Predictive เข้าใจดีว่าแต่ละคนมีช่วงเวลา Productive ต่างกัน ที่นี่จึงเปิดโอกาสให้พนักงานทุกคนสามารถเลือกเวลาทำงานได้ด้วยตัวเอง ไม่จำเป็นต้องตื่น 8 โมงเช้าเป๊ะเพื่อเตรียมตัวเข้างาน โดยเฉพาะเมื่อการตื่นเช้าอาจไม่ใช่ช่วงเวลาที่สมองทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเสมอไป ลองมาดูไปด้วยกันดีกว่าว่าอะไรกันแน่คือ Productive Time ของแต่ละคนและเราจะสร้างสูตรลัดความขยันเฉพาะตัวที่เฮลตี้ดีกับใจได้อย่างไรบ้าง
เลือกอ่านหัวข้อที่คุณสนใจ
Productivity time คืออะไร
เวลาพูดถึงคนที่มี Productivity เราจะนึกถึงคนทำงานกระชับฉับไว คนที่มีตารางเวลาชัดเจนว่าต้องทำอะไรเวลาไหน คนที่นอนน้อย ตื่นเช้ากว่าคนอื่น คนที่ทำงานหลายอย่างได้ในเวลาเดียวกัน คนที่สร้างผลงานเยอะๆ คนที่ใช้เวลาทุ่มเทไปกับงานอย่างเต็มที่ทั้งวัน เหมือนกับวลีที่ว่า “นกที่ตื่นก่อนจิกหนอนได้มากกว่า” (แต่หนอนที่ตื่นเช้า คือหนอนที่โดนกิน TT)
โดยส่วนใหญ่แล้ว เรามักจะเข้าใจผิดเกี่ยวกับคำว่า Productivity ว่าเป็นการบริหารเวลา ซึ่งความจริงแล้ว Productivity คือ “การบริหารความคิด” ต่างหาก เพราะการสร้างผลงานเยอะๆไม่ได้แปลว่าเรากำลังสร้างผลงานที่มีคุณภาพออกไปสู่สายตาคนอื่น
ในความเป็นจริงแล้วไม่มีใครสามารถขยันได้ตลอดเวลา
บางคนขยันตอนเช้า ทันทีที่ตื่นมาเลย เพราะได้พักผ่อนอย่างเพียงพอ
บางคนขยันหลังทานข้าวเช้า เพราะได้เพิ่มพลังให้สมองและร่างกายไปเรียบร้อยแล้ว
บางคนขยันตอนบ่าย หลังจากจัดการเรื่องยุ่งเหยิงในชีวิตเสร็จเรียบร้อยแล้ว
เมื่อเรารู้แล้วว่าในช่วงเวลานั้นเราไม่ Productive ก็เพียงแค่เอาเวลาในตอนนั้นไปทำสิ่งที่ไม่จำเป็นต้องใช้ความคิดมากนัก เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับช่วงเวลา Productive เช่น จัดตารางงานของวันนั้น ,สรุปเรื่องที่ต้องเข้าประชุม หรือ จัดโต๊ะที่ทำงาน
สูตรลัดคนขยัน
รู้จัก Productivity Time แล้ว และถ้าอยากให้มีเพิ่มมากขึ้นล่ะ สามารถทำได้ไหม? เคยสงสัยไหมว่าทำไมบางคนขยันอยู่ตลอดเวลาเลย ก็เพราะว่าเขามีสูตรลัดยังไงล่ะ
1. ถ้าไม่มี To-do list เราก็ไม่รู้จะ Productive ยังไง
เพราะฉะนั้น เมื่อนึกออกว่าต้องทำอะไร ให้เขียนเลย เผื่อว่าตอนที่ไม่รู้จะทำอะไร จะได้มาเปิดดู To-Do List แล้ว Pick-up สิ่งที่อยากทำออกมาทำได้เลยทันที
2.ทำอะไรเสร็จแล้วให้เขียนเลย
“เพื่อให้เรามีกำลังใจจะทำเรื่องอื่นๆต่อไปให้สำเร็จ” เหมือนกับการให้คะแนนตัวเองในวันนั้นๆ และในตอนที่เราเขียนเรื่องที่เราทำเสร็จแล้วลงไปนั่นแหละ สมองของเราจะรู้สึกมีความสุขหลังจากได้ทำงานงานหนึ่งเสร็จ และจะมีแรงในการทำงานอื่นต่อไป
3.อย่ากดดันตัวเองตลอดเวลา
ไม่จำเป็นต้องคอยสะกดจิตตัวเองว่าเราต้องทำงานตลอดเวลา ถ้าสมองไม่สามารถรับมือกับการทำงานได้แล้ว ให้ลองหาวิธีการผ่อนคลายของตัวเองให้เจอ แล้วทำให้สุด (อย่างมีลิมิต) เป็นการหลอกสมองว่า เราขี้เกียจจนสะใจแล้ว ถึงเวลาแล้วสินะ ที่จะกลับไปทำงานให้สะใจไปเลย
4.หา Productivity Switch ของตัวเองให้เจอ
ทุกคนเชื่อไหมว่าเรามี Productive Switch ของตัวเอง Productivity Switch หรือ Productive Routine ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็น Routine เพราะฉะนั้นไม่ได้หมายถึงแค่ช่วงเวลาอย่างเดียวแน่นอน แต่หมายถึงการทำสิ่งต่างๆ ที่เป็นเหมือนการเปิดสวิซเข้าสู่โหมด Productive
ลองสังเกตุตัวเองดูว่า “อะไรนะ ที่เราทำแล้วรู้สึกขยันขึ้นมาเลย” เคยจำความรู้สึกของตัวเองตอนสมัยเรียนหนังสือได้ไหม ว่าในช่วงสอบเนี่ย พวกกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการจัดบ้าน ล้างจาน จัดสวน อะไรๆก็น่าทำไปหมด ยกเว้นอ่านหนังสือ ไม่แน่นะ Productivity Switch ของเราอาจจะเป็นการจัดห้องทำงานให้น่าทำงานก็ได้ ทำไมไม่ลองใช้เวลาซัก 15 นาทีก่อนเริ่มงานมาจัดโต๊ะทำงานดูล่ะ
5. สร้างบรรยากาศให้สมองจำได้ว่านี่แหละ Mood ของการทำงาน
เป็นการฝึกให้สมองรับรู้ถึงบรรยากาศการทำงาน ใครที่ต้องทำงานแบบ Work From Home อาจจะรู้สึกได้ว่า “บ้านฉันไม่เหมาะจะทำงานเอาเสียเลย” ปัญหานี้สามารถแก้ได้โดยสร้างบรรยากาศให้สมองรับรู้ได้ถึงการทำงาน ซึ่งมีอยู่หลายวิธีไม่ว่าจะเป็น
- จุดเทียนหอมที่มีกลิ่นต่างกัน: เราอาจจะซื้อเทียนหอมกลิ่นที่ชอบมาสัก 2 กลิ่น กลิ่นหนึ่งไว้จุดในตอนที่เราจะเริ่มทำงาน อีกกลิ่นหนึ่งไว้จุดตอนก่อนนอน เผื่อให้สมองแยกแยะได้ว่า ในสถานที่เดียวกันนี้ ตอนนี้เป็นบรรยากาศของการนอนหรือการทำงาน
- หาเครื่องดื่ม 2 ชนิดมาดื่มในเวลาที่ต่างกัน เช่น ดื่มน้ำอัดลม,กาแฟ หรือ ชานมไข่มุกในตอนที่ต้องทำงาน และดื่มนมตอนก่อนนอน กลิ่นและรสชาติของเครื่องดื่มจะทำให้สมองของเราจำได้ว่านี่คือช่วงเวลาที่ต้องทำกิจกรรมไหน
หลังจากที่ทุกคนได้อ่านมาจนถึงตรงนี้ ทาง Predictive อยากบอกกับเพื่อนร่วมงานปัจจุบัน และว่าที่เพื่อนร่วมงานในอนาคตทุกคนว่า “บริษัทของเราให้ความสำคัญกับ Productivity Time เป็นอย่างมาก และเราก็เข้าใจดีว่าทุกคนมี Productivity Time ที่แตกต่างกัน จึงเป็นที่มาของนโยบายที่สนับสนุนการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ คือให้ Flexibility กับพนักงานทุกๆคน เพราะเราเชื่อในคำว่า Efficiency Used Of Time”
How we can help
Fill out the form below to discuss your needs or learn more about our services
"*" indicates required fields