e-Commerce-Content

e-Commerce Content ขายของบนเว็บไซต์อย่างไรไม่ให้ Google เมิน

อย่างที่เรารู้กันแล้วว่าไม่ว่าจะมีการอัปเดตอัลกอริทึมกี่ครั้ง Google ก็ให้ความสำคัญกับมาตรฐานของเนื้อหาที่ดีเสมอมา หน้าที่ของคนทำ SEO จึงต้องโฟกัสที่การรักษาคุณภาพของคอนเทนต์ให้ได้ตาม Best Practice อย่างต่อเนื่องเช่นกัน แต่ถ้าหากว่าคอนเทนต์ส่วนใหญ่ของเรามีเนื้อหาเกี่ยวกับสินค้าเป็นหลักแล้วล่ะก็ เราควรทำ SEO อย่างไรดีอัลกอริทึมถึงจะไม่มองเมินและปัดตกอันดับ ลองมาดูกันดีกว่าเราควรจัดการกับ e-Commerce Content อย่างไรเนื้อหาบนเว็บไซต์จึงจะอยู่ในสายตา Google 

e-Commerce คืออะไร จำเป็นต้องทำ SEO แค่ไหน

e-Commerce (อีคอมเมิร์ซ) ที่คนทั่วไปเข้าใจว่าเป็นการขายของบนเว็บไซต์ หากเรียกให้ทางการขึ้นคือ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสวทช.ได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า “การแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการบนอินเทอร์เน็ต โดยใช้เว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันเป็นสื่อในการนำเสนอสินค้าและบริการต่าง ๆ” ซึ่งครั้นที่หน้าร้านแห่งนี้มีตัวตนอยู่บนโลกออนไลน์ คงเป็นไปไม่ได้เลยที่จะมองข้ามการทำ SEO เพื่อให้คนทั่วไปรับรู้เกี่ยวกับธุรกิจของเรามากขึ้น สร้างสัมพันธ์กับกลุ่มเป้าหมาย และตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าในที่สุด

เรามองเห็น e-Commerce Content จากที่ไหนบ้าง

Google มีเปอร์เซ็นต์ของ Market Share ที่ท่วมท้นถึง 92% ในตลาดของ Search Engine อ้างอิง ซึ่งเท่ากับว่าการมีตัวตนบน Google อย่างเด่นชัดย่อมเปิดโอกาสทางธุรกิจและขยายตลาดไปสู่วงกว้างได้มากขึ้นเช่นกัน ซึ่งธุรกิจของเราจะถูกมองเห็นได้หลากหลายรูปแบบ ได้แก่

  • Google Search หน้าค้นหาที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างผู้คนกับธุรกิจ 
  • Google My Business หน้าร้านออนไลน์จากการสร้างโปรไฟล์ธุรกิจ
  • Google Map ปักหมุดตำแหน่งที่ตั้งธุรกิจของเราให้ผู้คนเดินทางมาได้ง่ายขึ้น
  • Google Images แสดงผลรูปภาพจากเว็บไซต์ของเราให้ตรงกับสิ่งที่ผู้คนค้นหาและทำให้ผู้คนเห็นภาพเกี่ยวกับธุรกิจของเราได้ดีขึ้น
  • Google Lens ตัวช่วยให้ผู้คนค้นหาและรู้จักโปรดักส์ของธุรกิจเราได้ง่ายขึ้นผ่านการถ่ายภาพสิ่งที่มองเห็น
  • Google Shopping Tab ช่องทางจาก Google ที่นำหน้าเว็บขายของของธุรกิจมาแสดงผลไว้ที่หน้าค้นหาเพื่อให้ผู้คนเจอสินค้าที่ต้องการรวดเร็วขึ้น

e-Commerce Content จะเป็นอะไรได้บ้าง

มาถึงจุดนี้อาจเริ่มมีคำถามตามมาว่า นอกเหนือจากรายละเอียดโปรดักส์ที่จำเป็นต้องมีอยู่บนเว็บไซต์อยู่แล้ว ธุรกิจของเราจะยังพอสร้างคอนเทนต์เกี่ยวกับอะไรได้อีกเพื่อให้มีตัวตนปรากฏบน Google และเพิ่มประสิทธิภาพเว็บไซต์ให้ทำงานได้อย่างเต็มศักยภาพ

  • ข้อมูลโปรดักส์และคำอธิบายรายละเอียด ส่วนนี้การทำ Keywords Research จะเข้ามามีบทบาทสำคัญเพื่อช่วยให้เราสามารถจัดแจงทั้ง Brand Keywords     (คีย์เวิร์ดเกี่ยวกับแบรนด์) และ Generic Keywods (คีย์เวิร์ดทั่วไป) ใส่ลงในรายละเอียดโปรดักส์อย่างสมดุลและเป็นธรรมชาติ เพื่อเพิ่มโอกาสการมองเห็นเว็บไซต์ของเราได้เจาะจงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น
  • เรื่องราวเบื้องหลังธุรกิจ ตัวช่วยกระชับความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนกับธุรกิจของเราเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือต่อโปรดักส์ที่เรานำเสนอ
  •  ส่วนลด โปรโมชั่น และสิทธิพิเศษ เพื่อส่งเสริมการขายและสร้างฐานลูกค้าขาประจำ (Returning Users)
  • แคตาล็อกสินค้า การจัดระเบียบโปรดักส์อย่างเป็นหมวดหมู่และมีคำอธิบายอย่างชัดเจนจะช่วยให้ผู้ใช้ตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น 
  • รีวิวเกี่ยวกับโปรดักส์ จะช่วยทำให้ผู้ใช้เกิดความมั่นใจในการเลือกใช้โปรดักส์ สามารถเข้าใจในรายละเอียดสินค้าในเชิงลึก  รวมทั้งเปิดรับรีวิวจากผู้ใช้จริงเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจ
  • คอนเทนต์ให้ความรู้ เพิ่มการมีส่วนร่วมต่อธุรกิจและทำให้เรารู้จักกับลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้ดีขึ้น ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นบทความเสมอไป อาจเป็นลักษณะของคอร์สเรียนเกี่ยวกับการใช้งานโปรดักส์ของเราได้เช่นกัน
  • Customer Services การดูแลบริการลูกค้าคือหัวใจของความใส่ใจ และช่วยให้ลูกค้าเกิดความไว้เนื้อเชื่อใจต่อธุรกิจ

ลักษณะคอนเทนต์ขายของที่มีคุณภาพควรเป็นอย่างไร

ในส่วนนี้เราจะให้ความสำคัญกับคุณภาพของคอนเทนต์รีวิวเป็นหลัก คอนเทนต์ขายของที่ดีไม่จำเป็นต้องยาว แต่ต้องมีความออริจินัล โดยทำหน้าที่เปรียบเสมือนไกด์นำทางให้กับผู้ใช้เพื่อให้สามารถตัดสินใจเลือกซื้อโปรดักส์ที่ตอบโจทย์ทั้งแง่คุณภาพและราคาอย่างสมเหตุสมผลที่สุด ซึ่งมีลักษณะต่างๆ ดังเช่น

  • ประเมินค่าและให้คะแนนโปรดักส์ผ่านมุมมองของผู้ใช้
  • แสดงอย่างชัดเจนว่าเรารู้ลึกรู้จริงในโปรดักส์ที่ขาย
  • มีหลักฐานประกอบ เช่น ภาพ วิดีโอ หรือลิงก์ เพื่อความน่าเชื่อถือของโปรดักส์
  • จริงใจกับข้อดีข้อเสียของโปรดักส์ตามสิ่งที่เราค้นคว้ามาแล้ว
  • บอกข้อแตกต่างว่าทำไมโปรดักส์ของเราจึงดีกว่าของคู่แข่ง
  • เปรียบเทียบแต่ละโปรดักส์เพื่อให้ผู้ใช้ได้เลือกสิ่งที่ตอบรับความต้องการมากที่สุด
  • แม้ผู้ผลิตจะให้รายละเอียดเกี่ยวกับโปรดักส์มาแล้วแต่การใช้คำพูดของเราเองเล่าประโยชน์ของโปรดักส์นั้นจะช่วยให้คอนเทนต์บนเว็บไซต์ยูนีคกว่าเว็บอื่นๆ 
  • ถ้าเลือกโปรดักส์อันใดอันหนึ่งเป็นชิ้นที่ดีที่สุดควรให้เหตุผลประกอบจากประสบการณ์การใช้จริง

เพราคุณภาพของคอนเทนต์มีส่วนสะท้อนคุณภาพของโปรดักส์เช่นกัน โดยท้ายที่สุดแล้ว Google ย่อมเลือกเว็บไซต์ที่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้ได้ดีที่สุดมานำเสนอ ซึ่งหากเราใส่ใจกับเนื้อหาที่จริงใจและมุ่งหวังประโยชน์เพื่อผู้ใช้เช่นเดียวกัน การปั้นให้เว็บไซต์ของเราขึ้นมาอยู่หน้าแรกก็ไม่ยากเกินความตั้งใจ 

ที่มาข้อมูล : Google Search Central

Get in touch

Let's work together!

"*" indicates required fields

Name*
Please let us know what's on your mind. Have a question for us? Ask away.