Heat-Map Analysis ตัวช่วยวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้งานของลูกค้า และปรับเว็บไซต์ได้อย่างตรงจุด

คุณเคยสงสัยไหมว่า ผู้ใช้งานนั้นเข้ามาทำอะไรบ้างบนเว็บไซต์ของคุณ 

มีประสบการณ์การใช้งานยังไง คลิกส่วนไหนเยอะ เลื่อนอ่านถึงตรงไหนของหน้าเว็บไซต์​ ? 

คำตอบเหล่านี้สามารถหาได้จากการใช้ข้อมูลจาก Heat-Map Analysis ซึ่งจะช่วยให้เข้าใจพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของผู้ใช้งานที่ลึกขึ้น รู้ว่าตรงไหนที่ดีแล้ว ตรงไหนที่ควรพัฒนา และพัฒนาเว็บไซต์ต่อไปอย่างไร ถ้าพร้อมแล้วไปอ่านกันได้เลยค่ะ

Heat-Map Analysis คืออะไร 

Heat-Map Analysis เป็นตัวช่วยในการเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานบนเว็บไซต์ ว่ามีการคลิกที่ปุ่มไหนบ้าง , เลื่อนไปถึงส่วนไหนของหน้าเว็บไซต์ ไม่สนใจส่วนไหนของเว็บไซต์ 

ซึ่งใน Heat-Map Analysis นั้นจะใช้สี ในการบ่งบอกปริมาณของ Action (คลิก / Scroll / การเคลื่อนไหวของเมาส์) โดย สีแดง หมายถึง มีการใช้งานที่เยอะ  และ สีน้ำเงิน หมายถึง ไม่ค่อยมีการใช้งาน ซึ่งเมื่อสีเหล่านี้ Visualize ออกมาบนหน้าเว็บไซต์ ทำให้เราเห็นภาพรวมของการปฎิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในเว็บไซต์ของเรา 

Heat-Map Analysis มีประโยชน์อย่างไร 

  1. ผู้ใช้มองเห็นสิ่งที่สำคัญบนเว็บไซต์หรือไม่ ? เช่น ผู้ใช้ scroll ไปถึงเนื้อหาส่วนที่สำคัญหรือไม่, scroll ไปลึกแค่ไหน ซึ่งสามารถดูได้จาก Scroll Map  (ซึ่งจะอธิบายว่า Scroll Map คืออะไรในส่วนถัดไป)
  2. ผู้ใช้คลิกไปยังจุดที่สำคัญหรือไม่ ?​ เช่น ทำให้รู้ว่าผู้ใช้คลิก Call to Action มากแค่ไหน และคลิกจุดอื่นๆ มากน้อยแค่ไหน ซึ่งสามารถดูได้จาก Click Map  (ซึ่งจะอธิบายว่า Click Map คืออะไรในส่วนถัดไป)
  3. ผู้ใช้สับสนระหว่างสิ่งที่คลิกได้ กับสิ่งที่คลิกไม่ได้หรือไม่ ? เช่น บนเว็บไซต์มีสิ่งที่ไม่ได้ออกแบบมาให้คลิกได้ แต่มีผู้ใช้งานคลิกหรือไม่? นั้นหมายความว่าผู้ใช้อาจจะต้องการที่จะทำอะไรบางอย่างถึงคลิกมัน เราสามารถเลือกที่จะปรับปรุงโดยปรับเปลี่ยนการออกแบบให้ชัดเจนว่าสิ่งนี้ไม่สามารถคลิกได้ หรือปรับให้สิ่งนั้นคลิกได้และพาผู้ใช้ไปยังสิ่งที่เกี่ยวข้องกับ Call to Action นั้น ๆ 
  4. ผู้ใช้งานมีการโฟกัสกับเนื้อหา หรือ สิ่งที่เราต้องการให้เห็นหรือไม่ ?​ เช่น เราสามารถดูข้อมูลจาก Move Map (ซึ่งจะอธิบายว่า Move Map คืออะไรในส่วนถัดไป) เพื่อดูว่าลูกค้ามักเลื่อนเมาส์ไปส่วนไหนของหน้าเว็บไซต์ ซึ่งโดยส่วนใหญ่คนมักจะเลื่อนเมาส์ไปยังตามจุดที่สายตาเราโฟกัส หากพบว่ามีการเคลื่อนเมาส์ไปในส่วนที่ไม่ใช้เนื้อหาหลัก แปลว่าในหน้าเว็บไซต์ของเราอาจจะมีสิ่งที่รบกวนหรือดึงดูดสายตาผู้ใช้มากเกินไป

Heat-Map Analysis มีกี่ประเภท

1. Scroll Maps

เก็บข้อมูลการ Scroll หน้าเว็บไซต์ของลูกค้า ว่ามีการเลื่อนดูหน้าเว็บไซต์นั้นๆ ถึงตรงไหน เลื่อนไปอ่านจนจบหน้าเว็บไซต์เลยหรือไม่

ตัวอย่างการนำไปใช้ 

  • เว็บข่าว ต้องการดูคนเลื่อนลงไปอ่านถึงส่วนไหนของหน้า ซึ่งเมื่อดูข้อมูลจาก Heat-Map Analysis อาจจะวิเคราะห์ได้ว่า 50% ของผู้ใช้งาน ไม่เลื่อนลงไปอ่านข้อมูลต่อ  ซึ่งสามารถนำไปวิเคราะห์ต่อ เช่น เนื้อหาไม่น่าสนใจมากพอ เป็นต้น 

2. Move Maps 

ติดตามว่าผู้ใช้งานมักจะลากเมาส์ไปส่วนไหนของเว็บไซต์บ้าง โดยทั่วไป พฤติกรรมของผู้ใช้งานคือมักจะเลื่อนเมาส์ไปตามการไล่สายตา หมายความว่า บริเวณไหนที่เป็นสีแดง เป็นส่วนที่ผู้ใช้งานให้ความสนใจมากที่สุด ซึ่งการเก็บข้อมูล Move Maps นั้นสามารถเก็บได้เฉพาะข้อมูลจาก Desktop เท่านั้น

ตัวอย่างการนำไปใช้

ตัวอย่างการนำไปใช้ เว็บสมัครสินเชื่อออนไลน์ มี Lead Form ให้ผู้ใช้งานกรอกด้านขวา แต่เมื่อดู Move Maps แล้วพบกว่า ส่วนใหญ่ลูกค้ามักจะใช้งาน (เลื่อนเมาส์) บริเวณข้อมูลฝั่งซ้ายเท่านั้น 

จากข้อมูลที่ได้ ทำให้วิเคราะห์ต่อได้ว่า 

  • ข้อมูลที่สื่อสารออกไปยังไม่น่าสนใจมากเพียงพอ 
  • Lead Form ด้านขวาไม่โดดเด่น เช่น Text , สี

สิ่งที่ธุรกิจต้องวิเคราะห์ต่อคือการวางแผนปรับปรุงหน้าเว็บไซต์ เพื่อให้คนกรอก Lead มากยิ่งขึ้น โดยสามารถทำได้ผ่าน A/B Testing เช่น ปรับตำแหน่งของฟอร์มโดย นำฟอร์มมาไว้ด้านซ้าย , ลองปรับเปลี่ยนองค์ประกอบในหน้า Form , ลองปรับเนื้อหาให้มีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น 

3. Click Maps 

โชว์ว่าผู้ใช้งานคลิกองค์ประกอบไหนบ้างและมีจำนวนคนที่คลิกมากน้อยเพียงใด

ตัวอย่างการนำไปใช้

เว็บไซต์ธนาคาร รู้ว่าลูกค้ามักจะคลิกส่วนไหนบ้าง หรือมีองค์ประกอบใดที่ทำให้ผู้ใช้สับสนและเข้าใจว่าสามารถคลิกได้หรือไม่

การใช้งาน Heat-Map Analysis ร่วมกับการใช้เครื่องมือทาง User Experience เพื่อประสิทธิภาพที่ดีขึ้น 

Heat-Map Analysis และ Google Analytics 

ข้อมูลจาก Google Analytics นั้นช่วยให้เราเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานเชิงลึก เช่น จำนวน Lead Generation ,Exit Page , Average Time Duration , Bounce Rate นอกจากนี้ยังสามารถรู้ข้อมูลพฤติกรรมของลูกค้าผ่านการติด Event Tracking  เช่น ลูกค้ากดปุ่มไหน เลื่อนดูหน้าเว็บไซต์ (Scroll Depth) มากน้อยเท่าไหร่ 

ดังนั้นเมื่อข้อมูลจาก Google Analytics แล้ว เราสามารถนำมาข้อมูลจาก Heat-Map Analysis มาช่วยวิเคราะห์ได้ลึกอีกขั้น

เช่นหน้า Product A มีคนเข้ามีทั้งหมด 100,000 Pageviews มี Average Time Duration 2.03 นาที และยอด Lead Generation 2 Leads ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งตัวเลข 2 Leads เป็นตัวเลขที่ค่อนข้างน้อย 

จึงมีใช้ข้อมูลจาก Heat-Map Analysis เพื่อวิเคราะ์ User Experience เพิ่มเติม เพื่อดูว่าจาก 10,000 Pageviews นั้นเข้ามาทำอะไรบ้าง มีพฤติกรรมการเลื่อนเมาส์ (Move Tracking) เป็นยังไง เมาส์เลื่อนไปในพาร์ทของฟอร์มมากน้อยแต่ไหน เลื่อนไปดูส่วนไหนของเว็บบ้าง หรือคลิกองค์ประกอบไหนที่ไม่ได้สร้างมาเพื่อกดหรือไม่ เป็นต้น 
อ่านเพิ่มเติม : รู้จัก Event Tracking พร้อมติดตามผู้ใช้งานระดับพฤติกรรม ได้ที่นี่

Heat-Map Analysis และ Session Replay 

ปกติแล้ว Heat-Map Analysis จะเป็นข้อมูลเชิง Quantitative ซึ่งเป็นข้อมูลเชิงภาพรวม การใช้ Session Replay จึงเข้ามาช่วยให้ธุรกิจเข้าพฤติกรรมของผู้ใช้งานรายคนเลย รู้ว่าแต่ละคนมีพฤติกรรมเป็นยังไง ซึ่งเหมาะมากสำหรับธุรกิจที่ต้องการ Insight เชิงลึกรายบุคคล แต่มักจะใช้ต้นทุนที่สูง และใช้เวลานาน

Heat-Map Analysis และ on-page feedback 

Heatmaps เป็นข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Data) ที่เก็บพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์จากคนปริมาณมาก ทำให้เราเห็นภาพรวมของพฤติกรรมของผู้ใช้ ซึ่งเมื่อเราใช้ on page feedback โดยวาง survey ที่หน้านั้นๆ ทำให้ผู้ใช้สามารถบอกปัญหาการที่เกิดขึ้นในหน้าเว็บไซต์ได้ เราก็จะสามารถนำข้อมูล Heat-Map Analysis และ feedback มาวิเคราะห์ร่วมกันได้

Heat-Map Analysis และ A/B Testing 

เมื่อเราได้ข้อมูลจาก Heat-Map Analysis แล้วและสามารถระบุปัญหาได้ ต่อมาคือ การพัฒนา User Experience ให้ดีขึ้น ซึ่งการทำ A/B Testing เป็นการทดสอบว่าองค์ประกอบ (Element) แบบไหน จะช่วยให้ผู้ใช้งานเกิดประสบการณ์การใช้งานที่ดี และนำไปสู่ Conversion ที่มากที่สุด 

ยกตัวอย่างเช่น แบรนด์จะรู้ได้อย่างไรว่า ปุ่มสีเขียว หรือ ปุ่มสีแดง จะกระตุ้นให้ลูกค้าคลิกมากกว่ากัน ก็ต้องลองทดสอบผ่าน A/B Testing โดยระบบจะสร้างเว็บไซต์ออกเป็นสองเวอร์ชันได้แก่ 

  • เวอร์ชัน A ที่ใช้ปุ่มสีแดง 
  • เวอร์ชัน B ใช้ปุ่มสีเขียว

และสุ่มแสดงแต่ละเวอร์ชันกับผู้ใช้งานที่มีโปรไฟล์ใกล้เคียงกัน (กลุ่ม Segment ที่แบรนด์ต้องการทดสอบ) จากนั้นรอดูผลลัพธ์ว่าเวอร์ชันไหนที่สร้าง Conversion Rate ได้มากกว่ากัน ซึ่งการทำ A/B Testing ก็ช่วยให้แบรนด์ไม่ต้องคิดไปเองว่าควรปรับแบบไหน แต่จะสามารถปรับดีไซน์ได้ดีขึ้นได้จริง โดยอิงจากผลลัพธ์จากผู้ใช้งานจริง

อ่านเพิ่มเติม A/B Testing คืออะไร ช่วยเพิ่ม Conversion Rate ให้แบรนด์ได้อย่างไร

สรุปการทำ Heat-Map Analysis 

Heat-Map Analysis เป็นเครื่องมือที่ทำให้เราเข้าใจพฤติกรรมการใช้งาน การคลิก การ Scroll และ ระบุปัญหาประสบการณ์การใช้งานที่ไม่ดี เพื่อแก้ไขและพัฒนาประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างตรงจุด

ซึ่ง Heat-Map Analysis นั้นสามารถใช้ร่วมกับ UX ตัวอื่นๆ เช่น Google Analytics , A/B Testing เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และได้ข้อมูลที่แม่นยำมากยิ่งขึ้น

หากคุณต้องการติดตั้ง Heat-Map Analysis เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลการใช้งานบนเว็บไซต์ ให้เกิด Insight และเเก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด ทาง Predictive ยินดีให้คำปรึกษาค่ะ เราเป็น Consult ด้าน Data และ Customer Experience กว่า 9 ปี โดยสโคปงานด้าน UX ของเรานั้นสามารถสร้าง Business Impact เช่น เพิ่ม Conversion Rate และวัดผล ROI (Return on investment) ได้ชัดเจน ที่ผ่านมาเราได้ความไว้วางใจจากลูกค้ากว่า 50 แบรนด์ ทั้งแบรนด์เล็กไปจนถึงแบรนด์ใหญ่

How we can help

Fill out the form below to discuss your needs or learn more about our services

"*" indicates required fields

Name*
Please let us know what's on your mind. Have a question for us? Ask away.