลูกค้าเข้ามาใช้บริการร้านค้าของเรามากขึ้น เราก็ต้องหมั่นศึกษาเทรนด์ของลูกค้าในช่วงนั้นๆไปด้วย ว่าลูกค้าชอบอะไร มีพฤติกรรมส่วนไหนที่เปลี่ยนไปหรือไม่ หรือมีคู่แข่งเจ้าใหม่ๆ เข้ามาในตลาดหรือไม่ จึงต้องมีการทำ Keyword Research เพื่ออัปเดทเทรนด์เรื่อยๆ 

นอกจากนี้ยังต้องหมั่นอัปเดท Algorithm ของ Google อีกด้วย เพื่อปรับเปลี่ยนหน้าเว็บไซต์ให้เป็นไปตามกฎนั้นเพื่อให้ทาง Google เลือกเว็บไซต์เราให้ขึ้นไปโชว์เป็นหน้าแรกๆ 

Q5 : ทำ SEO แล้ว เมื่อไหร่จะเห็นผล

การทำ SEO นั้น ต้องหมั่นทำ หมั่นอัปเดทเว็บไซต์เรื่อยๆ ซึ่งจะเห็นผลเมื่อไหร่นั้นขึ้นอยู่กับความยากง่ายของ Keyword 

หากเป็น Branded Keyword หรือคำอื่นๆ ที่มี Search Volume ที่น้อย และ คู่แข่งไม่เยอะก็มีโอกาสที่จะเห็นผลได้ไวกว่า แต่หากเป็น Generic Keyword ที่มีคู่แข่งจับจองอยู่แล้ว ก็จะต้องใช้เวลานานมากขึ้น ทั้งนี้ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับ external factor อื่นๆ ด้วย เช่น website age, on-page และ off-page performance ของคู่แข่ง ถ้าเราทำได้ดีกว่าก็มีโอกาสจะติดอันดับที่ดีกว่า

อ่านเพิ่มเติม : 10 องค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้เว็บไซต์ของคุณมีโอกาสติดหน้าแรกใน Google ได้ที่นี่ 

Q6 : KPI ของ SEO คืออะไร 

หลักๆ การทำ SEO นั้นจะมี KPI อยู่ 2 อย่างคือ 

  1. Organic traffic : จำนวน Organic Traffic ที่เข้าชมเว็บไซต์ในแต่ละเดือน 
  2. Keyword ranking: คำ Keyword ที่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็น Branded Keyword, Non-Branded Keywords ติด Ranking ที่หน้าไหนของ SERP (Search Engine Result Page)

ซึ่งตัวเลขเป้าหมายที่จะ Set เป็น KPI นั้นขึ้นอยู่กับ Stage ของเว็บไซต์นั้นๆ เช่น 

เว็บไซต์ที่เปิดใหม่ ที่ไม่มีข้อมูลใดๆ ในอดีตเลย ก็ต้อง Benchmark เปรียบเทียบกับคู่แข่งในตลาด ที่อยู่ในอุตสาหกรรมที่ใกล้เคียงกัน 

หากเป็นเว็บไซต์ที่เปิดมานานแล้ว ที่พอมีข้อมูลในอดีต ในช่วงแรกๆ ตัวเลขเป้าหมายคือการทำให้เกิดตัวเลข Organic traffic , Keyword ranking, Search visibility ที่ดีกว่าในอดี และในลำดับต่อไปก็จะเริ่ม Forecast ตัวเลขที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

Q7 : แบรนด์ควรโฟกัสที่ SEO หรือ SEM ?​

จุดประสงค์ของ Search Engine Optimization (SEO) ทำให้เพิ่มการมองเห็น (Awareness) ของเว็บไซต์ของเรามากยิ่งขึ้น

จุดประสงค์ของ Search Engine Marketing (SEM) เป็นการที่แบรนด์จ่ายเงินตามจำนวนการคลิก หรือที่เรียกว่า PPC (Pay per click) เพื่อให้หน้าเว็บไซต์ติดคำ Keyword ที่เราต้องการ เมื่อแบรนด์หยุดจ่ายเงินเมื่อไหร่ โฆษณาก็จะหยุดไปด้วย ทำให้ Traffic นั้นตกลงอย่างรวดเร็ว 

ดังนั้นการจะเลือกว่าจะทำ SEO หรือ SEM จึงขึ้นอยู่กับ Stage , Budget , กลยุทธ์ทางการตลาด ของเว็บไซต์ตอนนั้น เพราะทั้ง 2 อย่างนั้นมีจุดประสงค์และประโยชน์ที่ได้รับต่างกัน

เช่น หากเป็นเว็บไซต์ที่เปิดใหม่ ไม่มีคนรู้จัก ก็วางสัดส่วนของ SEM มากกว่า SEO 

หรือ เว็บไซต์ที่จะมีการโปรโมทแคมเปญในช่วงนั้นๆ ก็จะใช้ SEM ในการเพิ่ม Awareness และเข้าถึงคนได้มากขึ้น 

อย่างไรก็ตาม ธุรกิจควรเริ่มทำ SEO ตั้งแต่วันนี้เพื่อสร้างรากฐานความน่าเชื่อถือ เพื่อสร้าง Quality ให้กับเว็บไซต์ และสร้างคะแนนจาก Google ในระยะยาว 

อ่านเพิ่มเติม SEO กับ SEM ต่างกันยังไง แล้วแบรนด์ควรโฟกัสที่อันไหน ? ได้ที่นี่

Q8: การทำ SEO ควรโฟกัสกี่ Keyword

การจะตอบได้ว่าควรโฟกัสกี่ Keyword นั้นขึ้นอยู่กับ 3 ปัจจัยคือ 

ปัจจัยแรกคือ ธุรกิจของเรามีหมวดหมู่ของสินค้า (Product Category) มากน้อยแค่ไหน 

หากธุรกิจของเรามีหมวกหมู่สินค้าที่หลากหลาย ก็ต้องใช้คำ Keyword ที่มากขึ้นเท่านั้น เพื่อให้สินค้าทั้งหมดนั้นมีคำ Keyword ที่ติดบนหน้า SERP (Search Engine Result Page) ค่ะ 

ยกตัวอย่างเช่น ในธุรกิจธนาคาร (Banking) ที่มีกลุ่มสินค้าหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น  สินเชื่อ, บัตรเครดิต, Refinance, เปิดบัญชีปกติ (ออมทรัพย์), ประกันรนยนต์, ประกันสุขภาพ, ประกันโควิด และอื่นๆ อีกมากมาย ก็ต้องมีการวางแผนคำ Keyword ของแต่ละ Category ที่แตกต่างกัน เพื่อให้เวลาที่มีลูกค้าค้นหาคำว่า “สินเชื่อ” ก็จะเจอหน้า Landing Page ที่เกี่ยวกับ สินเชื่อค่ะ

ปัจจัยที่สองคือกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย เป็นกลุ่มทั่วไป (Mass Market) หรือ ลูกค้าในกลุ่มเฉพาะ (Niche Market) 

ถ้าธุรกิจของเราเป็นที่รู้จักอยู่แล้ว เช่น ธนาคารสีต่างๆ ก็สามารถใส่ Branded Keyword ลงไปด้วยได้ เพราะมีแนวโน้มที่คนจะได้ยินแบรนด์ของเราผ่านสื่อต่างๆ แล้วมาค้นหาต่อใน Google ซึ่งสามารถทำควบคู่กับ Non Brand Keyword ที่เกี่วข้องกับหน้านั้นๆ ได้

ถ้าลูกค้าที่ Niche market หรือแบรนด์ยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก เช่น ธุรกิจขายอุปกรณ์เครื่องจักร ไว้ขาย B2B (Business to Business) ก็ไม่จำเป็นต้องใส่ Brand Keyword ลงไปมากนัก เพราะลูกค้าเป้าหมาย (Lead) นั้นอาจจะยังไม่รู้จักแบรนด์เราเลยด้วยซ้ำ ควรเน้นโฟกัสที่ Generic Keyword ที่เกี่ยวข้องกับสินค้า / บริการของเรามากกว่า 

ปัจจัยสุดท้ายคือ เป้าหมายของหน้าเว็บไซต์นั้นๆ (Page Objective) คืออะไร? 

ก่อนที่เราจะกำหนด Keyword นั้นต้องดูก่อนว่า เราต้องการให้เว็บไซต์ “หน้าไหน” ติดบน SERP (Search Engine Result Page)ในขณะเดียวกันก็ต้องไปดูว่าในหน้านั้นๆ บนเว็บไซต์ของเรามีเป้าหมายอะไร เช่น ให้ความรู้เรื่องการเลือกซื้อแว่นตาผ่านบทความ

จากนั้นต้องไปศึกษาต่อว่าแล้วลูกค้าเป้าหมายที่กำลังเลือกซื้อแว่นตานั้น เขาจะค้นหาด้วยคำ Keyword ว่าอะไรบ้าง และในคำ Keyword เหล่านั้น มีคำไหนที่ลูกค้าต้องการผลลัพธ์การค้นหาใน “รูปแบบบทความ”ให้ความรู้เรื่องการเลือกซื้อแว่นตาบ้าง 

หลังจากที่ได้ทำ Keyword Research เบื้องต้นมีคำที่เกี่ยวข้องดังนี้ : แว่นตา , เลือกซื้อแว่นตา , รีวิวทรงแว่นตา , กรอบแว่นตาทรงเหลี่ยม 

เราก็นำ Keyword ที่เราลิสต์ออกมา เพื่อไปลองค้นหาบน Google เพื่อดูว่าผลลัพธ์การค้นหานั้นอยู่ในรูปแบบไหน เป็นบทความ , วิดิโอ , E-commerce , Landing Page และอื่นๆ และใน 1 Keyword นั้นๆ ก็สามารถแสดงผลลัพธ์การค้นหาในหลากหลายรูปแบบ 

ตัวอย่างเช่น เมื่อลองค้นหาคำว่า กรอบแว่นตาทรงเหลี่ยม ผลลัพธ์การค้นหาจะเป็น E-commerce ที่พาไปซื้อสินค้าเลย นอกจากนี้ยังแสดงผลลัพธ์ในรูปแบบบทความให้ความรู้เรื่องการเลือกซื้อแว่นให้เหมาะกับโครงหน้าอีกด้วย  ดังนั้นธุรกิจก็สามารถเลือกเอา Keyword นี้ไปใช้ได้ เนื่องจากผลลัพธ์การค้นหาที่ Google จัด Ranking นั้นมีการจัดผลลัพธ์ในรูปแบบบทความขึ้นแสดงบนหน้าแรกๆ ของการค้นหาด้วย 

ดังนั้นจำนวน Keyword ที่ควรโฟกัสจึงแตกต่างตามประเภทของธุรกิจ ลักษณะของกลุ่มลูกค้า และเป้าหมายของแต่ละหน้าเว็บไซต์

Q9 : เครื่องมือในการทำ Keyword Research เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ SEO 

เครื่องมือในการทำ Keyword Research นั้นมีหลากหลายทั้งฟรี และไม่ฟรี 

โดยวันนี้จะมาแนะนำวิธีที่ฟรี และสามารถนำไปใช้กันได้ง่ายๆ 

1. Google Trends

Google Trends เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือฟรีจาก Google ที่มีหลากหลายฟีเจอร์สที่น่าสนใจ ดังนี้

Trending Searches

ดูเทรนด์การค้นหายอดกฮิตในช่วงเวลานั้นๆ ได้แบบรายวันจาก Daily Search Trends และสามารถจับไปทำ Real-time Content ได้อีกด้วย 

DAILY SEARCH TRENDS

Explore

เลือกดูเทรนด์ปริมาณการค้นหาในแต่ละช่วงเวลา , ในแต่ละประเทศ , ในแต่ละ Device ได้ นอกจากนี้ ยังสามารถดูข้อมูลอื่นๆ เพิ่มเติมได้เช่น คำ Keyword นี้ถูกค้นหาจากจังหวัดใด และมีคำค้นหาใกล้เคียงเป็นคำว่าอะไร (Related Queries)

google trends explore
ตัวอย่างการแสดงผลบนหน้า Google Trends
ตัวอย่างการแสดงผลบนหน้า Google Trends

เมื่อเห็นข้อมูลจาก Google Trends ก็สามารถนำมาวิเคราะห์ และวางแผน Keyword ต่อได้ จากตัวอย่าง พบว่าเทรนด์การค้นหาค่อนข้างสม่ำเสมอตลอดทั้งปี และ ถูกค้นหากระจายทั่วประเทศ มากที่สุดที่ปัตตานี ลำปาง แพร่ นนทบุรี ลำพูน และมีคำค้นหาที่เกี่ยวข้อง (Related Queries) ที่น่าสนใจได้แก่ ร้านแว่นตา เราชนะ , ร้านแว่นตาใกล้ฉัน ร้านแว่นก็สามารถนำข้อมูลตรงนี้ไปตรวจเช็คธุรกิจว่า ธุรกิจของเรามีรองรับการใช้งานเราชนะหรือไม่ มีการทำ Local SEO หรือยัง และนำ Keyword เหล่านี้มาเขียนคอนเทนท์เพื่อสื่อสารคำ Keyword เหล่านี้ออกไป 

2. Google Search 

อีกหนึ่งเครื่องที่ช่วยทำ Keyword research คือ Google Search โดยก่อนอื่นเราต้องมีคำตั้งต้นของ Keyword ที่เราต้องการ เช่น แว่นตา แล้ว เราสามารถนำคำ Keyword นั้นๆ ในค้นหาบน Google และไปดู Related Search ว่ามีคำคีย์เวิร์ดใดที่เกี่ยวข้องกับคำคีย์เวิร์ดที่เราต้องการบ้าง ซึ่งเราสามารถใช้เป็นไอเดียในการนำ Keyword เหล่านี้มาเขียนคอนเทนท์ได้เพิ่มเติมด้วย 

ตัวอย่าง Related searched บน Google

Q10: ตัวเลข Organic Traffic ใน Google Analytics มีความสัมพันธ์กับตัวเลขใน Google Search Console หรือไม่ 

ตัวเลขใน Google Analytics และตัวเลขใน Google Search Console นั้นใช้คนละ Metrics ในการวัดผลเลยค่ะ 

Google Analytics – มีจุดประสงค์หลักๆ คือเพื่อให้เจ้าของเว็บไซต์/ธุรกิจ สามารถเข้าใจพฤติกรรมหลังจากที่เข้ามาในเว็บไซต์แล้ว ซึ่งสามารถดู Metrics อย่าง Pageviews, Bounce Rate ได้ 

Google Search Console มีจุดประสงค์หลักๆ คือการดู relationship ระหว่างเว็บไซต์ของเรากับ search engine (Google) นั่นเอง ซึ่งสามารถดู Click , Impression, Avg position ได้ รวมถึงสามารถเช็คได้ว่า  มีเว็บไซต์หน้าไหนที่ Google ยังไม่ได้ส่ง Bot เข้ามาตรวจจับหรือไม่ เป็นต้ร 

แต่โดยรวมแล้ว ตัวเลข Organic Traffic นั้นสัมพันธ์ไปในทางเดียวกันกับตัวเลขใน Google Search Console เช่น หากมียอด Click เยอะ ก็จะมี Pageview เยอะ เป็นต้น 

Next step การทำ SEO

เริ่มต้นทำ SEO กับ Predictive ตั้งแต่วันนี้ โดยในสโคปงานด้าน SEO สามารถวัดผลได้ตั้งแต่ Ranking ไปจนถึงการวัดผล Business Outcome เช่น รายได้ที่เพิ่มขึ้น โดยเรามีทีม Data Analytics ช่วยแบรนด์วิเคราะห์ Performance ของ Organic Search ในเชิงลึก ที่ผ่านมาเราได้รับความไว้วางใจจากแบรนด์ชั้นนำ อาทิ Krungsri Consumer Group, Ngern Tid Lor, Nivea, Levi’s และอื่นๆ มากกว่า 50 แบรนด์ 

How we can help

Fill out the form below to discuss your needs or learn more about our services

"*" indicates required fields

Name*
Please let us know what's on your mind. Have a question for us? Ask away.