Ideation Techniques

5 เทคนิคการสร้างไอเดียในยุค Work From Home

การแก้ปัญหาในโลกแห่งความเป็นจริงนั้นไม่สามารถทำได้เพียงชั่วข้ามคืน หรือแก้ได้ด้วยญาณวิเศษบางอย่าง 

‘การสร้างไอเดีย’ หรือ ‘Ideation’ ถือเป็นทั้งจุดเปลี่ยนและสินทรัพย์ที่สำคัญของโครงสร้างนวัตกรรมที่ดี โดยกระบวนการนี้จะต้องอาศัยเทคนิค Ideation รูปแบบต่างๆเพื่อให้ได้ไอเดียที่ดีและมีความเป็นไปได้มากที่สุด ซึ่งเทคนิค Ideation เหล่านี้จะช่วยให้กระบวนการทำงานร่วมกันของทีมดำเนินไปอย่างเป็นระเบียบและมีประสิทธิผล โดยจะเน้นแค่ทักษะที่จำเป็นในการร่างและนำเสนอไอเดียของแต่ละคนเท่านั้น 

เมื่อไหร่ที่ควรใช้เทคนิค Ideation

  1. กำลังหาทิศทางสำหรับสินค้าหรือบริการใหม่
  2. หาแหล่งรายได้และกลยุทธ์ทางธุรกิจใหม่ๆ
  3. หาทางออกให้กับบททดสอบสุดหินจากลูกค้า (เช่น การเปลี่ยนจุดบอดที่ลูกค้าเจอให้กลายเป็นความน่าพึงพอใจ)

ในบทความนี้ เราจะรวบรวมเทคนิคการสร้างไอเดีย 5 รูปแบบ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นที่รู้จักกันดี ซึ่งเราหวังว่าบทความนี้จะสร้างแรงบันดาลใจให้กับการทำเวิร์คช็อป และการสร้างไอเดียใหม่ๆผ่านช่องทางออนไลน์ ถ้าพร้อมแล้วไปอ่านกันเลยค่ะ

1. S.C.A.M.P.E.R.‍

Ideation Techniques

เมื่อทีมกำลังทำการประชุมเพื่อระดมความคิด เทคนิค S.C.A.M.P.E.R. จะช่วยพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาและกระบวนการคิดเชิงออกแบบโดยรวมของทีม ช่วยให้ทีมสามารถแชร์ไอเดียทั้งหมดด้วยทัศนคติที่เป็นกลาง โดยการนำทุกไอเดียมาพิจารณาเปรียบเทียบอย่างใกล้ชิด

เทคนิคนี้ทำงานยังไง

ขั้นตอนที่ 1: ให้แต่ละคนในทีมเลือกหนึ่งการกระทำจากตัวอักษรย่อ S.C.A.M.P.E.R. เป็นตัวกระตุ้นที่ใช้ในการสร้างรูปแบบของไอเดียที่มีอยู่ให้ต่างออกไป ซึ่งส่วนสำคัญของการใช้เทคนิคนี้คือการหยิบไอเดียของคนอื่นจากรอบที่แล้วมาเป็นจุดสตาร์ท

  • Substitute: เราจะใช้สิ่งไหนมาทดแทนเพื่อพัฒนาไอเดียนี้ได้บ้าง?
  • Combine: เราสามารถเอาฟีเจอร์ กระบวนการ หรือองค์ประกอบไหนมารวมกันได้บ้าง?
  • Adapt: เราควรปรับฟีเจอร์ กระบวนการ หรือองค์ประกอบไหนบ้าง?
  • Modify: เราสามารถปรับลดหรือเพิ่มในส่วนไหนได้บ้าง?
  • Put to another use: สิ่งนี้สามารถใช้ทำอะไรได้อีก หรือใครสามารถใช้ได้อีกบ้าง?
  • Eliminate: จะเกิดอะไรขึ้นบ้างถ้าเราตัดฟีเจอร์ หรือองค์ประกอบนี้ออกไป?
  • Reverse/rearrange: How can we rearrange the current status for an improved solution? What would happen by reversing the process?เราสามารถสลับขั้นตอนเพื่อให้วิธีการทำงานดีขึ้นได้ไหม? จะเกิดอะไรขึ้นหากเราเริ่มลงมือจากขั้นตอนสุดท้ายไปยังจุดเริ่มต้น?

ขั้นตอนที่ 2: กระบวนกรจะให้เวลาคนละ 5 นาทีในการเลือกตัวอักษร S.C.A.M.P.E.R. เพื่อร่างไอเดียขึ้นมา

ขั้นตอนที่ 3: ในขณะที่นำเสนอไอเดียให้กับทีมภายในเวลา 1 นาที แต่ละคนต้องบอกด้วยว่าไอเดียที่เสนออยู่มาจากตัวอักษรไหนใน S.C.A.M.P.E.R.

หมายเหตุ การมีเทมเพลตที่ระบุการกระทำ S.C.A.M.P.E.R. ทั้งหมดพร้อมช่องว่างไว้ป้อนข้อมูลสามารถย่นระยะเวลาให้สั้นลง และยังได้ผลลัพธ์ที่สอดคล้องกันจากทุกคนในทีมอีกด้วย

ข้อควรระวัง

ระดับของการตีความ และการกระทำบางอย่างที่ทับซ้อนกันอาจสร้างความสับสนได้ในบางครั้ง เช่น ไอเดียที่มาจาก “Modify” อาจสร้างแนวคิดที่ไม่ต่างจากไอเดียที่มาจาก “Adapt” เท่าไหร่

ควรใช้เมื่อไหร่

เทคนิคนี้จะเพิ่มศักยภาพสูงสุดหลังจากกระบวนการสร้างไอเดียมาสองสามรอบ เทคนิคนี้จะช่วยให้ใช้ประโยชน์จากไอเดียที่มีอยู่ได้ดีที่สุด ผลักดันแนวคิดไปสู่อีกระดับ เหมาะกับการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของแต่ละคนโดยต่อยอดจากการมีส่วนร่วมของทีม ทุกคนสามารถตัดสินใจได้ว่าการกระทำจากตัวอักษรไหนใน S.C.A.M.P.E.R. ที่สร้างแรงบันดาลใจในการใช้มากที่สุด

2. The Crazy 8s Game

Ideation Techniques

เทคนิคนี้เป็นสิ่งสำคัญที่ใช้ในการปรับปรุงการบริหารเวลา โดยเน้นที่การแบ่งปันไอเดียให้ได้มากที่สุดในระยะเวลาที่สั้นที่สุด โดยไม่คำนึงถึงคุณภาพของความคิด

เทคนิคนี้ทำงานยังไง

ขั้นตอนที่ 1: แยกกระดาษออกเป็นแปดส่วนในการร่างไอเดีย 

ขั้นตอนที่ 2: เริ่มจับเวลา 8 นาที แล้วให้แต่ละคนวาด 1 ไอเดียต่อ 1 ส่วน ซึ่งจะเท่ากับว่า 1 ความคิดต่อ 1 นาทีให้เต็มหน้า Canvas

ขั้นตอนที่ 3: กระบวนกรจะแจ้งเตือนทีมทุกๆ 1 นาทีเพื่อให้เดินหน้าไปร่างไอเดียใหม่ต่อ No matter how far you’ve gone in your previous square, make sure to follow the rules and move to the next square for optimal results, else you’ll lose the flow. และไม่ว่าช่องก่อนหน้าจะร่างไว้สมบูรณ์หรือไม่สมบูรณ์แค่ไหน ก็ต้องย้ายไปยังช่องถัดไปเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด 

หมายเหตุ

  • ควรใช้เทคนิคนี้ร่วมกับเทคนิคอื่นเพื่อช่วยให้กลุ่มสามารถรวบรวมองค์ประกอบที่น่าสนใจอันดับต้นๆ ที่สร้างจากเทคนิค Crazy 8s เพื่อให้ได้แนวคิดที่เป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น
  • ถ้ามีเวลาน้อยมากๆ สามารถแบ่งเป็นแค่ 4 ส่วนได้ แม้ว่ารูปแบบนี้จะมีความสตรองน้อยกว่า 8 ช่อง ในการผลักดันความคิดสร้างสรรค์

ข้อควรระวัง

  • ไอเดียที่ได้จากเทคนิคนี้อาจไม่ได้ถูกขัดเกลาและกลมกล่อมมากนัก ส่งผลให้ชิ้นส่วนต่างๆขาดการเชื่อมต่อและอาจดูเฉพาะเจาะจงเกินไป
  • ไอเดียอาจขาดโครงเรื่อง จึงไม่ควรให้แต่ละคนแบ่งปันผลลัพธ์ แต่ควรเก็บไว้เพื่อเติมความคิดสร้างสรรค์ และใช้เป็นฐานไอเดียสำหรับรอบต่อไป
  • ในกรณีที่โจทย์กว้างมาก เทคนิคนี้อาจจะมีประสิทธิภาพน้อยลง ดังนั้นเป้าหมายยิ่งชัดเจนยิ่งได้ผลลัพธ์ที่ดี

ควรใช้เมื่อไหร่

ใช้เทคนิค Crazy 8s เพื่ออุ่นเครื่องในการสร้างไอเดียที่รวดเร็วและมีน้ำหนัก เปิดกว้างให้กับการสร้างไอเดียในรอบถัดๆไป 

เทคนิคนี้สามารถใช้เมื่อ:

  • อยากร่างไอเดียซ้ำจากไอเดียเฉพาะอันใดอันหนึ่ง 8 ครั้ง
  • มีไอเดียหลากหลายที่อยากตอบในโจทย์เดียวกัน

3. Mash-up

Ideation Techniques

เทคนิคนี้โฟกัสไปที่การรวมหัวข้อที่ถูกกำหนดขึ้นในช่วงแรกของกระบวนการสร้างไอเดียแทนที่จะคิดวิธีแก้ปัญหาทั้งหมดในครั้งเดียว เทคนิคนี้จะช่วยให้ทีมสามารถโฟกัสที่หัวข้อไม่เกินสามหัวข้อต่อรอบเพื่อเน้นคุณภาพของไอเดียแต่ละชิ้น

เทคนิคนี้ทำงานยังไง

ขั้นตอนที่ 1: ใช้เทคนิค Mash-up โดยเริ่มจากโจทย์การทำแผนที่บนกระดาษโน้ตรอบๆบริบทที่เรากำลังดูอยู่ ให้ทีมมาช่วยระดมความคิดใน 2-3 หัวข้อหลัก เพื่อใช้เป็นแรงบันดาลใจและเป็นข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ต่อได้

ขั้นตอนที่ 2: แต่ละคนจะต้องเลือกกระดาษโน้ตหนึ่งแผ่นต่อหมวดหมู่และวางไว้ข้าง Canvas เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงในการสร้างไอเดีย

ขั้นตอนที่ 3: แต่ละคนจะต้องคิดวิธีแก้ปัญหาที่รวมทั้ง 3 องค์ประกอบที่หยิบขึ้นมาจากแผน ภายในเวลา 6 นาที 

หมายเหตุ ทำเทคนิคนี้ซ้ำสองครั้งเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ให้ทีมเลือกค่าผสมของข้อมูลที่แตกต่างกันสำหรับการ Mash-up เพื่อเพิ่มพลังความคิดสร้างสรรค์ที่จะถูกปลดปล่อยออกมามากขึ้นในรอบที่สอง

ข้อควรระวัง

เช็คให้แน่ใจกระบวนการในการกำหนดแผน และการ Mash-up เป็นไปอย่างถูกต้อง

ควรใช้เมื่อไหร่

  • เทคนิคนี้สร้างสะพานเชื่อมระหว่างการสำรวจปัญหาและการร่างไอเดีย 
  • ใช้ประโยชน์จากข้อมูลการวิจัยที่มีอยู่แบบ Interactive ส่วนแผน 2-3 ธีม จะช่วยเสริมกระบวนการสร้างสรรค์ไปสู่การผสมผสานที่แปลกใหม่ และไม่ธรรมดา

4. Round Robin

Ideation Techniques

เทคนิคนี้ต้องอาศัยวิธีการที่รวดเร็วในการแก้ปัญหา ทำให้ไอเดียที่นำเสนอมีความแข็งแรงขึ้น ทบทวนในเชิงวิจารณ์ และหาแนวทางการแก้ไขสำหรับองค์ประกอบที่ไม่เป็นรูปเป็นร่างพอซึ่งจำเป็นต้องแก้ไข

เทคนิคนี้ทำงานยังไง

ขั้นตอนที่ 1: ให้ทุกคนเริ่มต้นด้วยการกรอกคำถาม “How Might We” (HMW) หรือ “เราจะทำอย่างไรให้…” ลงไปในช่องว่างบน Canvas 

ขั้นตอนที่ 2: จากนั้นให้แต่ละคนร่างวิธีแก้ปัญหา และส่งกระดาษให้คนทางด้านซ้าย

ขั้นตอนที่ 3: ผู้รับต้องทบทวนแนวคิดและเขียนเหตุผลอย่างน้อยหนึ่งข้อว่าทำไมทางออกที่เขียนไว้จึงล้มเหลว หลังจากนั้นกระดาษก็จะถูกส่งไปทางซ้ายอีกครั้ง

ขั้นตอนที่ 4: ในรอบสุดท้ายทุกคนจะถูกขอให้คิดวิธีแก้ปัญหาเพื่อป้องกันความล้มเหลวที่ได้รับการแก้ไข และทำให้แนวคิดนั้นแข็งแกร่งขึ้น เจ้าของไอเดียคนไหนที่สามารถคิดวิธีแก้ปัญหาพร้อมการปรับปรุงให้กับไอเดียของตัวเอง จะได้เป็นผู้เสนอแนวคิดกับคนที่เหลือ

หมายเหตุ ซัพพอร์ตภาพด้วยคีย์เวิร์ดและข้อความ เพื่อที่ว่าเมื่อส่งต่อไอเดียไปให้คนต่อไป เขาจะสามารถเข้าใจไอเดียเหล่านั้นได้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น

ข้อควรระวัง

ใช้ลายมือที่ชัดเจนเพื่อความไหลลื่นของกิจกรรม และผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ไม่เช่นนั้นจะมีคำถามมากมายเกิดขึ้น และจะทำให้ขั้นตอนต่อไปสะดุดไปด้วย

ควรใช้เมื่อไหร่

  • การคิดต่างร่วมกัน ช่วยเพิ่มการทำงานร่วมกันของทีม
  • รวบรวมคำติชม และขัดเกลาไอเดียที่มีอยู่ โดยเราสามารถรวบรวมข้อมูลอันมีค่าเพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นและ ค้นพบโอกาสใหม่ๆ

5. Random Word / Image

เทคนิคนี้เป็นเทคนิคที่อาศัยสิ่งกระตุ้นจากภายนอก เช่น รูปภาพหรือคำ หลังจากที่แต่ละคนได้รับคำหรือรูปภาพแล้ว ต่อไปคือการให้แต่ละคนเตรียมทางแก้ไข และทำให้ไอเดียตัวเองสตรองพอ

หลังจากผ่านวิธีการแก้ไขปรับปรุงแล้ว แต่ละคนก็จะได้เขียนสำนวนการขาย โดยอธิบายแต่ละไอเดียอย่างกระชับ

เทคนิคนี้ทำงานยังไง

ขั้นตอนที่ 1.1: หลังจากมอบกระดาษและปากกาให้แต่ละคน ในกรณีของ Random Word (คำสุ่ม) ให้แต่ละคนเลือกการ์ดแบบสุ่มหนึ่งใบที่ซ่อนคำสุ่มไว้ด้านล่าง หากคุณทำแบบดิจิทัล ให้เปิดโปรแกรมสร้างคำแบบสุ่มและกำหนดคำแบบสุ่มหนึ่งคำให้แต่ละคน 

ขั้นตอนที่ 1.2: ในกรณีของ Random Image (ภาพสุ่ม) ข้อแตกต่างเพียงอย่างเดียวคือการ์ดแต่ละใบควรเปิดเผยรูปภาพ หรือถ้าสมมติมีรูปภาพมากมายวางอยู่รอบๆ เราก็เพียงแค่ตัดรูปภาพออกเพื่อรีไซเคิลสิ่งที่มีอยู่แล้ว 

ขั้นตอนที่ 2: หลังจากให้ทุกคนร่างไอเดียจากคำหรือภาพสุ่มคนละหกนาที ให้แต่ละคนนำเสนอไอเดียของตัวเองสั้นๆ

หมายเหตุ

  • สามารถกำหนดให้มีการ “ข้าม” ได้หนึ่งครั้งในขณะที่กำหนดคำสุ่ม 
  • ให้สร้างการ์ดแบบใช้ซ้ำได้เพื่อใช้เป็นทรัพยากรระยะยาวสำหรับทีม

ข้อควรระวัง

ในกรณีของโจทย์ที่มีข้อจำกัดของแบรนด์ที่เข้มงวด เทคนิคนี้อาจไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีที่สุด ผลลัพธ์อาจรู้สึกออกนอกลู่นอกทาง และไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์สักเท่าไหร่

ควรใช้เมื่อไหร่

  • ผลักดันความคิดสร้างสรรค์ให้เหนือกว่า Reference ที่มีอยู่และเป็นที่รู้จัก
  • ใช้กับคนที่ไม่ค่อยกล้าแสดงออก ให้คิดไอเดียที่เกี่ยวข้องกับภาพหรือข้อความนั้น เพื่อกระตุ้นสมอง และลดความกลัวการตัดสินจากผู้อื่น

5 กฎเหล็กของกระบวนการ Ideation

  1. ไม่มีไอเดียไหนที่แย่
  2. เน้นจำนวนมากกว่าคุณภาพ
  3. จดบันทึกทุกอย่างลงเอกสารไว้
  4. ต่อยอดจากความคิดเห็นคนในทีมเพื่อให้ได้ไอเดียที่แข็งแรงขึ้น
  5. มีทัศนคติที่เปิดกว้างและไม่ตัดสินใคร

จากเทคนิค Ideation ทั้ง 5 แบบที่ทุกคนได้อ่านกันมาข้างต้น จะเห็นได้ว่าไอเดียที่ได้จากเทคนิคต่างๆก็เปรียบเสมือนทรัพย์สินอันล้ำค่าในการสร้างและขับเคลื่อนนวัตกรรมทั้งในระดับเล็กและใหญ่ ซึ่งเทคนิค Ideation ไม่มีวิธีที่ตายตัว หรือถูกต้องที่สุด การทดลองผสมหลายเทคนิคเข้าด้วยกันอาจได้ผลลัพธ์ที่รอบด้านกว่า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ โจทย์ที่ถูกกำหนดมาให้ และแนวทางการทำงานของแต่ละทีม 

หากใครสนใจอยากให้ทีมของตัวเองมาลองทำ UX Ideation Workshop เพื่อผลลัพธ์แบบใหม่ที่อาจต่อยอดธุรกิจไปได้ไกลกว่าเดิม สามารถคลิก “ติดต่อ Predictive” ด้านล่างนี้เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้เลย เรายินดีให้คำปรึกษาเบื้องต้นโดยไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ

Reference

Get in touch

Let's work together!

"*" indicates required fields

Name*
Please let us know what's on your mind. Have a question for us? Ask away.