Business Intelligence (BI) เป็นศัพท์ที่รวมคำว่า ‘เทคโนโลยี’ และ ‘กระบวนการที่ช่วยวิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียลไทม์’ เข้าด้วยกัน BI ใช้เครื่องมือและแพลตฟอร์มที่หลากหลายเพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถสรุปผลที่จะตามมาจากข้อมูลดิบ (Raw Data) และช่วยให้การตัดสินใจทางธุรกิจดียิ่งขึ้นในท้ายที่สุด
การเลือกเครื่องมือ BI ที่เหมาะกับความต้องการทางธุรกิจนั้น เราจำเป็นต้องพิจารณาคุณสมบัติและความสามารถในการใช้งานอย่างถี่ถ้วน ซึ่งในบทความนี้เราจะมาดูว่าเครื่องมือชั้นแนวหน้าทั้ง 3 อย่าง Power BI, Tableau และ Looker มีคุณสมบัติที่เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร และเครื่องมือ BI ไหนที่เหมาะกับองค์กรของเรามากที่สุด
เลือกอ่านหัวข้อที่คุณสนใจ
Power BI คืออะไร
Power BI เป็นเครื่องมือ BI ของ Microsoft ซึ่งมีอินเทอร์เฟซที่เรียบง่ายพร้อม Visualization แบบ Interactive ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถสร้างรายงานและแดชบอร์ดของตนเองได้ Power BI แตกต่างจากเครื่องมืออื่นตรงที่ว่ามันสามารถจัดการพร้อมทั้งประมวลผลข้อมูลจำนวนมากได้แบบเรียลไทม์ และยังสามารถสร้างรายงานและแดชบอร์ดเฉพาะสำหรับองค์กรและเก็บไว้ในเซิร์ฟเวอร์ของเราเองได้ด้วย สิ่งสำคัญคือเครื่องมือตัวนี้ถูกสร้างมาเพื่อผู้ที่ใช้งาน Microsoft อยู่แล้ว
Tableau คืออะไร
Tableau เป็นเครื่องมือ BI และ Visualization ที่ช่วยให้ผู้ใช้งานวิเคราะห์ข้อมูลพร้อมทั้งสร้างแดชบอร์ดและเวิร์คชีท มีอินเทอร์เฟซที่ใช้งานง่าย มีฟังก์ชัน Drag & Drop ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถใส่ข้อมูลเข้าไปเพิ่มได้อย่างง่ายดาย นอกจากนี้ Tableau ยังมาพร้อมกับเทมเพลตหลากหลายแบบซึ่งสามารถใช้เป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างแดชบอร์ดอีกด้วย สิ่งสำคัญคือ Tableau นั้นออกแบบมาเพื่อการใช้งานเชิงธุรกิจโดยเฉพาะ ไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์ในการเขียนโค้ด เหมาะสำหรับทีมการตลาด ทีมขาย และนักวิเคราะห์ข้อมูล มากกว่าแผนกไอทีหรือทีมพัฒนาเว็บหรือแอป
Looker คืออะไร
Looker เป็นเครื่องมือ BI และ Data Visualization ของ Google ซึ่งช่วยสร้างรายงานและแดชบอร์ดแบบเรียลไทม์ ใช้เบราว์เซอร์และใช้ภาษาการสร้างแบบจำลองเฉพาะที่เรียกว่า LookML ซึ่งแตกต่างจากเครื่องมือ BI ตัวอื่นๆ Looker ได้ชื่อว่าเป็นฐานข้อมูลการวิเคราะห์ที่เร็วและสดใหม่ที่สุดในโลก ช่วยให้ผู้ใช้สร้าง Visualization แบบ Interactive ได้ในพริบตาเดียว นอกจากนี้ Looker ยังมีเทมเพลตการสร้างแผนภาพเตรียมไว้ให้ผู้ใช้งานอยู่แล้ว จึงทำให้ประหยัดเวลาในการสร้างรายงานลงได้อีก ที่สำคัญ Looker สร้างขึ้นเพื่อทีมงานในองค์กรเกือบทุกแผนก ตั้งแต่การตลาดและการขายไปจนถึงการเงิน เหมาะสำหรับบุคคลทั่วไปที่ไม่มีประสบการณ์ในการเขียนโค้ด
ตารางเปรียบเทียบฟีเจอร์ของ Tableau, Power BI & Looker
หลังจากที่เราเกริ่นมาคร่าวๆแล้วว่าแต่ละเครื่องมือ BI คืออะไร และ เหมาะสำหรับใครบ้าง ทีนี้เรามาเจาะลึกถึงความแตกต่างของฟีเจอร์ระหว่างทั้ง 3 เครื่องมือกันแบบชัดๆตามตารางด้านล่างนี้ค่ะ
Feature | Power BI | Tableau | Looker |
Data Source Connectivity (การเชื่อมต่อแหล่งข้อมูล) | Power BI รองรับแหล่งข้อมูลจำนวนมากรวมถึง ฐานข้อมูลใน Flat Files (ไฟล์ PDF, CSV, Excel), ฐานข้อมูลที่ใช้ SQL, Azure Cloud Platform และ Query เปล่า เป็นต้น | Tableau สามารถเชื่อมต่อกับแหล่งข้อมูลที่หลากหลายกว่า Power BI และ Looker เช่น Firebird, EXASOL และ MarkLogic เป็นต้น | Looker สามารถเชื่อมต่อกับแหล่งข้อมูลจำนวนมาก แต่หนึ่งในคุณสมบัติที่โดดเด่น คือ มีภาษาการสร้างแบบจำลองของตัวเองที่เรียกว่า LookML ที่ใช้ SQL เป็นพื้นฐาน เลยง่ายต่อการเขียน Query ในการเรียกดูข้อมูล |
Data Volume (ปริมาณข้อมูล) | Power BI สามารถจัดการเก็บข้อมูลได้สูงสุด 10 GB ต่อผู้ใช้หนึ่งราย อย่างไรก็ตาม สำหรับชุดข้อมูลขนาดใหญ่ เราสามารถเข้าถึงได้โดยตรงจากฐานข้อมูลหรือระบบคลาวด์ | Tableau สามารถจัดการข้อมูลหลายพันล้านแถวได้เนื่องจากมีโมเดลข้อมูลแบบคอลัมน์ (Columnar Data Model) | Looker Queries ที่สร้างผ่านหน้า Explore จะมีขีดจำกัดสูงสุด 5,000 แถว |
Implementation (การดำเนินการ) | สามารถใช้ผ่านระบบ Server ในองค์กร (On-Premise) และ Cloud | สามารถใช้ผ่านระบบ Server ในองค์กร (On-Premise) และ Cloud | สามารถใช้ผ่านระบบ Server ในองค์กร (On-Premise), Cloud และใช้ผ่าน Browser ได้โดยตรง |
Visualizations (การสร้างแผนภาพ) | Power BI รองรับข้อมูลได้ประมาณ 3500 Data Point (ข้อมูลที่แบรนด์นำมาใช้เพื่อต่อยอดทางธุรกิจ) และยังมี Visualization ให้เลือกมากมาย | Tableau มี Visualization ที่หลากหลาย มีอินเทอร์เฟซที่ใช้งานง่ายในการสร้างแผนภูมิและตาราง | Looker ให้ความสามารถในทำ Visualization ที่ครอบคลุมพร้อมการวิเคราะห์ตามเวลาจริง ผู้ใช้ยังสามารถสร้างการ Visualization แบบกำหนดเองได้อีกด้วย |
Data Source Integration (การรวมกันของข้อมูล) | Power BI สามารถผสานรวมกับข้อมูลทั้งหมดจาก Microsoft และยังมีการเข้าถึง API ไปยัง Salesforce, Google Analytics และอื่นๆ | ใน Tableau เราสามารถรวมเข้ากับแหล่งข้อมูล Third-party ได้เกือบทุกแหล่ง | API ของ Looker รวมข้อมูลเข้ากับแอปพลิเคชันมากมาย เช่น Google Docs, Excel และแอปพลิเคชัน Third-party จำนวนมาก |
Querying (การ Query เพื่อกรองข้อมูลที่ต้องการจากตาราง) | Power BI มีเครื่องมือ Natural Language Query หรือการทำให้คอมพิวเตอร์เข้าใจภาษาของมนุษย์ เราสามารถถามคำถาม เช่น “ผลิตภัณฑ์ใดติดอันดับ Top 5” หรือ “แนวโน้มการขายสำหรับปีที่แล้วเป็นอย่างไร” และได้คำตอบกลับมา | Tableau ไม่มีการ Natural Language Query เหมือน Power BI แต่สามารถทำการ Query และ Extract ข้อมูลแบบสดๆได้ | Looker มีภาษาในการ Query โดยเฉพาะที่เรียกว่า LookML เพื่อใช้อธิบาย Dimension, Calculation หรือ Data Collection ต่างๆ เป็นต้น |
บทสรุป
หลังจากที่เราได้เห็นความแตกต่างของฟีเจอร์ในเครื่องมือแต่ละตัวกันไปแล้ว เราจะสามารถสรุปได้ว่า Power BI เป็นเครื่องมือที่โดดเด่นสำหรับการสร้างแดชบอร์ด รายงาน และการแสดงแผนภาพ ซึ่งผสานรวมเข้ากับผลิตภัณฑ์ Microsoft ทั้งหมดรวมถึง Office365 ฟังก์ชันต่างๆใช้งานได้ง่ายสำหรับผู้ที่ทำงานในระบบนิเวศของ Microsoft
Tableau เป็นแพลตฟอร์มที่มีฟีเจอร์มากกว่าเครื่องมืออื่นๆ พร้อมอินเทอร์เฟซที่ใช้งานง่าย ซึ่งเป็นที่ต้องการของนักวิเคราะห์มืออาชีพ เครื่องมือนี้มุ่งเน้นไปที่การแสดงข้อมูลแบบละเอียดและช่วยสร้างแดชบอร์ดที่ดูน่าดึงดูดใจ
Looker โดดเด่นในด้านการสร้างแดชบอร์ดและการค้นหา Use Case ต่างๆ และยังมีความสามารถใหม่ๆ เช่น การแชร์ข้อมูลร่วมกัน เป็นต้น นอกจากนี้ Looker ใช้แบบจำลองข้อมูลที่แสดงความหมาย (Semantic Data Model) ในการจัดเก็บตรรกะทางธุรกิจทั้งหมดโดยประมวลให้มีแหล่งข้อมูลแบบ Single Source of Truth หรือ การนำข้อมูลทางธุรกิจทั้งหมดไปรวมไว้ในที่เดียว
หลังจากได้อ่านจนจบแล้ว ทาง Predictive หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับใครที่กำลังตัดสินใจว่าจะเลือกใช้ Looker เป็นเครื่องมือ Business Intelligence สำหรับองค์กรดีหรือไม่ และถ้าหากยังตัดสินใจไม่ได้ สามารถคลิก ‘ติดต่อ Predictive’ เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้เลย และเรายินดีให้คำปรึกษาเบื้องต้นโดยไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ
Get in touch
Let's work together!
"*" indicates required fields