Qualitative data VS Quantitative data เลือกใช้อย่างไรให้ตอบโจทย์ธุรกิจ

ก่อนจะเริ่มทำธุรกิจ หรือวางกลยุทธ์ใดๆ สิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญคือการทำความเข้าใจความต้องการของผู้ใช้  ซึ่งรูปแบบข้อมูลที่เราสามารถนำมาใช้เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับผู้ใช้นั้น สามารถแบ่งข้อมูลออกมาได้ 2 ประเภท นั่นก็คือ 1.Qualitative Data และ 2. Quantitative Data ในบทความนี้เราจะมาบอกเล่าถึงความแตกต่างของข้อมูลแต่ละประเภทและการนำข้อมูลแต่ละประเภทไปปรับใช้ในธุรกิจของท่านได้อย่างตรงจุดค่ะ 

Quantitative Data คืออะไร​ ?​

เป็นข้อมูลที่เป็นเชิงตัวเลข เพื่ออธิบายสิ่งที่เกิดขึ้น ทั้งในอดีต และ ปัจจุบัน รวมถึงสิ่งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

โดยข้อมูลที่ได้รับจะมีความเฉพาะเจาจง และลงรายละเอียด ตามสิ่งที่เกิดขึ้นจริง เช่น ข้อมูลเชิงพฤติกรรม จากการเก็บข้อมูลพฤติกรรมของผู้ใช้งานเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชั่นผ่านการติดตั้ง Event Tracking 

 Quantitative Data มาจากไหนได้บ้าง

  • ข้อมูลจาก Google Analytics : ทำให้เราเข้าใจพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของผู้ใช้งานเช่น ผู้ใช้งานเข้าชมหน้าไหนบ้าง เข้าชมเป็นเวลากี่นาที เข้ามาจาก Media ไหน มีการคลิกปุ่มไหนบ้าง (Click Tracking) 
  • Google Trends : ข้อมูลการเสิร์ชคำค้นหาบท Google ทำให้เรารู้ว่าผู้ใช้งานกำลังสนใจเรื่องอะไรอยู่บ้าง ในช่วงเวลาที่กำหนด 
  • A/B Testing หรือการทดสอบว่าองค์ประกอบเวอร์ชันไหนบนเว็บไซต์จะช่วยเพิ่ม Conversion Rate ได้มากที่สุด เช่น ปุ่มสีแดง หรือ ปุ่มสีเขียว 

Qualitative Data คืออะไร​ ?​

เป็นข้อมูลเชิงคุณภาพที่ช่วยให้ธุรกิจเข้าใจ พฤติกรรม ทัศนคติ ของผู้ใช้งาน ตั้งแต่ก่อนใช้ ระหว่างใช้ หลังใช้ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ทำให้เข้าใจสิ่งที่อยู่ในจิตใจของผู้ใช้งาน ซึ่งเป็นแรงผลักดันให้เกิดการกระทำต่างๆ 

Qualitative Data มาจากไหนได้บ้าง

  • User Interview พูดคุยแบบ 1 ต่อ 1 เพื่อค้นหาข้อมูลเชิงลึกจากกลุ่มเป้าหมายที่เราสนใจ 
  • Focus Group เชิญกลุ่มผู้ใช้มาสนทนาเกี่ยวกับหัวข้อที่เราสนใจ เพื่อที่จะเข้าใจและรับรู้ความคิดเห็นความรู้สึก รวมทั้งพฤติกรรมของผู้ใช้
  • Usability Testing ดูพฤติกรรมการใช้งานของผู้ใช้งานบนเว็บไซต์ ว่ามี Flow การใช้งานเป็นอย่างไร ตอนใช้งานสามารถใช้งานได้ลื่นไหล และบรรลุจุดประสงค์ของ Application / Website นั้นๆ ได้หรือไม่ 

อ่านเพิ่มเติม Focus Group กับ In-depth Interview เลือกใช้ยังไงดี ?

ความแตกต่างของการทำ Research แบบ Qualitative และแบบ Quantitative 

Quantitative data Qualitative data 
ช่วยตอบคำถาม “อะไร” “ที่ไหน” “อย่างไร” “เมื่อไหร่” และ “ใคร” ช่วยตอบคำถาม “ทำไม”
ได้ข้อมูลเป็นตัวเลขได้ข้อมูลเชิงทัศนคติ ความเห็น และประสบการณ์ที่ผ่าน 
ต้องการกลุ่มตัวอย่างจำนวนมากต้องการกลุ่มตัวอย่างจำนวนน้อย
วิเคราะห์ข้อมูลด้วยหลักการทางสถิติวิเคระาห์ข้อมุลจากการสัมภาาณ์ และ การสังเกต
ใช้คำถามปลายปิดใช้คำถามปลายเปิด 
ใช้สำหรับการพิสูจน์สันนิษฐานเพื่อสร้างสมมติฐานใหม่ๆ หรือ สร้างสรรไอเดียใหม่ๆ 
ความแตกต่างของการทำ Research แบบ Qualitative และแบบ Quantitative 

เทคนิคการเลือกใช้ Qualitative Research หรือ Quantitative Research ให้เหมาะสมตามสถานการณ์ 

ตอบให้ได้ว่าตอนนี้สินค้า / บริหารของบริษัทคุณอยู่ในสเตจไหน และเลือกใช้ข้อมูลที่เหมาะสม เช่น

  • Stage : พัฒนาสินค้าขึ้นมาใหม่ 
    • ต้องการรู้เทรนด์ภาพรวม สามารถวิเคราะห์ Big Data หรือระบุสิ่งที่คนกำลังใจให้ความสนใจได้ทันที เช่น ใน Google Trends มีคำค้นหาเรื่อง Bitcoin จำนวนมาก 
    • เมื่อเราเห็นโอกาสที่คนสนใจในภาพรวมแล้ว เราสามารถหา Insight เชิงลึกได้จากการทำ User Interview , Focus Group เพื่อให้เข้าจความต้องการ ปัญหา ต่างๆ ที่ผู้ใช้งานกำลังเผชิญอยู่ 
  • Stage : พัฒนาสินค้าที่มีอยู่เดิม ให้ดีขึ้น 
    • ข้อมูล Behavioral Data ซึ่งเป็น Quantitative Data จาก Google Analytics ช่วยให้เข้าใจพฤติกรรมการใช้งาน Web /App ของลูกค้า และทำให้เราเห็นจุดที่ควรพัฒนาให้ดีขึ้น เช่น หน้าที่มี Bounce Rate สูง 
    • เมื่อเรารู้แล้วว่าจุดไหนมีปัญหา เราก็ต้องมาวิเคราะห์ต่อว่า ทำไมจุดนั้นถึงเป็นปัญหา ซึ่งอาจมีหลายสาเหตุเช่น
      • ผู้ใช้งาน ไม่สามารถหาสิ่งที่ต้องการเจอ เพราะเรามีออกแบบเว็บไซต์ หรือ แอปพลิเคชั่นที่มี user experience ที่สับสน 

ทางแก้คือเราสามารถทำ A/B Testing โดยมีการตั้งสมมติฐานที่ต้องการทดสอบ เช่น คนกรอกฟอร์มสมัครสมาชิกแค่ 5% จากจำนวนคนเข้าทั้งหมด ก็สามารถตั้งสมมติฐานได้ ถ้าเราเปลี่ยน Messaging ที่ใช้ให้น่าดึงดูดมากขึ้น คนกรอกฟอร์มจะเพิ่มขึ้นไหม 

เมื่อรันแคมเปญจนได้ปริมาณข้อมูบที่เหมาะสมแล้ว ก็นำข้อมูลใน Google optimize มาวิเคราะห์ควบคู่กับ Google Analytics  เพื่อดูว่าองค์ประกอบแบบไหนที่สร้าง Conversion ได้มากที่สุด 

อ่านเพิ่มเติม A/B Testing คืออะไร ช่วยเพิ่ม Conversion Rate ให้แบรนด์ได้อย่างไร

สรุป 

การทำ User Research นั้นประกอบด้วยข้อมูลทั้งแบบ Qualitative  และ Quantitative ธุรกิจสามารถเลือกใช้ให้เหมาะกับสถานการณ์เพื่อเข้าใจผู้ใช้งาน และส่งมอบประสบการณ์การใช้งานที่ตอบโจทย์ผู้ใช้งานมากที่สุด สำหรับแบรนด์ที่ต้องการคำปรึกษาเกี่ยวกับการทำ user experience research ในรูปแบบที่วัดผลได้ และตอบโจทย์ปัญหาธุรกิจของท่าน สามารถติดต่อมาได้ที่ Predictive เลยค่ะ เรามีทีม User Experience ที่พร้อมช่วยให้ธุรกิจของคุณได้ Insight ที่ต้องการ