ทุกเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันย่อมมีเป้าหมาย ก่อนที่ผู้ใช้งานจะไปถึงเป้าหมาย ย่อมมีพฤติกรรมจำเพาะบางอย่างแฝงอยู่ภายใน
Event tracking จะเป็นตัวกางแผนพฤติกรรมที่เกิดขึ้นทั้งหมดออกมาให้เราดู และนั่นคือสิ่งที่เราจะมาทำความรู้จักกันในวันนี้ครับ
เลือกอ่านหัวข้อที่คุณสนใจ
ทำไมต้องทำ Event Tracking
หากเราเป็นเจ้าของเว็บไซต์ขายเสื้อผ้าสักเว็บหนึ่ง เป้าหมายปลายทางของเราก็คงจะหนีไม่พ้นการที่อยากให้คนมาซื้อเสื้อผ้าเราเยอะๆถูกไหมครับ
ณ ตอนนี้หากคุณใช้ Google Analytics คุณก็จะมีข้อมูลว่า
- ผู้ใช้เป็นใคร
- ผู้ใช้เข้ามายังไง
- มาที่หน้าไหนเป็นหน้าแรก
- ไปใช้งานหน้าไหนต่อบ้าง
- ซื้อเสื้อของเราไปกี่ตัว สีอะไร ไซส์อะไร
- ฯลฯ
ซึ่งถามว่าพอไหม.. ไม่พอครับ
เราจะรู้ได้อย่างไรว่า
- ยอดขายที่ได้คือยอดขายที่ควรจะเป็น
- ผู้ใช้ประสบปัญหาในการใช้งานเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันหรือเปล่า
- ผู้ใช้งานสนใจปุ่มหรือ section ต่างๆของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันของมากแค่ไหน
- ก่อนจะซื้อเสื้อของเรา ผู้ใช้งานมีพฤติกรรมอย่างไร
- ผู้ใช้งานเข้ามาในส่วนที่เราต้องการให้เห็นมากแค่ไหน
ซึ่งนี่เป็นแค่คำถามเบื้องต้นที่สามารถตอบได้เท่านั้น และนี่แหละครับคือความสำคัญของ event tracking
จริงๆแล้ว Event Tracking คืออะไร
Event tracking เป็นหนึ่งใน feature ของ Google Analytics ที่ทำให้เราสามารถบันทึกกิจกรรมใดๆก็ตามของผู้ใช้งานที่เกิดขึ้นบนเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันของเรา ด้วย event tracking เราสามารถบันทึกกิจกรรมเหล่านี้ได้
- กดปุ่มสมัครรับ e-mail
- ดาวน์โหลด PDF
- คลิกลิงค์ไปนอกเว็บไซต์
- คลิก filter ในส่วนค้นหา
- เข้าเมนูไหนมากเป็นพิเศษ
- ดูวีดิโอจนจบ
- กรอกฟอร์มลงทะเบียน
- คลิกปุ่มโทรติดต่อ
- เลื่อนมาถึงส่วนไหนในหน้าเพจ
- แชร์เนื้อหาของเรา
จะเห็นได้ว่ากิจกรรมเกือบที่หมดที่เกิดขึ้นบนเว็บไซต์ของเรา Google Analytics สามารถดักจับไว้ได้เกือบหมด เพราะฉะนั้นก็ขึ้นอยู่กับความต้องการของเราแล้วล่ะครับ ว่าอยากเก็บอะไรไว้บ้าง
โครงสร้างของ Event Tracking ใน Google Analytics
มาถึงตรงนี้ เรารู้จัก event tracking กันมากขึ้นแล้ว ทีนี้เรามาเข้าใกล้การวางแผนตั้งชื่อกันให้มากขึ้นกันครับ
Event ใน Google Analytics จะแบ่งออกเป็น 4 ส่วนดังนี้
Dimension/Metric | ชนิดตัวแปร | รายละเอียด |
---|---|---|
Event Category | String | section ของจุดที่เกิดกิจกรรมนั้นๆขึ้น เช่น header, footer |
Event Action | String | ชนิดของกิจกรรม เช่น click, view, download |
Event Label | String | ชื่อปุ่ม / ไฟล์ / วีดิโอ / filter ที่เกิดกิจกรรมนั้นๆ เช่น Contact Us, Blog |
Event Value | Integer | ค่าของกิจกรรมนั้นๆ อาจตีค่าเป็นเงิน หรือตัวเลขใดๆก็ได้ |
หลังจากเรารู้ว่าแต่ละอันคืออะไรแล้ว แต่เชื่อว่าหลายๆคนอาจจะยังงงอยู่ว่ามันใช้ร่วมกันยังไง
ในเชิงของการเก็บข้อมูลนั้น Event Category, Event Action, Event Label, และ Event Value ถูกเก็บแยกจากกัน
แต่ตอนดู report เราจะต้องดูพร้อมกัน และในท้ายที่สุดเราควรที่จะต้องตั้งชื่อให้สอดคล้องกันเพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์ data ได้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
หลักการตั้งชื่อ Event
เนื่องจากชื่อทุก event จะถูกส่งเข้าไปเก็บรวมกันใน Google Analytics เพราะฉะนั้นหากเราไม่วางแผนตั้งชื่อดีๆ สุดท้ายแล้วอาจทำให้เราอ่าน report ไม่รู้เรื่องได้ในท้ายที่สุด
หลักการตั้งชื่ออย่างง่ายคือ
ถ้าดูชื่อที่ตั้งไว้ใน report Event category, Event Action, และ Event Label แล้วต้องรู้ว่าปุ่มนั้นๆอยู่ที่ไหนในหน้าเว็บไซต์
หากมองวิธีตั้งชื่อให้เป็นภาพ จะออกมาเป็นเหมือนภาพข้างล่างนี้ครับ
***ย้ำอีกครั้งว่าภาพข้างล่างไม่ใช่วิธีการเก็บข้อมูลใน BigQuery เป็นเพียงภาพที่ใช้ในการตั้งชื่อ Event เท่านั้น
ตัวอย่างการตั้งชื่อ Event
สมมติว่าผมจะตั้งชื่อให้ปุ่ม Our Services ตรงส่วน header ของเว็บไซต์
ถ้าอิงจากหลักการข้างบนชื่อที่ได้จะเป็น
Dimension | Name | Description |
---|---|---|
Event category | header | เป็น section header ในหน้าเว็บไซต์ |
Event action | click | การกระทำที่เกิดขึ้นคือ click |
Event label | our_services | ปุ่มที่ถูก click คือ Our Services |
จะเห็นได้ว่าถ้าดูชื่อโดยที่ไม่ดูภาพ เราก็ยังรู้ได้อยู่ดีว่าปุ่มนี้คือส่วนไหนในหน้าเว็บไซต์
การนำ Event Tracking ไปใช้งานจริง
หลังจากเรารู้ว่า Event tracking คืออะไรไปจนถึงการตั้งชื่อแล้ว ต่อไปคือส่วนที่สำคัญที่สุด นั่นคือ การเอาไปใช้งานจริง
ดูว่าแบบฟอร์มเรามีปัญหาตรงไหน
หากเราไม่ได้ track event เอาไว้เราก็จะรู้ว่าจำนวนคนที่มากรอกแบบฟอร์มเรามีจำนวนเท่าไหร่ เพียงแค่นั้น
แต่ถ้าเรา track event ในฟอร์มของเรา เราจะสามารถรู้ได้ว่าผู้ใช้งานกรอกมาถึงช่องไหนแล้วเลิกกรอกไป หรือโดยภาพรวมแล้วผู้ใช้งานติดปัญหาที่ช่องไหนเป็นพิเศษ เราก็สามารถปรับปรุงฟอร์มเราให้ดีขึ้นได้ อย่างเช่น ถ้าเพิ่มช่องเก็บข้อมูลที่อยู่เข้าไปจะทำให้มีคนกรอกน้อยลงหรือเปล่า หรือถ้าลบบางช่องออกไปจะทำให้มีคนกรอกเพิ่มขึ้นหรือไม่
มีปุ่มเดียวกันหลายที่ จะรู้ได้อย่างไรว่าผู้ใช้กดตรงไหน
จากหน้าแรกของเว็บ Predictive จะเห็นว่ามีปุ่ม Contact อยู่สองที่คือด้านบนและด้านล่าง
การ track event จะทำให้เรารู้ได้ว่าปุ่มไหนมีคนคลิกมากกว่ากัน ซึ่งถ้าหากเป็นข้างล่าง เราอาจจะนำข้อความหรือปุ่มอะไรที่น่าสนใจไปวางไว้แถวนั้นเพิ่มเติมได้ หรืออย่างน้อยที่สุดเราจะรู้ได้ว่าผู้ใช้มีความสนใจเนื้อหาในหน้าแรกของเราประมาณนึง จนทำให้เขาไล่มาถึงส่วนสุดของหน้าเพจได้
ขั้นตอนต่อไป…
ตอนนี้เชื่อว่าผู้อ่านทุกคนน่าจะเข้าใจภาพรวมของ Event tracking มากขึ้นแล้วใช่มั้ยครับ ถ้าผู้อ่านคนไหนเป็นเจ้าของเว็บไซต์/แอปพลิเคชัน รอติดตามชมตอนต่อไปได้เลยครับ ในบทความต่อไปเราจะมาเล่าถึงวิธี setup event tracking ใน Google Analytics กัน หรือหากสนใจอยากให้ทาง Predictive ช่วยวางแผนการเก็บข้อมูลเพื่อไปต่อยอดต่อทางธุรกิจสามารถติดต่อได้ที่ Contact Form
Get in touch
Let's work together!
"*" indicates required fields
Pingback: Google Analytics 4: Monetization Report คืออะไร ทำไมถึงสำคัญกับธุรกิจ - Predictive, Digital Analytics, UX & Strategy Consulting
Pingback: 6 เทรนด์การตลาดปี 2022 พร้อมแนวทางการปรับตัวสำหรับธุรกิจ - Predictive, Digital Analytics, UX & Strategy Consulting