Data Strategy ก้าวสำคัญของการได้เปรียบทางธุรกิจ

Data Strategy ก้าวสำคัญของการได้เปรียบทางธุรกิจ

ในโลกยุคปัจจุบัน Data ถือเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม องค์กรยักษ์ใหญ่ทั่วโลกต่างก็ให้ความสนใจในการนำข้อมูลมาจัดทำ Data Strategy ไม่ว่าจะเป็น Netflix ที่ใช้ข้อมูลกำหนดเป้าหมายในการทำโฆษณา หรือแม้กระทั่ง Pepsi ที่ใช้ข้อมูลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของ Supply Chain

และเรื่องของ Data นั้นไม่ได้เริ่มที่การเก็บข้อมูล แต่มันเริ่มตั้งแต่การวาง Strategy ว่าเราจะเก็บข้อมูลอย่างไร และนำมาใช้ทำอะไรบ้าง ดังนั้น เราจึงอยากจะพาคุณมาทำความรู้จักกับ Data Strategy ที่มีบทบาทสำคัญในการช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จ

Data Strategy คืออะไร?

Data Strategy หมายถึง แผนกลยุทธ์ที่ Design ขึ้นจาก Raw Data เพื่อให้เกิดการนำข้อมูลมาปรับปรุงการทำงาน โดย Data Strategy เกี่ยวข้องกับการจัดการและใช้ประโยชน์จากข้อมูลให้มีความคุ้มค่าที่สุด เพื่อช่วยให้องค์กรสามารถตัดสินใจได้ดีมากขึ้น

Data Strategy จะเน้นที่การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน จึงจำเป็นต้องมีการรวบรวมและจัดระเบียบข้อมูล วิเคราะห์และจัดการข้อมูล และนำข้อมูลไปใช้ให้บรรลุเป้าหมาย ซึ่งเราอาจจะได้เห็นแนวโน้มความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ด้วย

ทำไมต้องทำ Data Strategy

ทำไมต้องทำ Data Strategy

ท่ามกลางการแข่งขันอย่างดุเดือดในตลาดใหญ่ หลายธุรกิจต้องปรับตัวให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ธุรกิจไหนที่สามารถทำได้ตอบโจทย์ Lifestyle ของลูกค้าได้ก่อนก็จะเป็นผู้ได้เปรียบทางการแข่งขัน ซึ่งการสร้างความได้เปรียบนี้ เราต้องนำ Data มาช่วยขับเคลื่อน โดย Data เหล่านี้เราอาจจะได้มาจาก Customer Data เช่น ข้อมูลลูกค้า ข้อมูลการมีปฏิสัมพันธ์ (Engagement) ข้อมูลความชื่นชอบ ข้อมูลความพึงพอใจ โดยนำข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์เพื่อสร้าง Strategy จึงทำให้ Data Strategy เข้ามามีบทบาทสำคัญในการสร้างศักยภาพในการดำเนินธุรกิจ โดย Data Strategy มีประโยชน์ ดังนี้

  • เพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร: Data Strategy ช่วยเห็นภาพรวมของธุรกิจได้อย่างลึกซึ้ง ทำให้เราสามารถทำแผนระยะยาวที่มีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกขององค์กร
  • ปรับปรุงคุณภาพสินค้าและการบริการ: การทำ Data Strategy ช่วยให้เราเห็นปัญหาที่ส่งผลต่อลูกค้า ซึ่งการเห็นปัญหาอย่างชัดเจนจะทำให้เราสามารถปรับปรุงได้อย่างตรงจุดและแม่นยำ
  • ช่วยให้ตัดสินใจได้ดีและเร็วยิ่งขึ้น: การทำ Data Strategy ทำให้เราสามารถนำข้อมูลมาประเมินให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่กำลังเผชิญ ซึ่งสามารถช่วยให้ตัดสินใจได้เร็วขึ้น
  • การพบแนวโน้มความเป็นไปได้ใหม่ ๆ: การนำ Data Strategy มาวิเคราะห์และใช้ประโยชน์จะช่วยให้องค์กรสามารถค้นพบความเป็นไปได้ใหม่ ๆ โดยอาจจะพิจารณาแนวโน้มและพฤติกรรมของลูกค้าและตลาดอื่น ๆ ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาสินค้าและบริการใหม่ การขยายตลาด หรือสร้างกลุ่มลูกค้าใหม่
  • การลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น: การมี Data Strategy ที่เชื่อมโยงกับการจัดการความเสี่ยงและความปลอดภัยข้อมูล จะช่วยลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น เช่น การรั่วไหลข้อมูล การละเมิดความเป็นส่วนตัว หรือการใช้ข้อมูลอย่างไม่ถูกต้อง

ขั้นตอนการทำ Data Strategy 

ขั้นตอนการทำ Data Strategy

1. กำหนดวัตถุประสงค์ของ Data Strategy

การกำหนดวัตถุประสงค์ของ Data Strategy เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะช่วยให้องค์กรเข้าใจถึงว่า Data Strategy จะมีบทบาทอย่างไรในการสร้างความได้เปรียบและเพิ่มประสิทธิภาพของธุรกิจ

2. วางแผนการเก็บรวบรวมข้อมูล

การวางแผนการเก็บรวบรวมข้อมูลคือการเตรียมความพร้อมในการเก็บข้อมูลโดยมีความถูกต้องและครอบคลุมทุกด้าน เพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจในธุรกิจ โดยข้อมูลที่รวบรวมอาจจะได้มาจาก Customer Data จะมีอยู่สองประเภท ได้แก่

  1. First Party Data : ข้อมูลที่เราเก็บมาเองไม่ว่าจะเป็นช่องทาง Online หรือ Offline และเราเป็นเจ้าของเองด้วย เช่น ข้อมูลบนแอปพลิเคชัน หรือบนเว็บไซต์ของเรา, ข้อมูล CRM, Point Of Sales, Call-Center, After Service, Cookie บนเว็บไซต์
    1. Identifiable or known user = ข้อมูลลูกค้า (CRM, payment, email, name)
    2. Non-identifiable or anonymous user = ข้อมูลพฤติกรรมบนเว็บที่ไม่สามารถระบุเป็นตัวคนได้
  2. Third Party Data : ข้อมูลลูกค้าของเรา บนเว็บไซต์ของคนอื่น เช่น ข้อมูลลูกค้าเราบน E-Commerce Platform ที่เรานำสินค้าไปวางขาย เช่น ข้อมูลลูกค้าที่มีการซื้อสินค้าของเราใน Shopee/ Lazada หรือ E-commerce Platform อื่น ๆ ว่ามีพฤติกรรมอย่างไรใน Platform นั้น ๆ

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ เก็บ Data ยังไง ให้ทั้งบริษัทสามารถนำไปใช้ได้จริง

3. การตรวจสอบคุณภาพของข้อมูล

การตรวจสอบคุณภาพของข้อมูลมีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากข้อมูลที่ไม่ถูกต้องหรือไม่ครอบคลุมในด้านต่างๆ อาจส่งผลกระทบต่อการวิเคราะห์และการตัดสินใจของธุรกิจ เช่น เก็บข้อมูลมาแล้วไม่สามารถนำมาเชื่อมโยงถึงกันได้ (Mapping)

4. การวิเคราะห์ข้อมูล

การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นกระบวนการสำคัญที่ช่วยให้องค์กรมีมุมมองที่ชัดเจนเกี่ยวกับธุรกิจ และช่วยตัดสินใจในการพัฒนาธุรกิจให้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้

การวิเคราะห์ข้อมูล และมองหาจุดเชื่อมโยงระหว่างข้อมูลจากแหล่งที่มาต่าง ๆ เพื่อให้การนำข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์แล้วนำไปใช้ได้จริง

5. การนำเสนอข้อมูล

การนำเสนอข้อมูลที่สื่อความหมายอย่างชัดเจนและถูกต้อง เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก เพื่อช่วยให้ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ในองค์กรสามารถตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง เช่น การใช้ข้อมูลพฤติกรรมการซื้อของลูกค้าเพื่อนำมาดูเทียบว่าควรเสนอโปรแกรมความภักดี (Loyalty Program) แบบไหนให้กับลูกค้ากลุ่มนั้นๆ

Case Study: Starbucks กับการใช้ Data เพิ่มความเข้มข้นให้ธุรกิจ

ย้อนกลับไปในปี 2007 ในช่วงที่เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาเข้าสู่ช่วงวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ร้านกาแฟชื่อดังอย่าง Starbucks ก็ได้เผชิญปัญหายอดขายตกฮวบจนเกือบล้มละลาย โดยราคาหุ้นของบริษัทตกลงไปกว่า 42% ทำให้ Starbucks ต้องดึงคุณ Howard Schultz อดีต CEO ผู้สร้างความสำเร็จให้ Starbucks ในช่วงปี 1991-2000 มาช่วยบริหารเพื่อฝ่าฟันวิกฤตในครั้งนี้

การตกลงอย่างหนักของราคาหุ้น Starbucks ในช่วงปี 2007-2008

ในปี 2008 คุณ Howard ได้ประกาศปิดร้านพร้อมกันทั่วอเมริกา 7,100 สาขา เป็นเวลา 3 ชั่วโมงครึ่ง จนกลายเป็นข่าวใหญ่ โดยเขาได้ให้เหตุผลว่า ต้องการอบรมพนักงานเรื่องการทำเอสเพรสโซ่คุณภาพเยี่ยม และการบริการลูกค้าให้ดีขึ้น

หลังจากนั้นคุณ Howard ก็ได้ริเริ่มสร้างก้าวที่สำคัญของ Starbucks เขาได้ดึงผู้บริหารด้าน Technology จากเว็บ E-Commerce ชื่อดังอย่าง Amazon เพื่อมาดูแลสื่อออนไลน์โดยเฉพาะ และหาทางใช้ Data ในการบริหารและการตัดสินใจ

Starbucks จึงได้นำ Data มาวิเคราะห์ว่าสาขาใดควรปิดและพื้นที่ไหนควรเปิดสาขาใหม่ จะส่ง Promotion แต่ละตัวให้ใครบ้าง ควรออกเมนูใหม่เป็นอะไร วิเคราะห์ว่าจัดการ Supply chain อย่างไรให้เกิดกำไรสูงสุด หรือแม้แต่ใช้ป้องกันความเสียหายใหญ่ที่อาจจะเกิดขึ้นอีกในอนาคต

การใช้ข้อมูลระบุที่ตั้งใหม่ของร้าน Starbucks
ขอบคุณภาพจาก: Digital Innovation and Transformation, Harvard Business School. 
การใช้ข้อมูลวิเคราะห์ที่ตั้งใหม่ของร้าน Starbucks
ขอบคุณภาพจาก: Digital Innovation and Transformation, Harvard Business School.

ขอบคุณภาพจาก: Digital Innovation and Transformation, Harvard Business School.

ปัจจุบัน ธุรกิจ Starbucks อยู่ในระดับเดียวกับ Tech Company โดยได้ใช้ Data จากการขายเมนูกว่าร้อยล้านครั้งต่อสัปดาห์มาวิเคราะห์ Starbucks เลยเข้าใจว่าอะไรที่ลูกค้าชอบ หรืออะไรที่ลูกค้าไม่พอใจและนำมาปรับปรุงธุรกิจอยู่เสมอ

หลังจากอ่านกันจนจบแล้ว ทุกคนคงได้เห็นภาพการทำ Data Strategy กันมากขึ้นนะครับ และถ้าหากใครสนใจทำ Data Strategy ที่ Predictive เรามีทีมงานที่เชี่ยวชาญเรื่อง Data สำหรับธุรกิจแต่ละอุตสาหกรรมกว่า 100 คน ที่พร้อมจะช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้ธุรกิจของคุณ สามารถติดต่อเราเข้ามาได้เลย และเรายินดีให้คำปรึกษาเบื้องต้นโดยไม่มีค่าใช้จ่าย

อ่านเพิ่มเติมได้ที่
3 ขั้นตอนการทำ Data Strategy เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจประกันให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลง