User Retention Mechanic: กลไกการปล่อย (ลูกค้า) ไป เพื่อให้ได้ (ลูกค้า) กลับมา

User Retention Mechanic: กลไกการปล่อย (ลูกค้า) ไป เพื่อให้ได้ (ลูกค้า) กลับมา

Design for the lives your users are living — not for the value you want to extract from them
ออกแบบเพื่อตอบโจทย์ชีวิตลูกค้า ไม่ใช่เพื่อเงินตราที่ได้มาจากพวกเขา

แน่นอนอยู่แล้วว่าแบรนด์ที่มีเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันเป็นของตัวเองไม่ชอบที่จะสูญเสียลูกค้า เนื่องจากค่าใช้จ่ายทางการตลาดในการหาลูกค้าใหม่นั้นสูงมาก ซึ่งในยุคปัจจุบันที่ผู้คนต้องการเห็นสิ่งใหม่อยู่ตลอดเวลา ทำให้แบรนด์ส่วนใหญ่ลงทุนไปกับการสร้างคอนเทนต์ และฟีเจอร์ใหม่ๆให้กับสินค้าของตัวเอง เพื่อดึงดูดให้ลูกค้าที่มีการใช้สินค้าอยู่แล้วอยู่กับแบรนด์ต่อไป 

ความเชื่อผิดๆเกี่ยวกับการยกเลิกการใช้สินค้า/บริการ

หนึ่งความเชื่อผิดๆที่ถูกส่งต่อกันมาจนถึงทุกวันนี้คือ “การที่ลูกค้าไปเท่ากับว่าสินค้าเราไม่ดี” ดังนั้นแบรนด์ส่วนใหญ่จึงสร้างแบบสอบถามการยกเลิกการใช้งาน โดยให้ตัวเลือกเหตุผลที่ตั้งสมมติฐานบนตัวสินค้าเป็นหลัก ตัวอย่างเช่น

ลูกค้าเลือกที่จะเลิกใช้สินค้าของเรา เนื่องจาก…

  • ไม่ชอบฟีเจอร์ของสินค้า/บริการที่ใช้อยู่ตอนนี้
  • ค่าสมัครสมาชิกแพงเกินไป
  • สินค้า/บริการไม่สามารถใช้กับอุปกรณ์ที่มีอยู่ได้
  • ประสบปัญหาทางเทคนิคกับสินค้า/บริการ

ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว เหตุผลการยกเลิกที่แท้จริงอาจซับซ้อนมากกว่าที่คิด เราลองมาดูเคสตัวอย่างด้านล่างกันค่ะ

เคสตัวอย่าง: 

แอปสตรีมวิดีโอแบบสมัครสมาชิกรายเดือนได้ลองทำการสำรวจกับกลุ่มผู้ใช้ที่ยกเลิกบริการ โดยแบ่งการให้คะแนนความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์ออกเป็นสามส่วน ได้แก่ ฟีเจอร์การใช้งาน, คอนเทนต์ของวีดีโอ และ การเข้าถึงผ่านอุปกรณ์ที่ใช้ ซึ่งผลลัพธ์ที่ออกมาคือผู้ที่ยกเลิกบริการให้คะแนนความพึงพอใจระดับสูงหมดทั้งสามส่วน และคะแนนความพึงพอใจโดยรวมก็สูงพอๆกัน

เราจะเห็นได้ว่าจากเคสดังกล่าวทำให้แบรนด์เข้าใจว่า การที่ลูกค้าเลือกที่จะหยุดใช้สินค้า/บริการไม่ได้แปลว่า สินค้า/บริการของเราไม่ดี หรือ ลูกค้าไม่พอใจกับแบรนด์เสมอไป 

แต่สิ่งที่น่าสงสัยคือทำไมคนถึงเลือกที่จะยกเลิกบริการทั้งๆที่เขาก็พึงพอใจกับสินค้าหรือตัวแบรนด์กันล่ะ ?

อะไรคือสิ่งที่ทำให้คนพึงพอใจ?

Daniel Kahneman นักจิตวิทยาที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ ได้แชร์ส่วนสำคัญจากหนังสือของเขา ‘Thinking, Fast and Slow’ เพื่อตรวจสอบพื้นฐานทางจิตวิทยาเกี่ยวกับวิธีการตัดสินใจของผู้คน ซึ่งมีส่วนหนึ่งที่เขียนเกี่ยวกับ วิธีการที่อรรถประโยชน์ (Utility) ของสินค้า/บริการส่งผลต่อความต้องการที่ผู้คนอยากจะได้มันมา แล้วมันส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้อย่างไรในท้ายที่สุด 

Kahneman อธิบายสิ่งนี้จากมุมมองทางเศรษฐศาสตร์:

คนที่มีเงิน 3,000 บาท จะรู้สึกพึงพอใจกับของขวัญราคา 300 บาท
เช่นเดียวกันกับการให้ของขวัญราคา 600 บาท กับคนที่มีเงิน 6,000 บาท

แนวคิดพื้นฐานจากมุมมองนี้คือ ทุกคนที่กำลังพิจารณาซื้อสินค้า/บริการ จะชั่งน้ำหนักระหว่างอรรถประโยชน์ที่ได้รับกับต้นทุนที่มีเสมอ หากอรรถประโยชน์สูงมากพอเมื่อเทียบกับราคาที่ต้องจ่าย ผู้บริโภคก็มีแนวโน้มที่จะซื้อมากกว่า

ทีนี้มาถึงเคสที่ว่าลูกค้ามาหาเราเพื่อจะมาดูสินค้า/บริการ
ลูกค้าชั่งน้ำหนักระหว่างความพึงพอใจและราคาของสินค้าแล้ว ตัดสินใจซื้อทันที
หนำซ้ำหลังจากที่ได้ใช้ก็รู้สึกพึงพอใจอย่างมากกับสินค้า/บริการของเรา

…แต่อยู่ดีๆลูกค้าก็เลือกที่จะหยุดใช้ขึ้นมาซะอย่างงั้น จุดน่าสนใจอยู่ตรงนี้ค่ะ 

แนวคิดดั้งเดิมจาก Daniel Bernoulli ในปี 1738 ที่เน้นย้ำว่า ‘ความพึงพอใจเป็นปัจจัยที่ทำให้คนตัดสินใจซื้อสินค้า/บริการ (Utility Theory)’ นั้นมีข้อบกพร่องอยู่จริง โดยสันนิษฐานว่าสิ่งที่ทำให้คนพึงพอใจมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอรรถประโยชน์ของสิ่งนั้นๆ ซึ่งตามหลักของ Kanheman แล้ว ข้อสมมติฐานที่ว่า ‘ถ้าเราและเพื่อนมีเงิน 3,000 บาทเท่ากันทั้งคู่ เราทั้งสองคนจะมีความพึงพอใจในระดับเท่ากันตามมูลค่าที่มีอยู่ในมือ’ จะผิดทันที

วันนี้ A และ B มีเงินอยู่ 5 ล้านบาท
เมื่อวาน A มีอยู่ 1 ล้าน ในขณะที่ B มีอยู่ 9 ล้าน
คุณคิดว่า A และ B มีความพึงพอใจเท่ากันไหม ?

จากมุมนี้เราจะเห็นได้ชัดเจนว่า A น่าจะตื่นเต้นมาก ในขณะที่ B คงจะเซ็งไม่น้อย แม้ว่าทั้งคู่ควรจะรู้สึกพึงพอใจไม่ต่างกันเพราะมีเงินในกระเป๋า 5 ล้านบาทเท่ากัน

ซึ่งหากมองจากมุมของ Kanheman เราจะเข้าใจได้ทันทีว่าระดับความพึงพอใจที่ A และ B มีนั้นถูกกำหนดด้วยการจำนวนเงินล่าสุดที่เปลี่ยนไป (A ได้เงินเพิ่มขึ้น 4 ล้าน / B เสียเงินไป 4 ล้าน)

คนที่พึงพอใจอยู่แล้วจะไม่ยกเลิกการใช้งานเพียงเพราะคุณค่าของสินค้า/บริการนั้นเปลี่ยนไป สถานการณ์ชีวิตของลูกค้าในปัจจุบันต่างหากคือปัจจัยหลักที่ทำให้การรับรู้ ‘อรรถประโยชน์’ หรือความพึงพอใจของลูกค้าเปลี่ยนไป

เคสตัวอย่าง (ต่อจากด้านบน): 

แอปสตรีมวิดีโอเจ้าเดิมได้ลองเปลี่ยนแบบสอบถามการยกเลิกการใช้บริการรายเดือนใหม่
โดยให้หนึ่งในตัวเลือกเหตุผลการยกเลิกเป็นคำว่า “อื่นๆ” พร้อมเว้นช่องว่างให้ลูกค้าใส่เหตุผลลงไป
ซึ่งผลลัพท์ที่ได้แตกต่างไปจากที่ทีมงานคิดเอาไว้อย่างสิ้นเชิง โดยมีความสอดคล้อง กับสถานการณ์ชีวิตลูกค้าในปัจจุบัน


ซึ่งเหตุผลแท้จริงที่ลูกค้าเลือกที่จะเลิกใช้สินค้า เนื่องจาก…

  • ไปเที่ยวช่วงหน้าร้อนหลายเดือน เดี๋ยวกลับมาต่อสมาชิก
  • ตอนนี้โดนบริษัทเชิญออก จะกลับมาสมัครใหม่ในวันที่หางานได้แล้ว
  • มีกองหนังสือเป็นตั้งรอให้เปิดอ่านอยู่ ขอจัดการตรงนั้นก่อน

จากเคสที่แบรนด์เปิดให้ลูกค้าใส่เหตุผลที่ยกเลิกของตัวเองลงไปนี้ ทำให้ยิ่งเห็นภาพว่ามันเป็นไปไม่ได้เลยกับการคาดหวังจะรักษาลูกค้าไว้โดยทำให้พวกเขามีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่องโดยไม่ได้สนใจข้อเท็จจริงที่ว่าลูกค้าก็มีชีวิตของตัวเองซึ่งนอกเหนือจากสินค้า/บริการที่เราพยายามหยิบยื่นให้ 

การยกเลิกทุกครั้งเกิดขึ้นไม่เท่ากัน (Not all cancels are created equal) 

จริงอยู่ที่การปรับปรุงสินค้า/บริการจะช่วยให้ประสบการณ์โดยรวมของผู้ใช้งานดีขึ้น ถึงจะสำคัญแต่ก็ยังไม่ใช่ตัวยาหลักที่สามารถรักษาลูกค้าไว้ได้

เราต้องนิยามคำว่า “ลูกค้าประจำ” ใหม่

ความภักดี (Loyalty) ไม่ได้หมายความว่าลูกค้าจะต้องอยู่กับเราตลอดไป หากลูกค้ายกเลิกการใช้งานเพื่อเดินทาง แล้วกลับมาใช้บริการอีกหนึ่งเดือน หรือสอง หรือสามเดือนข้างหน้า มันแปลว่าเราเสียลูกค้าไปแล้วจริงหรือ? การยกเลิกจะเป็นจริงก็ต่อเมื่อลูกค้าไม่ได้ตั้งใจจะกลับมาใช้สินค้า/บริการต่ออีกแล้ว

หากเรายอมรับความจริงที่ว่าผู้คนมีชีวิตนอกเหนือจากสินค้า/บริการของเรา หากเราออกแบบสินค้า/บริการโดยคำนึงถึงข้อเท็จจริงที่ว่าอรรถประโยชน์ที่เรามอบให้จะลดลงและลื่นไหลตามการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ในชีวิตของพวกเขา เราจะจัดโครงสร้างสินค้า/บริการของเราเพื่อรองรับสิ่งนี้ได้อย่างไรกันล่ะ?

เคสตัวอย่าง: 

การยกเลิกสมาชิกใน Spotify

Spotify เริ่มต้นด้วยกระบวนการยกเลิกโดยมีตัวเลือกที่บอกว่าฉันจะยกเลิกเพราะเดินทางไปเที่ยว จากนั้นก่อนที่ลูกค้าจะตัดสินใจขั้นสุดท้ายเพื่อยกเลิก Spotify จะให้คำอธิบายว่าแอปของเขาจะช่วยทำให้การเดินทางครั้งนี้สนุกขึ้นอย่างไร

อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ใช้ที่ตอบว่า “ฉันกำลังพยายามประหยัดเงิน” Spotify ก็มีวิธีตอบสนองต่อผู้ใช้เพื่อโน้มน้าวใจว่าลงทุนกับ Spotify คุ้มค่าที่สุดแล้ว ซึ่งถือเป็นการไม่เคารพต่อการตัดสินใจ และสถานการณ์ชีวิตของลูกค้าในปัจจุบัน

คิดแบบลูกค้าเพื่อรักษาลูกค้า (Think: User-centered retention) 

เราต้องรู้ก่อนว่าสินค้าเราจะได้รับผลกระทบจากอะไรบ้าง ใช้เวลาเพื่อค้นหาเหตุการณ์หรือปัจจัยภายนอกที่อาจส่งผลกระทบต่ออรรถประโยชน์ของสินค้า/บริการ จากนั้นก็ค่อยๆต่อยอดพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อรักษาลูกค้าโดยใช้เหตุการณ์หรือปัจจัยเหล่านั้นเป็นที่ตั้ง 

ถ้าเรามีแบบสอบถามการยกเลิกการใช้งาน ให้สร้างคำถามที่แบบ User-centric หรือการเอาลูกค้ามาเป็นศูนย์กลาง แทนที่จะให้ตัวเลือกบังคับโดยที่โฟกัสที่ตัวสินค้า/บริการเป็นหลัก เราควรให้ตัวเลือกในการยกเลิกที่เปิดกว้างมากขึ้นกับลูกค้า เพื่อเรียนรู้และเข้าใจในตัวลูกค้ามากขึ้น

อย่าคาดเดาไปเองว่าลูกค้ายกเลิกเพราะลูกค้าไม่พอใจ หรือเพราะสินค้า/บริการไม่ดี บางครั้งชีวิตก็มีขึ้นมีลงเป็นธรรมดา ถ้าเราทำให้ผู้คนที่กำลังเลิกสูบบุหรี่กลับมาอยากสูบบุหรี่อีกครั้งก่อนที่พวกเขาจะพร้อมกลับมาสูบจริงๆ มันก็เหมือนทำให้ใครบางคนรู้สึกกดดันเปล่าๆ

เราต้องเตือนตัวเองอยู่เสมอว่าสินค้า/บริการของเราเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งในชีวิตของลูกค้าเท่านั้น จงเคารพการตัดสินใจและชีวิตส่วนตัวของลูกค้า และสุดท้ายเราจะได้รับรางวัลจากลูกค้าที่จะกลับมาครั้งแล้วครั้งเล่าเอง

จากบทความนี้เราจะเห็นได้ว่าการที่จะรักษาลูกค้าเอาไว้ เราไม่จำเป็นต้องหาสารพัดวิธีเพื่อรั้งลูกค้าเอาไว้ บางครั้งทฤษฎีทางการตลาดก็ไม่ได้ตอบโจทย์การยกเลิกของลูกค้าเสมอไป ยังมีปัจจัยที่เราควบคุมไม่ได้อีกมากมายที่ส่งผลให้ลูกค้าตัดสินใจยกเลิกการใช้สินค้า/บริการของเรา หากเราเชื่อว่าสินค้า/บริการเราดีจริง เราต้องเชื่อว่าลูกค้าที่เลือกที่จะยกเลิกในวันนี้จะกลับมาในวันหน้าอย่างแน่นอน

หากใครสนใจอยากเรียนรู้มุมมองทางการตลาดโดยนำเหตุการณ์หรือปัจจัยที่ลูกค้าต้องเจอในชีวิตมาเป็นตัวตั้งมากยิ่งขึ้น เราขอการันตีว่าการทำ UX Workshop กับเราจะสามารถตอบโจทย์คุณได้แน่นอน คุณจะได้ผลลัพธ์แบบใหม่ในการรักษาลูกค้าประจำเอาไว้ พร้อมทั้งต่อยอดธุรกิจให้ไปได้ไกลยิ่งกว่าเดิม คลิก “ติดต่อ Predictive” ด้านล่างนี้เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้เลย เรายินดีให้คำปรึกษาเบื้องต้นโดยไม่มีค่าใช้จ่าย

Reference

How we can help

Fill out the form below to discuss your needs or learn more about our services

"*" indicates required fields

Name*
Please let us know what's on your mind. Have a question for us? Ask away.