เมื่อ Google Universal Analytic แบบเดิมที่เราเคยใช้กำลังจะปรับเปลี่ยนไปสู่ Google Analytic 4 (GA4) โดยสมบูรณ์ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2023 หากว่าเราได้ติดตั้ง GA4 เรียบร้อยในตอนนี้แล้วอาจจะพอคุ้นตากับ Metrics ใหม่ๆที่เพิ่มขึ้นมาใน Report หนึ่ง Metrics สำคัญที่คนทำ SEO ต้องให้ความสนใจคือ Engagement ซึ่งจะเป็นตัวชี้วัดเพื่อบอกว่าเว็บไซต์ของเรามีประสิทธิภาพเพียงพอแล้วหรือยัง และควรปรับการทำ SEO อย่างไรเพื่อเพิ่ม Engament Rate ให้กับเว็บไซต์
เลือกอ่านหัวข้อที่คุณสนใจ
Engagement คืออะไรใน GA4
Engagement ใน GA4 หมายถึง การกระทำใดๆ ก็ตามของผู้ใช้ที่เกิดขึ้นบนเว็บไซต์ของเรา ไม่ว่าจะเป็นการเลื่อนอ่านเนื้อหาบนหน้าเว็บไซต์ การกดอ่านรายละเอียดของสินค้า การกดเล่นคลิปวิดีโอ และแม้ว่าจะไม่มีการคลิกอะไรเลย แต่ การใช้เวลาอยู่บนหน้าเว็บไซต์เป็นอยู่ช่วงขณะหนึ่ง ก็นับเป็น Engagement เช่นกัน
Engagement จึงเป็นสิ่งที่ช่วยบอกว่าเนื้อหาบนเว็บไซต์ของเรานั้นมีประโยชน์และน่าสนใจเพียงพอที่จะทำให้ผู้ใช้มีส่วนร่วมกับเว็บไซต์หรือไม่
Engagement มีอะไรให้วิเคราะห์บ้าง
เพราะ Engagement โฟกัสที่การมีส่วนร่วมของผู้คนเป็นหลัก จึงช่วยคนทำ SEO วิเคราะห์พฤติกรรมบนเว็บไซต์ของผู้ใช้ได้อย่างเฉพาะเจาะจงและแม่นยำได้ดีกว่า โดยสามารถรู้ได้จาก Reports ใน GA4 เลือก Acquisition และเลือกดูต่อที่ User Acquisition ซึ่งแจกแจงออกมาได้ดังนี้
- Engaged Sessions หมายถึง จำนวน Sessions ที่เกิดขึ้นเมื่อผู้ใช้อยู่บนหน้าเว็บนานกว่า 10 วินาที หรือ มี Conversion Event เกิดขึ้น หรือ เปิดหน้าเว็บไซต์ 2 หน้าขึ้นไป
- Engagement Rate หมายถึง อัตราการเกิด Engaged Sessions คำนวนจากจำนวน Engaged Sessions หารด้วยจำนวน Sessions ทั้งหมด (Engaged Sessions) / (Total Sessions)
- Engaged Sessions Per User หมายถึง จำนวน Sessions ที่เกิดขึ้นต่อ 1 User โดยประมาณ (Engaged Sessions/Users)
- Avg. Engagement Time หมายถึงระยะเวลาโดยประมาณที่ผู้ใช้มีส่วนร่วมอยู่บนหน้าเว็บ
ทำ SEO อย่างไร เพื่อเพิ่ม Engagement Rate ให้ดีกว่าเดิม
อย่างที่รู้กันดีแล้วว่า เนื้อหาบนเว็บไซต์เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้ใช้สนใจที่จะอยู่บนหน้าเว็บ การผลิตเนื้อหาที่มีประโยชน์ ตอบคำถามที่ผู้ใช้สงสัย และ ให้ข้อมูลสำคัญที่ถูกต้องเชื่อถือได้ ล้วนเป็นการทำ On-Page SEO เพื่อคุณภาพของเว็บไซต์ที่ดี ทั้งนี้การเพิ่มประสิทธิภาพเว็บไซต์สามารถทำได้ด้วยวิธีต่างๆ ดังนี้
- เช็คความเร็วในการโหลดของเว็บไซต์ (Page Speed) เพราะแม้จะตั้งใจทำเนื้อหาที่มีคุณภาพมาอย่างดีแล้วแต่หากหน้าเว็บของเราใช้เวลาโหลดนานกว่าปกติ เช่นมีขนาดไฟล์ภาพที่ใหญ่เกินไป ล้วนมีสิทธิทำให้ผู้ใช้กดปิดก่อนจะได้อ่านเช่นกัน
- เช็คว่าเว็บไซต์รองรับกับการใช้งานบนมือถือดีแล้วหรือยัง (Mobile – Friendliness) เพราะในเชิงดาต้าแล้ว ผู้คนเปิดอ่านเนื้อหาบนเว็บบนมือถือเป็นหลัก หากเว็บไซต์แสดงผลบนหน้าไม่ดีนัก อ่านยาก ตัวอักษรเล็กเกินไป หรือ ป๊อปอัพเด้งขึ้นมาบังเนื้อหา ล้วนมีส่วนให้ผู้ใช้กดปิดเช่นกัน
- เช็ค Technical SEO Issues เพราะคงไม่ดีนักหากผู้ใช้เปิดหน้าเว็บเรามาเจอ 404 Not Found แทนที่จะเป็นเนื้อหาสำคัญ คนทำ SEO จึงควรแก้ไขส่วนของ Response Code ไม่ว่าจะ Temporary Redirection หรือ Server Error อย่างสม่ำเสมอ
- เช็คองค์ประกอบของ On – Page SEO เช่น Title, Meta Description, Heading Tag ว่าครบถ้วนและได้ใจความ เพื่อให้การเลื่อนอ่านเนื้อหามีความลื่นตาไม่ติดขัดและทำความเข้าใจกับเนื้อหาได้ง่ายขึ้น
- ใส่ใจกับ Internal Links เพราะการใส่ลิงก์ไปยังบทความอื่นๆ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ยิ่งช่วยให้ผู้อ่านสมัครใจที่จะใช้เวลาอยู่กับเว็บไซต์มากขึ้น รวมทั้งการเลือกบทความแนะนำมาแสดงผลก็ควรเลือกที่สอดคล้องเชื่อมโยงกับเนื้อหาหน้านั้นๆ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้
อ่านเพิ่มเติม : Bounce rate vs Engagement rate มีอะไรเปลี่ยนไปใน GA4
ที่มาข้อมูล Analytics Help
Get in touch
Let's work together!
"*" indicates required fields